winsitthiwong


การให้ยาของพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

       พยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการเตรียมยา  ให้ยาและแนะนำสรรพคุณ  ผลข้างเคียงของยาให้แก่ผู้ป่วย  ยาเกือบทั้งหมดมีผลข้างเคียงของยา  ดังนั้น  เมื่อผู้ป่วยได้รับยาก็มักจะได้รับผลข้างเคียงจากยาด้วย  ซึ่งพยาบาลจะเป็นบุคคลแรกที่พบอาการข้างเคียงเหล่านั้น  เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด

       ยาเมื่อเข้าสู่ร่างกาย  ไม่ว่าทางรับประทาน  เหน็บทางทวารหนัก  เหน็บทางช่องคลอด  สูดดม  ทาผิวหนัง  ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ  หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง  ยกเว้นการฉีดเข้าหลอดเลือดดำซึ่งยาจะต้องดูดซึมจากตำแหน่งที่ให้ยาผ่านผนังเซลล์ต่างๆเข้าไปในกระแสเลือด  หลังจากนั้นยาจะได้รับการนำไปยังบริเวณที่ออกฤทธิ์  บริเวณที่มีการคเปลี่ยนยา  บริเวณที่มีการสะสมของยา  และบริเวณที่ขับถ่ายยา  ยาส่วนหนึ่งที่อยู่ในรูปอิสระไปจับกับรีเซพเตอร์เฉพาะของมันที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง  หรือหลายๆอวัยวะร่วมกัน  จึงจะแสดงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา  แต่ถ้าเป็นยาที่ให้โดยผ่านระบบทางเดินอาหาร  ยาจะถูกเปลี่ยนรูปโดยเอนไซม์ต่างๆที่ตับ  ซึ่งจะมีผลแตกต่างกันไป  แล้วแต่ชนิดของยา  บางชนิดอาจหมดฤทธิ์  บางชนิดอาจทำให้เป็นรูปที่ออกฤทธิ์ได้  หรือบางชนิดทำให้มีพิษต่อร่างกาย  หลังจากนั้นร่างกายจะพยายามกำจัดยาออกจากร่างกาย  โดยทางตับ  ไต  จนกระทั่งยาในกระแสเลือดลดลงเรื่อยๆ  และในที่สุดหมดไปจากร่างกาย  เนื่องจากขณะผู้ป่วยได้รับยาเข้าสู่ร่างกาย  ยาเปรียบเสมือนสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย

หมายเลขบันทึก: 252956เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2009 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ

เป็นประโยชน์กับการดำรงชีวิตที่มีความสุขมากนะคะ พี่ทานยาไทรอยด์มาเกือบ 10 ปีแล้ว คิดว่าคงมีผลข้างเคียงแน่นอน ทำอย่างไรจะช่วยให้ไตทำงานน้อยลง แนะนำหน่อยนะคะ

 

การให้ยาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์..ต้องใช้พยาบาล double check 2 คนทุกขั้นตอนค่ะ

ที่หัวหินทำอย่างไรค่ะ..

เขียนอีกนะคะจะตามอ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท