วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สารานุกรมเสรี มากมีความรู้แบ่งปัน หลุดพ้นความสามัญสู่ปัญญาเลิศ

โฆษณา:

ชวนไปเขียนสารานุกรมกัน → การเขียน นอกจากจะเป็นการแบ่งปันแล้ว ยังเป็นการตรวจสอบความรู้ของตนเอง :)

วิกิพีเดีย Wikipedia คือสารานุกรมเสรีบนอินเทอร์เน็ต ที่ ทุกคน สามารถอ่านและปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาได้

วิกิพีเดียได้รับการรวบรวมและดูแลจากผู้ใช้ทั่วโลก ผ่านระบบวิกิชื่อ มีเดียวิกิ

ปัจจุบัน 16 มิ.ย. 48 วิกิพีเดียไทย มีบทความทั้งหมด 2236 บทความ

ข้อความทั้งหมดในวิกิพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตให้ใช้เอกสารเสรีแบบกนู GFDL โดยผู้สมทบงานยังมีสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์ และสัญญาก็รับรองว่าเนื้อหาในวิกิพีเดียจะสามารถเผยแพร่ต่อได้อย่างเสรี

อยากรู้มากกว่านี้ ? → คุยกับชุมชนชาววิกิพีเดีย

ยังไม่มีเวลาเขียน ? → ไปอ่านกันก่อนก็ได้ครับ :)

 


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 251เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2005 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ผมเีคยเสนอแนวคิด ในที่ประชุมของ สคส. ไว้ว่า มีบางเรื่องในด้าน IT
ที่ สคส. ควรจะเข้าไปสนับสนุน  เพราะลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมาก
1. สนับสนุนเรื่อง blog (เกิดเป็น gotoknow)
2. สนับสนุนให้เว็บต่างๆ ผลิต rss (ผ่านทางสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย, กระทรวง ICT)
3. สนับสนุนการแปล Free license (GFDL, CC) เป็นไทย และเผยแพร่ให้ใช้
 ในวงกว้างขึ้น
4. สนับสนุนการสร้าง free content บน Wikipedia

อาจารย์วิจารณ์ท่านก็สนับสนุนเต็มที่  เนื่องจากเราได้รับงบดำเนินการจาก สสส.
มาเพียงพอ  แต่ขอให้หาคนมารับผิดชอบทำเท่านั้นเอง

ถ้าอาร์ต รู้จักใครที่สนใจ  ก็แนะนำด้วยนะครับ

ผมขอเสนอว่า สคส. น่าจะเปิด "Thailand Open-Source/Open-Content Initiative Funding" ครับ

คุณ Ans เคยถามบน Linux.Thai.Net ประมาณว่า จะมีที่ไหนจ้างเขียนวิกิพีเดียรึเปล่า :P

ตอนนี้บนวิกิพีเดียไทยมีสมาชิกราว ๆ 500 รายนิด ๆ (อาจมีสมัครซ้ำ) มีผู้ดูแล (sysop) 12 ราย, และมีคนที่เข้ามาเขียนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำราว ๆ 40 ราย ได้ -- สถิติ

เรื่องเนื้อหานี่ ขอแค่อาจารย์ตามโรงเรียน มหาลัย ช่วยเข้ามาดูบ้าง แก้คนละนิดละหน่อย ผมว่ารวม ๆ กันมันก็ได้เยอะนะ

อย่างตอนนี้ส่วนของเนื้อหาที่มีอัตราการเติบโตสูง เท่าที่สังเกต จะเป็นพวก

  • คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ (ตามสาขาที่ชำนาญของคนเขียน)
  • การ์ตูน นิยายวิทยาศาสตร์ แฟนตาซี (ตามความสนใจ)
  • จังหวัด อำเภอ ต่าง ๆ ในประเทศไทย (คนทำส่วนใหญ่เป็น คนเยอรมัน!)
  • ปรัชญาการเมือง การปกครองต่าง ๆ
  • ชีวประวัติบุคคลสำคัญ (เชื่อมโยงกับหัวข้อต่าง ๆ ข้างบน)

ผมเขียนวิกิพีเดียเพราะสนุก อะไรไม่สนุกคงเรียกให้คนเยอะ ๆ มาทำนาน ๆ ฟรี ๆ ไม่ได้

แต่ผมก็สนุกอยู่แค่ไม่กี่เรื่อง คนเขียนตอนนี้ ก็สนุกกันอยู่ประมาณหัวข้อที่ว่ามาข้างบน

ถ้าอยากได้หัวข้อเยอะกว่านี้ หลากหลายกว่านี้ ก็ต้องหาคนมาสนุกกันเยอะ ๆ

ตอนนี้ยังไม่มีการสนับสนุนจากไหน ก็ช่วยกันประชาสัมพันธ์ครับ ปากต่อปาก เข้าถึงตัว คนใกล้ตัวนี่แหละ ง่าย เร็ว โชว์ให้ดูได้เลย

ยิ่งเป็นอาจารย์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมการศึกษาน่าจะง่าย คิดซะว่าบรรยายให้เด็กฟังก็ได้ (ไม่มีเสียงมือถือให้กวนใจด้วย :P)

ใครชำนาญเรื่องไหน ก็เขียนไป .. เท่าที่ทำมา เขียนไป แปลไป ผมว่ามันก็ทำให้ผมรู้อะไรเพิ่มขึ้นเยอะเหมือนกัน .. ทั้งความรู้ใหม่ ๆ + วิธีการเรียบเรียงคำพูดให้คนอื่นมาอ่านได้ง่าย ๆ (เมื่อไหร่ที่เขียนไม่รู้เรื่อง ก็จะมีคอมเมนต์มาทันที หรือคนอื่นมาแก้ให้) —  ตรงนี้ ถ้าลากอาจารย์มาเขียนได้ ก็คงจะดีจริง ๆ เพราะได้ฝึกอาจารย์ไปด้วย (ทั้งอัพเดทความรู้/มุมมองใหม่ ๆ + ฝึกพูดให้รู้เรื่อง - ฮา)

morning_glory ก็เอาเลย เรื่อง network, social network นี่ เขียนเลย

อ.ธวัชชัย ก็เอาเลยครับ เรื่อง AI ใส่ไปเลย :)

 

 

ให้ กพ. ส่งจดหมาย/อีเมลหานักเรียนทุนทุกคน แนะนำวิธีเขียนวิกิพีเดีย :P
หรือ สคส. จัดรางวัล Wikipedia Champion ;-) ผมพูดจริงนะครับ

ตอนนี้อย่างน้อยก็มี 3 คนแล้ว ที่มาช่วยกันคิด  คุยกันไปสักพัก
น่าจะมีแนวทางดีๆ ที่ทำได้จริงออกมาแน่นอน

เรื่องจัดตั้งเป็นกองทุนด้าน Open source, Open content นี่ผม
ก็ว่าน่าทำมากครับ  อาจารย์ธวัชชัยน่าจะลองคุยกับกลุ่ม
Open source ที่ ม.สงขลาดู  แรกๆ ก็จัดเป็นประชุมเล็กๆ
กันก่อน  แล้วค่อยขยายเป็น Thailand Open source and
open content for Knowledge Management Conference

จุด start อีกจุดหนึ่ง ที่จะทำได้ คือทำ CoP (ชุมชน)
ผู้สนใจเรื่อง wikipedia  โดย สคส. สามารถสนับสนุน
งบในการประชุมกันเป็นครั้งๆ ได้ (ถ้าเป็น offline)
ตรงนี้จะเชื่อมโยงเข้ากับ gotoknow ได้ด้วย
คือพอ content ตรงไหนเริ่ม stable ก็ดึงจาก blog
ไปเป็น wikipedia article เลย  ขณะเดียวกัน ก็ดึงหน้า
recent ของ wiki มาขึ้นที่ gotoknow ด้วย  ตอนนี้อาจารย์
วิจารณ์ท่านก็รู้จัก wikipedia และเชื่อว่าจะมีความสำคัญมาก

ระยะยาวแล้ว สคส. มีเครือข่ายในแวดวงการศึกษาที่กว้างมาก
สามารถดึงมาช่วยกัน provide  content ได้แน่นอน
อนาคตสดใส รออยู่ไม่ไกลเลย

เรื่องคุยกับชมรม open-source ใน มอ. นั้น ต้องขอแรง อ.วิภัทร หัวเรือใหญ่ของชมรมนี้ครับ แต่ผมเองยินดีมากที่จะเป็นเรี่ยวแรงให้ในเรื่องนี้ แต่ตอนนี้งาน coding ในมือก็มีหลายงานที่อยากรีบทำให้อยู่ในขั้นที่มีพื้นฐานถึงจุดที่สามารถให้คนอื่นเข้ามาช่วยได้ครับ ผมมองในมุมว่า coders นี่ต้อง talk with real codes (เอา code ที่ทำงานได้แล้วเป็นที่ตั้งในการทำงานว่างั้นเถอะ) แล้วเราน่าจะได้ผลลัพธ์ในการประสานงานร่วมกันอย่างชัดเจนครับ

อย่างไรก็ตาม คงต้องทดลองกันหลายๆ วิธี :-)

น่าสนใจ ถ้าจะมีการสนับสนุนจริง ๆ ครับ

อย่างไรก็ตาม ขอตั้งข้อสังเกตไว้ว่า โครงการลักษณะนี้ ประสบความสำเร็จมาถึงระดับนี้ได้ ก็เพราะแนวคิด "ล่างขึ้นบน" ไม่ใช่ "บนลงล่าง" .. ถ้าจะมีการสนับสนุนจากหน่วยงานใดก็ตาม อยากให้คำนึงถึงจุดนี้ด้วยครับ

(ถ้าใช้ศัพท์คนแถวนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็น "คุณอำนวย" อะไรแบบนี้รึเปล่า ? ... ไม่แน่ใจแฮะ ผมไม่ค่อยเก็ทอ่ะ) 

ที่อาร์ตเล่ามา ตรงกับประสบการณ์ของ สคส. ที่ผมได้ฟังมาเลยทีเดียว

ในช่วงแรก สคส. คิดจะผลักดันเรื่องการจัดการความรู้ โดย สคส. เป็นตัวจุดชนวน
แต่ต่อมา พบว่า หากสคส. เป็นผู้ริเริ่มผลักดันก่อน ก็จะเป็นคล้ายๆ บนลงล่าง
ทำให้ไม่ยั่งยืน ต่อมาจึงเปลี่ยนแนวทางว่าจะต้องให้หน่วยงานที่ต้องการจัดการ
ความรู้ เป็นผู้ริเริ่มผลักดันเอง โดย สคส. เป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น

ในกรณี Open content/ open source นี้ จะต่างจากกรณีอื่นๆ เพราะไม่มีเจ้าของ
อย่างเป็นทางการ ทำให้ไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบโดยตรง กรณีนี้ สคส. อาจ
เลือกได้สองทาง คือ เป็นแกนนำผลักดันเอง หรือ ชักชวนผู้ที่สนใจ ให้เข้ามา
ร่วมมือเป็นกลุ่มผลักดัน โดย สคส. เป็นผู้สนับสนุน (เช่น งบจัดประชุม) เท่านั้น
ผมเชื่อว่า ทางเลือกที่สอง น่าจะเป็นผลดี และยั่งยืนกว่า

ขั้นตอนแรก ที่สำคัญที่สุด คือต้องหา Champion ที่รัก Wikipedia อย่างจริงๆ จังๆ
แล้วเข้ามาคุย concept กับ สคส. จากนั้น ถ้าเห็นแนวทางร่วมกัน ก็จัดประชุม
ชักชวนผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยคิดให้ชัดขึ้น ก่อนจะเขียนเป็นโครงการเพื่อขอ
การสนับสนุน หรือถ้ายังไม่มีความชัดเจน ก็อาจจัดเป็นเพียงกลุ่มผู้สนใจ
(Interest group) ค่อยๆ พัฒนาเป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติด้วยความรู้ (Community of
practice - CoP) โดย สคส. สนับสนุนการจัดประชุมให้ได้ (จนกว่าจะมีองค์กร
อื่นๆ มารับเป็นเจ้าภาพผลักดันต่อไป)

อันนี้ ก็เป็นการให้ข้อมูล จากคนที่อยู่ในวงการของ สสส. และ สคส. ว่ากระบวนการ
ในการเกิดโครงการพัฒนาใหม่ๆ แบบล่างขึ้นบนของ สสส.และ สคส. เป็นอย่างไร
ในกลุ่ม open source ที่ผมรู้จักมาตั้งแต่สมัยทำงาน nectec ก็มีอาร์ตนี่แหละ
ที่เห็นคอยผลักดันเรื่องนี้มาตลอด น่าจะเป็น Champion ได้คนหนึ่ง หรือไม่ก็อาจ
แนะนำคนอื่นๆ มาให้ได้

ลองไปคุยดูที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ มั๊ยครับ จะได้เห็นภาพกลุ่มคนที่กำลังเขียนอยู่จริง ๆ ด้วย

ลงทะเบียนก่อนก็ดีนะครับ

ลงความเห็นได้โดยการ กดที่ลิงก์ [แก้] .. เวลาเขียนเสร็จ ให้ลงชื่อ/เวลา โดยการพิมพ์ ~~~~ (จะเปลี่ยนเป็น ชื่อ และ เวลา โดยอัตโนมัติหลังจากส่งเข้าระบบ)

อย่าเสรี แต่ต้องตรวจสอบของข้อมูลก่อน

สารานุกรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท