ต้นหญ้าซ่อมถนน


ต้นหญ้าไม่ใช่วัชพืชแต่เป็นวัสดุอย่างดีที่มีชีวิตสำหรับซ่อมถนน

ภาวะปัจจุบันประสพปัญหาโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ทางหนึ่งที่จะประเชิญปัญหาอย่างกล้าหาญและกระทำการใดใดที่หลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้น กรณีการใช้ต้นหญ้าซ่อมถนนเป็นความคิดที่จะหาวัสดุซ่อมถนนที่ยั่งยืน มีชีวิต มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางลบน้อย มีคุณค่าทางจิตใจ ลดความเครียด เพิ่มความสุข ฯลฯ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากให้เกิดกับชีวิตของตน แต่ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มากนัก ถนนที่เกิดรอยแตกมักจะไม่หยุดแค่นั้นแต่จะรุกรามต่อไปจนเสียหายมากมายอย่างที่เราคาดไม่ถึงเมื่อเกิดฝนตก น้ำกัดเซาะเข้าไปตรงรอยแตกนั้นในไม่ช้าถนนที่แตกเพียงเล็กน้อนที่เราไม่สนใจจะทำให้ถนนขาด ผู้คนไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ เวลาคนเมาหรือเด็ก ๆ หกล้ม ลงมาบริเวณนั้นเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตก็ได้  ดังนั้น  เมื่อเกิดรอยแตกบนถนน ควรเป็นถนนเข้าหมู่บ้านที่ไม่ค่อยมีรถใหญ่ รถบรรทุกผ่านแต่เป็นถนนส่วนบุคคลที่เป็นของสาธารณะของหมู่บ้านเช่นนี้เราหรือผู้อื่นก็ได้ใช้ร่วมกันได้  วิธีการง่ายมากคือใช้ช้อนตักดิน (ไปตักหลังฝนตกจะนุ่มมากตักง่าย) ตักให้มีรากของต้นหญ้ามาด้วย  ควรเลือกต้นหญ้าประเภทต้นที่ไม่ใหญ่โตรากเยอะ ข้อสั้น ลำต้นแบน ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี เลือกต้นหญ้าที่แผ่เลื้อยปกคลุมบริเวณรอยแตกเช่น

1.หญ้านวลน้อย(Manila grass (Zoysia matrella ) )

2.หญ้าแพรก(Cynodon dactylon (L.)Pers.)

3.หญ้าปล้อง (Hymenachne pseudointerrupta C.Muell.)

4.หญ้าดอกชมพู(Rhynchelytrum repens (Wild)

 5.หญ้าตีนกา(Eleusine indica (L.)

6. หญ้าลิ้นงู(Hedyotis corymbosa Lamk.)

7.หญ้าข้าวนก( Echinochloa crus-gilli(L.)Beauv.)

8.หญ้าสตาร์(Cynodon nlemfuensis Vanderyst

9.หญ้าแห้วหมู(Cyperus rotundus Linn.)

10.หูปลาช่อน(Emilia sonchifolia (L.)DC.

11.บานไม่รู้โรยป่า( Gomphrena celosioides Mart )

12. ผักปลาบใบแคบ(Commelina  diffusa Burm.f.)  

13.หญ้าเกล็ดหอย(Drymaria cordata (L.))และ

14.Eragrostis tenella (L.)  เป็นต้น

ใช้พลั่วมือเล็ก ๆ กดดินบริเวณรากหญ้าให้แน่น รดน้ำเล็กน้อย เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย  เมื่อหญ้าขึ้นมาหนาแน่นก็คอยตัดแต่งให้หญ้าเจริญอยู่เฉพาะในบริเวณรอยแตกของถนน  นานไปถนนก็จะเชื่อมติดกันรอยแตกนั้นจะถูกประสานให้ติดกันด้วยต้นหญ้าที่เราเอามาใส่ในที่สุด แต่รอยแตกนั้นจะต้องไม่ใหญ่ กว้าง ลึกเกินกว่า  5 เซนติเมตร ครับ ถ้ารอยแตกใหญ่ ๆก็ต้องเรียกเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงดีกว่าครับ

 



ความเห็น (4)

ขอบคุณที่แบ่งปัน แต่อยากเห็นรูปค่ะ ขอบคุณค่ะ

ใส่ไม่ลงเพราะมันมีรูปเก่าลบไม่ออก

เวลาผ่านไป๒เดือนหญ้าที่ยังสามารถรอดชีวิตอยู่ได้คือหญ้า

Eragrostis tenella (L.)P. Beauv.ex Roem et.Schult มีลักษณะดอกเป็นฝอยขนาดเล็กสีขาว (http://www.dld.go.th/nutrition/exhibision/native_grass/images/Eragrostis%20%20tenella.jpg)และต้นต้อยติ่งไม่ได้ปลูกแต่ขึ้นเอง

ต้นต้อยติ่งเป็นพืชที่ตรวจพบว่าสามารถปรับตัวได้ดีให้เจริญเติบโตได้ในช่องลอยแยกของถนน ปรับตัวเองให้มีกิ่งก้านลำต้นเล็กลง สามารถออกดอกได้ภายใน ๑ เดือนหลังย้ายปลูกชื่อวิทยาศาสตร์ Ruellia tuberosa Linn. ACANTHACEAE ชื่อสามัญ waterkanon

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท