เค้าคอมเมนต์อะไรกันเวลาคอมเมนต์บทความวิชาการ?


ในส่วนของคนคอมเมนต์เอง ผมคิดว่าต้องรู้ตัวสักหน่อยว่าเรามีความเชี่ยวชาญในเรื่องอะไร เพื่อจะได้เลือกถูกว่าเราควรจะคอมเมนต์บทความนี้หรือไม่ ถ้าเราเลือกคอมเมนต์บทความที่เรามีความรู้อยู่บ้างและเราสนใจ มันก็จะเป็นประโยชน์ทั้งกับตัวเราและผู้เขียนเองด้วย

วันนี้ที่คณะมีสัมมนาของนักศึกษา Research master และ Ph.D.  เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกวันจันทร์ของที่คณะ แต่ละสัปดาห์จะมีนักศึกษา Research master ปีสอง และนักศึกษาปริญญาเอกมานำเสนอ ในบางสัปดาห์ก็จะมี สลับกับ Research Seminar ที่จะเชิญนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆมานำเสนอบทความด้วยเหมือนกัน นักวิชาการเหล่านี้หลายคนมีชื่อเสียงในวงเศรษฐศาสตร์ และปรัชญาพอสมควรทีเดียว

สัมมนาแต่ละครั้งก็จะมีคนคอมเมนต์ (Commentator) จำนวนสองคน  ตลอดที่ผ่านมาไม่เคยลองสรุปบทเรียนดูซักทีว่า คนคอมเมนต์ปกติเค้าคอมเมนต์อะไรกัน วันนี้ได้โอกาสเลยจะลองสรุปบทเรียนดู เพราะว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับตัวเองและคนท่ีมาอ่านด้วย 

ผมเข้าใจว่าการคอมเมนต์บทความวิชาการอาจจะแยกได้เป็น สามกลุ่มด้วยกัน

กลุ่มแรกเป็นการคอมเมนต์เกี่ยวกับ “วิธีการนำเสนอ” ของบทความ ในส่วนนี้คนคอมเมนต์มักจะพยายามทำความเข้าใจผู้เขียนว่า มีความตั้งใจอย่างไร มีจุดประสงค์ในการเขียนอย่างไร ตัวบทความที่เขียนนั้นตอบโจทย์ที่ตัวผู้เขียนตั้งเอาไว้เองหรือไม่ ในส่วนนี้เท่าๆที่ฟังมา พวกป.โท ป.เอกบางทีมีปัญหาว่า เขียนไม่ชัดว่าตกลงที่เขียนบทความนี่ต้องการอะไรกันแน่ อะไรคือคำถาม อะไรคือ ประเด็น บางทีมันไม่ชัด บางครั้งมีสองประเด็นในบทความเดียวและไม่เชื่อมกัน เป็นต้น  ต่อมาคือ บางทีโจทย์ชัดจริง แต่ว่าสิ่งที่นำเสนออาจจะเบี่ยงประเด็นไป หรือไม่ตอบโจทย์ หรืออาจจะมีวิธีอื่นที่อาจจะตอบได้ดีกว่านั้น มีบางประเด็นที่ถ้าให้ความสำคัญอาจจะทำให้ประเด็นชัดกว่านี้  คนคอมเมนต์ก็จะให้คำแนะนำ  ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาบทความโดยรวม

กลุ่มที่สอง เป็นการคอมเมนต์แบบต้องการ “ความชัดเจน ” ในหลายครั้งคนเขียนบทความใช้คำเฉพาะ หรือคำบางคำที่อาจจะตีความหมายได้หลายแบบ แต่ว่าในบทความไม่ได้ขยายความหรือตกลงกับผู้อ่านให้ชัด คำเหล่านี้อาจนำไปสู่การเข้าใจผิดหรือการถกเถียงในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องได้ หรือนำไปสู่การสร้าง argument ที่ไม่ชัดเจน ไม่เข้มแข็งได้ ในจุดนี้ คนคอมเมนต์ก็มักจะชี้ประเด็นและให้คำแนะนำ

กลุ่มที่สามคือ เป็นการคอมเมนต์แบบ “ตอบโต้กับตัวเนื้อหาโดยตรง” อันนี้หมายความว่า สมมติว่าผู้เขียนเสนอ A แต่คนคอมเมนต์อาจจะไม่เห็นด้วย และคิดว่า B มากกว่า เป็นต้น  อย่างไรก็ดี วันนี้ลองสังเกตดู ประเด็นไหนจะถูกคอมเมนต์ในกลุ่มนี้นั้นขึ้นอยู่กับ Background ของคนคอมเมนต์ค่อนข้างมาก เท่าที่เห็นคือ คนคอมเมนต์มักจะคอมเมนต์ในประเด็นที่ตนเองมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประเด็นใดที่ไม่รู้ไม่เชียวชาญมักจะไม่โผล่ขึ้นมาเตะตาให้คอมเมนต์มากนัก  ผมว่าในประเด็นนี้ทำให้เราเข้าใจอย่างน้อยสองประเด็นคือ 1) หากมีคนจากหลาย Background มาช่วยคอมเมนต์ก็จะทำให้งานของเราแหลมคมมากขึ้น 2) ถ้าเราเป็นคนคอมเมนต์ก็ไม่ต้องกังวลว่าคอมเมนต์ของเราจะดีไม่ดี ผิดหรือถูก ทั้งนี้เพราะประเด็นในการคอมเมนต์มันขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละคน ซึ่งต่างกัน และคนเขียนเองก็ย่อมอยากได้คอมเมนต์ที่หลากหลายมากกว่าคอมเมนต์ซ้ำๆเดิมเป็นแน่

สำหรับผมผมมองว่าการคอมเมนต์กลุ่มสุดท้ายนี้เป็นการคอมเมนต์ที่เป็นประโยชน์ต่องานเขียนค่อนข้างมาก เพราะว่า มันจะช่วยพัฒนา Argument ของผู้เขียนให้แหลมคมยิ่งๆขึ้นไป คอมเมนต์กลุ่มนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้เขียนคาดหวังมากที่สุด  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้เขียนเองว่า จะเขียนได้ชัดเจนและตอบโจทย์ของตัวเองได้ดีขนาดไหน  ในส่วนของคนคอมเมนต์เอง ผมคิดว่าต้องรู้ตัวสักหน่อยว่าเรามีความเชี่ยวชาญในเรื่องอะไร เพื่อจะได้เลือกถูกว่าเราควรจะคอมเมนต์บทความนี้หรือไม่ ถ้าเราเลือกคอมเมนต์บทความที่เรามีความรู้อยู่บ้างและเราสนใจ มันก็จะเป็นประโยชน์ทั้งกับตัวเราและผู้เขียนเองด้วย

หมายเลขบันทึก: 250435เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 05:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอเป็นกำลังใจในการทำหน้าที่ครับ แวะมาทักทายครับ

การคอมเมนต์แบบ “ตอบโต้กับตัวเนื้อหาโดยตรง” เป็นประโยชน์ต่องานเขียนและ argument ที่นักวิชาการ(ที่เขียน) ปรารถนา

ขอบคุณครับ

ขอบคุณที่ร่วมแลกเปลี่ยนกันนะครับ

จริงๆสองแบบแรกผมว่าก็ดีเหมือนกันนะครับ เพราะบางทีเราอาจจะไม่ได้นำเสนอสิ่งที่เราบอกเอาไว้ก็ได้ :P

แวะมาทักทาย แวดวงนักวิชาการค่ะ

ได้ความรู้ดีดี มากมายค่ะ

เป็นกำลังใจค่ะ

แวะมาศึกษาดูการคอมเมนท์บทความ ทุกความคิดเห็นต่างมาจากพื้นฐานประสบการณ์ คิดว่าได้ความหลากหลาย แง่คิด หลายมุม หลายระดับค่ะ   ขอบคุณค่ะ

I just want to say Hi and congrates on your success. I went to Wold scout Jamboree with you in 1998, I think. I always know that you will do good. You were a great leader in the group. I moved to the US in 1999 to live with mom and go to High school. I'm still in school. College is so expesive, so I joined the Navy for four years. Now I'm in Nursing program at Marshall U.

Well...nice to see you on the internet. I was just surfing around; trying to find what old friends are up to. Good Luck!

เรื่องการรคอมเมนต์แบบ “ตอบโต้กับตัวเนื้อหาโดยตรง” นี้ดีแน่ค่ะ แต่บางที เราอาจไม่เห็นด้วยนัก เกรงว่า ผู้เขียนอาจไม่สบายใจ 

อยากไดเม้นที่เดียวได้หลายคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท