ศึกษาการจัดการคนต่างด้าวในระบบกฎหมายการทะเบียนราษฎร อย่างไร ?


วิธีการศึกษา

 

ในการศึกษาแนวทางการจัดการคนต่างด้าวในระบบกฎหมายการทะเบียนราษฎรไทย ผู้เขียนวิทยานิพนธ์จำแนกวิธีการศึกษาออกเป็น 2  ประการ ดังต่อไปนี้

ประการแรก       เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการคนต่างด้าวผู้เขียนวิทยานิพนธ์ได้ทำการศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ที่มีอยู่แล้ว ดังนี้

1.         สำรวจตำรา บทความ และผลงานทางวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[1]

2.         สำรวจกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง[2]

3.         สำรวจกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ปรากฏตัวในรูปแบบจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และลายลักษณ์อักษร[3]

4.         สำรวจนโยบายที่เกี่ยวข้อง[4]โดยทำการสืบค้นจาก

ฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(http://library.tu.ac.th ) 

ฐานข้อมูลหอสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(http://www.car.chula.ac.th ) 

ฐานข้อมูลหอสมุดแห่งชาติ(www.nlt.go.th )

ฐานข้อมูลราชกิจจานุเบกษา(www.ratchakitcha.soc.go.th )

ฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(www.krisdika.go.th )

ฐานข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (www.borathailand.org)  และ

ฐานข้อมูลออนไลน์ อื่นๆอาทิ

ไทยเอ็นจีโอ (www.thaingo.org)

สำนักข่าวประชาไท (www.prachatai.com) 

สำนักข่าวประชาธรรม (www.newspnn.com)

สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (Stateless Watch for Research and Development Institute of Thailand-SWIT) (http://statelesswatch.wordpress.com 

   ฯลฯwww.archanwell.org

ประการที่สอง   ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ได้ทำการศึกษาวิจัยประสบการณ์ (Experimental Research)  อันจะนำมาซึ่งข้อเท็จจริงแห่งปัญหา (Factual Research)  รวมตลอดถึงข้อความรู้ (All Solution Research)

ประสบการณ์ดังกล่าวได้รับมาจากการศึกษาผ่านบุคคล  ดังต่อไปนี้

1.   ศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากเจ้าของปัญหาผู้ยอมตนเป็นกรณีศึกษา[5]

2.  ศึกษาผ่านผู้สนับสนุนเจ้าของปัญหา อาทิ ครอบครัวของเจ้าของปัญหา[6] องค์กรภาคเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือ องค์กรภาครัฐที่ดูแลเจ้าของปัญหา เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน[7] ฯลฯ

โดยทำการศึกษาวิจัยผ่านกิจกรรม 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

1.  การทำกรณีศึกษา[8] (Case Study)

2.  การทำกิจกรรมเวทีสาธารณะ[9](Public Forum)

3.  การทำกิจกรรมการเยี่ยมเชิงกัลยาณมิตร[10] (Friendly Visit)

ทั้งนี้ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ได้พยายามผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างมวลมิตรเครือข่ายทางวิชาการ ใน 3 กิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น [11]

 

แผนภาพที่1 : วิธีการศึกษา



[1] ศึกษาบรรณานุกรม

[2] ศึกษา

[3] ศึกษา

[4] ศึกษา

[6] ศึกษา

[7] ศึกษา

[9] ศึกษา

[10] ศึกษา

[11] ศึกษา

 

หมายเลขบันทึก: 254056เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2009 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท