จุดเริ่มต้น : ใช้ "น้ำมันพืช" แทน "Toluene" (เก็บปัสสาวะ 24 ชม.)


บันทึกนี้ถูกพี่โอ๋บังคับกลาย ๆเรียกว่ากระตุ้นดีกว่าให้เขียน ด้วยความเกรงใจ หลังจากห่างหายไปนาน มั่กมาก ๆๆๆๆๆ พี่โอ๋เล่าว่าได้เขียนบันทึกที่พี่เขาได้เกริ่น  ๆ ถึงเอาไว้ในบันทึกนี้และนี้

ด้วยความที่เคยเขียนทั้งในบันทึกและวารสารของสคส.(ประมาณว่า) ถ้าเป็นไปได้ แม้ทำงานห้องแล็บเคมี แต่ก็อยากจะลดการใช้สารเคมี ซึ่งที่ห้อง Lab เรามีหลากหลายทั้งไม่อันตราย อันตรายน้อยไปจนถึงอันตรายค่อนข้างมาก บางอย่างก็อาจมีฤทธิ์สะสม จากสรรพคุณที่ค้นได้จากในโลกของ IT แม้ไม่เห็นผลทันตา แต่อนาคตเราใครจะรับประกัน ที่ห้องมีพี่เขาไปเรียนสมุนไพรไทย ก็อยากลองเอามาทำอะไรกับห้อง Lab บ้างน๊ะ !!!

เมื่อศุกร์ที่แล้วโน้นน้องหญิงเขานำเสนอกิจกรรม Journal Club เรื่องการใช้สาร Preservative ในการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงจำเป็นมั๊ย??? เข้าทางพอดีเลยเพราะมีป้าดา (หัวหน้าหน่วย) และพี่โอ๋(หัวหน้างาน) เข้าฟัง....

ซึ่ง Journal ที่น้องเขานำมาเสนอเป็นการศึกษาการตรวจ Calcium, Phosphorous, Uric เน้นในผู้ป่วยโรคนิ่ว ศึกษาโดยการไม่ใช้สาร preservative เลยเปรียบเทียบกับสาร preserve จำพวกกรดและด่าง

แต่สำหรับห้องปฏิบัติการเราใช้กรด HCL สำหรับการตรวจฮอร์โมนซึ่งมีประมาณ 10% แต่ส่วนใหญ่...การเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงที่ส่งตรวจ เป็นการทดสอบ Creatinine และ Protein ซึ่งใช้สาร perservative เป็น Toluene เพราะ Toluene ซึ่งมีความหนาแน่นน้อยก็จะลอยอยู่ชั้นบนทำให้พื้นผิวของปัสสาวะไม่สัมผัสกับอาการ ทำให้ Bacteria ไม่สามารถใช้ ออกซิเจนในการเจริญเติบโตนั่นเอง ซึ่งเจ้าสาร Toluene นี้มีคุณสมบัติตาม Link นี้ที่พี่โอ๋

 อันตรายต่อสุขภาพอนามัย (Health Effect)


สัมผัสทางหายใจ - การหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคือง เกิดอาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และมึนงง


สัมผัสทางผิวหนัง - การสัมผัสถูกผิวหนังจะก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้เกิดผื่นแดง


กินหรือกลืนเข้าไป - การกลืนหรือกินเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้ปวดท้อง ปวดศีรษะ วิงเวียน และมึนงง
สัมผัสถูกตา - การสัมผัสถูกตาจะก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้ตาแดง


การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ,อื่น ๆ - สารนี้มีผลทำลาย ตับ ไต กระเพาะปัสสาวะ สมอง

ซึ่งวัน ๆ หนึ่งเรามีการวัดปริมาตรปัสสาวะ 24 ชั่วโมงบางวันน้อยบางวันมาก ตั้งแต่ 0 - 15 รายต่อวัน นอกจากผู้ที่มีหน้าที่ตรวจวัดอย่าง ๆ เรา  ๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นตัวของผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดเอง เมื่อเก็บปัสสาวะ 24 ชม. ก็ต้องเปิดขวดหลายครั้ง ซึ่งโอกาสในการสัมผัสทางการหายใจคงหลีกเลี่ยงไม่พ้น ตัวผู้เขียนเองก็เป็นคนหนึ่งรู้สึก Toxic กับกลิ่นของ Toluene มาก  ๆ เลย

และสำหรับการกำจัดของห้องปฏิบัติการของเราก็ใช้วิธีเทลงอ่างน้ำ ซึ่งเราไม่สามารถแยกหรือสกัดออกจากปัสสาวะหลังการวัดปริมาตรได้ ซึ่งจากข้อมูลตาม Link เดิมพบว่า

มีแนวโน้มในการะสะสมทางชีวภาพต่ำ
- ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ น้ำเสีย หรือดิน
- เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ เป็นพิษต่อปลาและแพลงค์ตอน การเปลี่ยนแปลงลักษณะของกลิ่นโปรตีนจากปลาอาจเกิดการผสมกับอากาศเหนือผิวน้ำให้ไอระเหยของสารที่สามารถระเบิดได้

วกกลับมาเข้าเรื่อง หลังจากฟังน้องหญิงจบ ก็ได้โอกาสเสนอป้าดา พี่โอ๋ และผู้ที่เข้าฟังว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะใช้อย่างอื่น มาเคลือบปัสสาวะ ดังเคยถ่ายทอดไว้ในบันทึกก่อนหน้านี้มานานมากแล้ว แต่ตอนนี้ผู้เขียนคิดถึงน้ำมันจำพวก น้ำมันพืช ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม ซึ่งที่ประชุมก็มีปฏิกิริยาดีมาก  ๆ เลย เสนอข้อคิดเห็นได้อย่างน่าสนใจ พร้อมทั้งการให้คำแนะนำ และหลังจากเล่าถึงขั้นตอนการออกแบบให้ที่ผู้ร่วมเข้าฟัง พบว่าผลการตอบรับดีมาก มีผู้ร่วมงานหลายท่าน ผู้เขียนแบ่งงานให้น้องนักศึกษาฝึกงานซึ่งเข้าร่วมฟังไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของ Toluene และมันมันชนิดต่าง ๆ พี่ญาอาสาสนับสนุนน้ำมันพืชชนิดต่าง  ๆ ที่เล็งไว้ก็มันน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์ม เลือกจากบริษัทที่ได้ยินชื่อมาเนิ่นนานและคงไม่เจ๊งหรือเลิกกิจการหลังเราจบโครงการ น้อง  ๆ ใหม่ช่วยอาสาเรี่ยวแรงแข็งขัน ป้าดาและพี่โอ๋ก็ไฟเขียวเต็มที่...

ไม่ได้เขียนบันทึกนานมาก คิดว่าคงจะเขียนไม่ออกซะแล้ว ยังมีเรื่องราวของขั้นตอนการทำและลงมือในตอนหน้า... 

คำสำคัญ (Tags): #toluene#น้ำมันพืช
หมายเลขบันทึก: 251556เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจที่ได้อ่านบันทึกของคุณศิริค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท