การวิเคราะห์ต้นทุน ตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพ


วิเคราะห์ต้นทุน

ในการประเมินทางเศรษฐศาสตร์โครงการสุขภาพ นักเศรษฐศาสตร์สุขภาพได้ใช้การประเมิน 4 รูปแบบ คือ

                                    

1. การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำ (Cost -minimization analysis)

2. การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล (Cost-effectiveness analysis: CEA)

3. การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (Cost-benefit analysis: CBA)

4. การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-utility analysis: CUA)

-------------------------------------------------------------------------------------------

1. การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำ (Cost -minimization analysis) เป็นการประเมินสำหรับโครงการที่มีผลได้เหมือนกัน (Identical benefits) จนทำให้ไม่ต้องที่จะระบุ วัด และให้ค่าผลได้แต่อย่างไร โครงการที่มีต้นทุนต่ำสุดจะเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

2. การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล (Cost-effectiveness analysis: CEA) เป็นการประเมินสำหรับโครงการที่มีผลได้อยู่ในรูปของหน่วยนับทางธรรมชาติ (Natural units of measurement) เช่น จำนวนคนตายที่เลี่ยงได้จากการรักษาพยาบาล จำนวนวันป่วยที่ลดลงได้ เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ โครงการที่มีผลได้หรืออประสิทธิผลต่างกัน (แต่นับหน่วยเหมือนกัน) สามารถปรับให้อยู่ในรูปของผลได้ต่าต้นทุนได้ แล้วจึงนำมาเปรียบเทียบกัน โครงการที่บรรลุประสิทธิผลหรือผลได้ที่ใช้ต้นทุนต่ำก็จะได้รับเลือก การวิเคราะ์ต้นทุนประสิทธิผลถือได้ว่าเป็นการประเมินประสิทธิภาพแบบเทคนิคของโครงการ

 

3. การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (Cost-benefit analysis: CBA) เป็นการประเมินโครงการที่มีผลได้ในรูปตัวเงิน (Monetary terms) โครงการที่มีผลได้สุทธิ (ผลได้หักต้นทุน) สูงสุดก็จะได้รับเลือก การวิเคราห์ต้นทุนผลได้จัดเป็นการประเมินประสิทธิภาพแบบการจัดสรร นั่นคือ ผลการประเมินระบุได้ว่าโครงการใดมีความคุ้มค่า (Worthwhile) สูงสุดโดยเปรียบเทียบ

 

4. การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-utility analysis: CUA) เป็นการประเมินสำหรับโครงการที่มีผลได้อยู่ในรูปของอรรถประโยชน์ (Utility) ซึ่งทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพนั้นหมายถึง ระดับของความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) ที่อยู่ในรูปธรรม หน่วยของผลได้ที่นิยมใช้กันคือ จำนวนปีที่มีการปรับคุณภาพชีวิต (Quality-adjusted Life Yeay: QALY) โครงการที่มี QALY ต่อต้นทุนสูงสุดก็จะได้รับเลือกและถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเปรียบเทียบ

หมายเลขบันทึก: 252052เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2009 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมากครับ

น่าจะหางานวิจัยสนับสนุนเพื่อทำวิจัยต่อไป

ผมก็ตั้งใจไว้เหมือนกันครับ กะจะเอาเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยในการทำวิจัยเรื่อง "Dashboard ระบบสนับสนุนการทำงานแแผละการตัดสินใจ ในแผนกผู้ป่วยนอกเด็ก OPD-PE" ครับอาจารย์

เพราะผมมีความคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นระบบอะไรก็ตามที่เราจะนำมาใช้ในองค์กร ควรที่จะวิเคราะห์ต้นทุนประโยชน์ของโครงการนั้นๆก่อนเสมอ ไม่่ใช่อย่างทำโดยไม่มีเหตุผลสนุบสนุนทางวิชาการรองรับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท