ICT เพื่อการนิเทศ


ผมเชื่อว่า ณ วันนี้ ศึกษานิเทศก์ทุกคนน่าจะต้องเก่งเรื่อง "ICT เพื่อการนิเทศ" ICT จะช่วยให้ศึกษานิเทศก์ทำงานได้มากขึ้น คล่องตัวขึ้น เป็นเลขานุการส่วนตัวที่ยอดเยี่ยมมาก

        วันนี้(18 มีนาคม 2552) ช่วงเช้า(11.00-12.00 น.) ผมได้ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “ศึกษานิเทศก์มืออาชีพและการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์” ในการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพศึกษานิเทศก์ ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์  สุขุมวิท 11

        ในการบรรยาย ผมได้พูดหลายเรื่องเกี่ยวกับสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ที่สำคัญประการหนึ่งคือ “สมมรรถนะด้านการสื่อสารและการใช้ ICT เพื่อการนิเทศ”  โดย ผมเชื่อว่า ณ วันนี้ ศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศจะต้องเก่งเรื่อง ICT   ผมได้พยายามสาธิตการใช้ฐานข้อมูลเพื่อการนิเทศและพัฒนางานของตนเอง ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อการให้คำปรึกษาด้านการวิจัย  การให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่ลูกศิษย์ในระดับปริญญาโท เอก หรือเพื่อการประสานงานทางวิชาการ เช่น

การใช้ ฐานข้อมูล Google  ที่สำคัญ เช่น  Google Notebook(สมุดบันทึก เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เตรียมจะเขียนตำรา บทความทางวิชาการ  หรือเอกสารประกอบการนิเทศ สามารถรวมลิงค์ที่น่าสนใจมาไว้ในสมุดเล่มเดียวกัน ที่ง่ายต่อการสืบค้น หรือใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการบรรยาย),  Google  Calendar(ปฏิทิน สะดวกอย่างมากสำหรับการนัดหมายกิจกรรม หรือช่วยให้ครูทราบปฏิทินของศึกษานิเทศก์ เป็นประโยชน์ต่อการประสานงาน สำหรับผมเองใช้เพื่อการประสานงานกับสมาชิกทั่วประเทศ ดูที่ http://www.google.com/calendar/embed?src=neph3hj2j7otu3i2ktesnfnqvk%40group.calendar.google.com&ctz=Asia%2FBangkok)  Google Document (เป็นประโยชน์ต่อการเก็บข้อมูล หรือ ใช้เอกสารร่วมกันระหว่างศึกษานิเทศก์ กับครู) เป็นต้น

การใช้ฐานข้อมูล  Windows live (สำหรับท่านที่ใช้ Hotmail) รายการฐานข้อมูลที่ควรใช้เพื่อสนับสนุนการนิเทศ เช่น   Groups(จัดตั้งกลุ่มเพื่อการนิเทศ สนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านเว็บไซด์)  Skydrive (เพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่จะใช้ประกอบการนิเทศ)  เป็นต้น

การใช้ Skype.com (หรืออาจมีเว็บไซด์อื่นที่ผมไม่รู้) เพื่อการสื่อสาร การประชุมทางไกล เป็นต้น

ผมเสนอแนะศึกษานิเทศก์ทุกคนว่า จะต้องจริงจังกับการใช้ ICT เพื่อการพัฒนางาน   ICT จะช่วยให้ศึกษานิเทศก์ทำงานได้มากขึ้น คล่องตัวขึ้น เป็นเลขานุการส่วนตัวที่ยอดเยี่ยมมาก

ในปัจจุบัน ขนาดผมยังไม่ค่อยรู้เรื่อง ICT มากนัก(ที่กล่าวมาอาจจะเชยอยู่บ้าง) ผมยังสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานตนเองอย่างมหาศาล แล้วถ้าสักวันหนึ่ง ผมมีทักษะมากกว่านี้ล่ะ คงจะเกิดประโยชน์มากขึ้นเป็นทวีคูณกระมัง...เพียงแค่ผมมานั่งเขียนบทความเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บไซด์ G2K ดังที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ ก็เกิดประโยชน์อย่างมากมายแล้ว(ดูจากจำนวนคนอ่าน ก็น่าจะคุ้มค่ากับเวลาที่เขียนแล้วล่ะครับ)

อย่าลืมนะครับ  ศึกษานิเทศก์ ทุกท่าน..... 24-25 กันยายน 2552 ผมจะจัดประชุมปฏิบัติการเรื่อง “ การบริหารจัดการชุดโครงการวิจัย สำหรับศึกษานิเทศก์” ซึ่งถือเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ผมคิดว่าศึกษานิเทศก์ควรมี  ถ้าท่านสนใจ เชิญจองมาที่ [email protected]   นะครับ หลังจากได้รายละเอียดแล้ว ผมจะแจ้งให้ท่านทราบอีกครั้งหนึ่ง

 

หมายเลขบันทึก: 249416เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2009 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นด้วยครับ

ศน.ต้องมีการพัฒนาด้านไอทีให้มากๆ ครับ

แล้วจะไปเป็นลูกศิษย์ครับผม

  • ขอบคุณมากครับ  ครูเก่า  ที่เข้ามายืนยัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ยินดีครับ ถ้าจะมีโอกาสได้เจอกัน

เป็นศน.ที่กำลังพยายามใช้ ICT เพื่อการนิเทศให้มากที่สุดอยู่ค่ะ แต่ต้องพยายามเรียนรู้เพิ่มเติมให้มากเช่นเดียวกัน ได้เข้ามาศึกษาบทความของท่านรู้สึกว่ามีประโยชน์มากจริง ๆ ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

  • ฐานข้อมูล
  • ใหญ่ของต่างประเทศ
  • ทางการศึกษาผมใช้
  • ERIC ครับ
  • ที่นี่ครับ
  • http://www.eric.ed.gov/
  • ใช้ skype คุยกันทางไกลต่างต่างประเทศฟรีครับ
  • เคยส่งภาพการประชุมที่ New Zealand มาที่สวนครูบาสุทธินันท์ที่สตึกครับ ค่อนข้างชัดเจนมากๆๆ

คุณ ศน.ตัวเล็ก และ อ.ขจิต

  • ขอบคุณ ศน.ตัวเล็กนะครับที่เข้ามาศึกษา และยืนยันประโยชน์ ทักษะไอ ที ของ ศน.เรา ถ้า ศน.ยอดเยี่ยมเรื่องนี้ ผมคิดว่าจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล
  • ขอบคุณ อ.ขจิต ที่แนะแหล่งเรียนรู้ครับ(อ.สบายดีนะครับ  ผมคอยติดตามความเคลื่อนไหวของอาจารย์ผ่านทาง G2K เป็นระยะ ๆ ครับ)

สวัสดีค่ะ

ช่วงนี้หนูหายหน้าไป นิเทศนศ. และ เห็นด้วย กับ สื่อ ไฮเทคเหล่านี้เป็นประโยชน์ใน

การทำงานในปัจจุบันจริง ๆ

- g notebook, g document เคยเข้าไป แต่ยังไม่ได้ใช้ เนื่องจากบันทึกไม่

เป็น และไม่มีคนสื่อสารด้วย

- skydrive ก็เช่นกัน แต่จะหาคนคิดเข้าใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ยังยากค่ะ

เคยชวนคนใช้ ในการบริหารภาควิชาฯ เขาก็เห็นดีด้วย แต่สุดท้ายยังไม่มีใครใช้

จริงจัง เพราะยังไม่เห็นความสำคัญนั่นเอง

- แต่ยังคง พยายามต่อไป สักวันคงมีคนเห็นและได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น

ช่วงนี้ใช้เพื่อตัวเองไปก่อนค่ะ

ขออนุญาตนำบทความไปอ้างอิงเพื่อการบรรยายครับ

ไปนั่งฟัง อ.บรรยายที่แอมบาสเดอร์ พัทยา แล้วกลับมาตามเก็บอ่านใน G2K

คงไม่ช้าไปนะครับ / ขอบคุณสำหรับแนวคิดดี ดี ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท