ข้อคิดจากการร่วมสัมมนา


เสรีภาพสื่อ พัฒนาหรือทำร้ายสังคมไทย

เมื่อวาน  19 มีนาคม 2552  ได้เข้าไปร่วมสัมมนากับคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก  เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา  ที่โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพฯ

          ครั้งเมื่อได้รับเชิญคิดว่าจะไม่ไปทั้งที่ีเสียดาย เพราะงานมากเหลือเกิน  แต่เมื่อเวลา 09.15  ก็ถูกโทร.ตามว่าต้องไปให้เนื่องจากอยู่ในเขตพื้นที่ของตนเอง  (โรงแรมเรดิสัน อยู่ถนนพระรามเก้า เขตห้วยขวาง) จึงต้องรีับมอบหมายงานลูกน้อง แล้วบึ่งไปทันที

          ในเวลาที่น้อยนิดกับถนนพระรามเก้าที่รถติดมาก ก็ต้องรีบคิดว่าควรไปด้วยวิธีใด ขับรถไปเอง หรือ นั่งแท็กซี่ ดีกว่า แต่ก็หันไปเ็ห็นมอเตอร์ไซด์รับจ้าง  จึงตัดสินใจใหม่เพราะคิดว่าน่าจะเป็นวิธีการเดินทางที่ไวที่สุด แม้จะค่้อนข้างเสีึ่ยงหน่อยก็ตาม

           ในที่สุดมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็พาไปถึงจุดหมาย ด้วยเวลา ประมาณ 10 นาที ถ้าขับรถไปเองหรือนั่งแท็กซี่ ครึ่้งชั่วโมงก็คงไม่ถึง เพราะรถติดมาก  ดูสภาพตัวเองก็ตลกดีเหมือนกันสวมสูทนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง  ดีนะว่าใส่กางเกง  เป็นอีกชีวิตหนึ่งของคนกรุง  เมื่อถึงโรงแรมเรดิสัน ก็ทันพิธีเปิดพอดี

           การสัมมนาครั้งนี้  เกิดจากการแก้กฏหมายที่้เกี่ยวกับกฏหมายและจริยธรรมของสื่อมวลชน  เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  สื่้อ จะมีผลต่อสังคมไทยมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นในภาพบวกหรือลบก็ตาม

            ผู้เข้าร่วมสัมมนาก็มีหลายหลายกลุ่มอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน สื่อทุกแขนง รวมไปจนถึง นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป  ผู้ดำเนินรายการและคณะวิทยากรก็ล้วนแต่เป็นคนดัง มีความรู้ั มีชื่อเสียง เช่น ศ.สุกัญญา  สุดบรรทัด  สว.  คุณกฤษพร เสริมพานิช รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์  คุณบุญเลิศ  คชายุทธเดช บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์มติชน  คุณชวิดา  วาทินชัย ผู้สื่อข่าวอาวุโ ทีมข่าวเฉพาะกิจ   คุณพิเชียร  อำนาจวรประเสริฐ ผู้จัดรายกา่รวิเคราะห์ข่าวร้อน วิทยุ FM 92.25 โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ คุณอนันต์  วรธิติพงศ์  รองประธานคณะกรรมาธิการและันักจัดรายการ  งบประมาณมากจะทำอย่างไรก็คงไม่ยากนัก

            ผู้ร่วมรายการหลายคน  พูดถึงสื่อในปัจจุบัน ทั้งแง่บวกและลบ  แต่ส่วนใหญ่จะเป็นลบ  และเหตุผลก็น่าฟังทั้งสิ้น  เช่น

            หน้าที่การทำงานสื่ีอที่ต้องเข้าไปสัมภาษณ์ เข้าไปเจาะลึก แม้ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว หรือเป็นบุคคลที่ไม่ควรนำมาเผยแพร่ เช่น เด็ก  

              หรือการวิจารณ์ข่าว ของผู้จัดรายการที่มักวิจารณ์ด้วยความคิดของตนเองเป็นใหญ่

              ข่าวที่เป็นเชิงลบ แต่ออกซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะเป็นเรื่องของธุรกิจ หรือการขายข่าวนั่้นเอง

              รวมทั้ง ภาพหลุด ๆ อีกมากมายที่ปล่อยออกมา  โดยไม่คิดถึงผู้ชมว่าในเวลาดังกล่าวจะมีผู้ชมที่เหมาะสมต่อภาพเหล่านั้นหรือไม่    เป็นต้น

              หลังจากนั้น ก็เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมสัมมนาได้เสนอข้อคิดเห็น คำถาม และข้อเสนอแนะต่าง ๆ  หลายคน มีวิธีที่ดีมากแต่ฟังแล้วก็น่าจะปฏิบัติยาก เพราะเป็นลักษณะของการปฏิบัติตามหน้าที่ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น  แต่้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สะท้อนในมุมมองของผู้รับสื่้อได้โดนใจ คือ สื่อดูเหมือนมีทั้งสื่อแท้และสื่อเทียม เพราะสื่้อขายแต่สิ่งที่อยากขาย ทั้งที่คนไม่อยากซื้อ แล้วเขาจะทำอย่างไรดี  เขาจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือสื่อแท้หรือเทียม

            สำหรับผู้เขียน  ได้เสนอแนวคิดในมุมของนักการศึกษาว่า  ในฐานะที่เป็นนักการศึกษา โดยเฉพาะปัจจุบันนี้  กศน.มีชื่อใหม่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ใหม่คือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำหรับเรื่องการจัดการศึกษานอกระบบคงไม่ใช่เรื่องยากเพราะเราทำมานานแล้ว และถึงอย่างไรการศึกษานอกระบบก็ยังมีรูปแบบ วิธีการจัด และการประเมินผล ที่วัดได้อย่างถูกต้องตามหลักการศึกษา

               แต่การศึกษาตามอัธยาศัยนี่ซิเป็นสิ่งที่ กศน.ทำงานค่อนข้างลำบาก  เพราะการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นสิ่้งที่ทุกคนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะสื่อถือเป็นการศึกษาตามอัธยาศัยที่ถูกใช้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทีวี วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์  คนทั้งประเทศไทยก็ได้รับการศึกษาตามอัธยาศัยอยู่แล้ว 

              ดังนั้น สื่อจึงถือเป็นครูอีกแขนงหนึ่ง เป็นแม่พิมพ์ของชาติอีกรูปแบบหนึ่ง หากแม่พิมพ์ดีรูปแบบที่พิมพ์ออกมาก็จะดี  แต่หากแม่พิมพ์ไม่ดีรูปแบบจะดีได้อย่างไร 

               นักเรียน นักศึกษา ที่สถานศึกษาต้องรับผิดชอบ เขาเหล่านั้นมีเวลาอยู่ในโรงเรียนเพียงแค่  5 - 6 ชั่วโมงเท่านั้น  ไม่ว่าครูจะสอนอย่างไร  เมื่อกลับไปบ้าน ดูทีวี เขาก็อดไม่ได้ที่จะเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้น โดยเฉพาะดาราที่เขาชื่นชอบ  หรือพฤติกรรมผิด ๆ ที่้สื่อถ่ายทอดออกมา เช่น คลิ๊ปนักเรียนหญิงตบกัน  นักศึกษากระโดดตึกตาย เป็นต้น มิหนำซ้ำ ผู้อ่านข่าวก็ยังย้ำแล้วย้ำอีก บางคนอ่านไปสนุกไป โดยลืมคิดไปกระมังว่า เขากำลังเป็นต้นแบบของผู้ดูที่เป็นเด็กหรือเยาวชน ที่ยังแยกแยะพฤติกรรมดีชั่วไม่ออกอยู่

          เมื่อฟังโดยรวมแล้ว  จึงพบได้ว่าหลายความคิดมองเหมือนกันก็คือ  ปัจจุบันสื่อน่าจะทำร้ายสังคมมากกว่าพัฒนา    ดังนัุ้น ก็ต้องหาวิธีการแก้ไข  ไม่ว่าจะด้วยการออกกฏหมายควบคุมสื่อ  การออกระเบียบกำกับสถานีทั้งของรัฐและเอกชน  เพื่ือไม่ให้ทำธุรกิจจนสังคมเสียหาย

           การจัดสัมมนาไม่ใช่เรื่องยาก แต่การนำข้อสรุปจากการสัมมนาไปดำเนินการต่อยากกว่า เมื่อการสัมมนาจบลง  ปัญหาที่ทุกคนได้เสนอไปจะได้รับการแก้ไขสักเพียงใด สิ่งที่เกิดขึ้นในการสัมมนา จะส่งผลต่อสังคมไทยให้ดีขึ้นหรือไม่  ผลจากการสัมมนาจะได้รับการแก้ไข  หรือการสัมมนาจะเป็นเพียงพระอันดับที่ จะทำให้กฏหมายออกมาอย่างถูกต้องตามกระบวนการเท่านั้น   คงต้องติดตามกันต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 249770เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ได้พบเจอกันในบล็อกตั้งนาน.......ข้าพเจ้าผิดเองแหละ...ที่ไม่ค่อยมาบันทึกบล็อกเลย....ตื่นเต้นแทนกับการทำงานในสถานที่ใหม่ใจกลางดงรถติดและความเจริญ......สู้ ๆ ต่อไปนะครับ...สัญญาว่าจะไม่ห่างหายไปอีกแล้ว......555

ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยมชม ไม่ค่อยว่างเขียนเหมือนกัน สัญญาแล้วว่าจะไม่ห่างหาย จะคอยติดตามดูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท