ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม


ในการนี้มีวลีภาษาอังกฤษที่เกี่ยวเนื่องอยู่ 3 วลี ได้แก่

"All different All equal"

"Media Literacy"

"Digital Divide"

แต่เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางด้านภาษา ผู้เขียนจึงขออธิบายทั้งหมดเป็นภาษาไทย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในทุก ๆ ด้าน

 

All differrent All equal "ทุกความแตกต่างคือความเท่าเทียม"

 

 


โครงการนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 1995 (พ.ศ. 2538)โดยผู้เขียนมีโอกาสได้พบเห็นการประชาัสัมพันธ์อยู่บริเวณทวีปยุโรป (เมื่อราวสองสามปีก่อน) โดยป้าย (Banner) วลีนี้ มีการแปลออกไปเป็นหลายภาษา อาทิเช่น

ภาษาฝรั่งเศส

 

ภาษาเวียดนาม

 

เป็นต้น (ชมป้ายโครงการภาษาอื่น ๆ เพิ่มเติม)

เป้าหมายของโครงการนี้คืือ ความพยายามที่จะสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียม บนพื้นฐานของความแตกต่าง ดังจะเห็นได้ว่า บนโลกมีความหลากหลาย จึงมีความพยายามที่ลดช่องว่าง ความไม่เข้าใจ และความเหลื่อมล้ำในทุกรูปแบบ เช่น ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ เป็นต้น

อีกวลีหนึ่ง Media Literacy "การรู้เท่าทันสื่อ"

ผู้เขียนได้รู้จักกับวลีนี้เป็นครั้งแรก เมื่อสมัยที่ยังเรียนวิชาโทนิเทศน์ศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยใจความสำคัญอยู่ที่ "การรู้เท่าทันสื่อสารมวลชนในแง่มุมต่าง ๆ เช่น โฆษณาบางประเภท พยายามขายสินค้าของตน โดยการสร้างค่านิยมที่ว่า ผิวขาว ย่อมดีกว่า ผิวสีดำ หรือสีแทน หรือการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าโดยการวางตำแหน่งของสินค้า (Position) เช่น ดื่มเครื่องดื่มที่สกัดจากซุปไก่ แล้วจะมีพลัง และมีสมองดี เป็นต้น เหล่านี้เป็นสิ่งที่แฝงมากับสื่อสารมวลชนประเภทต่าง ๆ โดยหากไม่ใช้สติพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว อาจโอนอ่อนไปตามค่านิยมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางการตลาดได้

ในประเทศอมริกา มีการบรรจุวิชา Media Literacy ให้นักเรียนได้เรียนในระบบโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล แต่ในประเทศไทยพบว่า มีการเรียนการสอนกันในหลักสูตรวิชานิเทศศาสตร์บางสถาบันเท่านั้น

 

สุดท้าย Digital Divide "ความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิตอล"

อาจเรียกได้ว่า ยุคสมัยนี้คือยุคของดิจิตอล ยุคที่มีการสื่อสาร และการแปลงข้อมูลต่าง ๆ ภายในโลกไว้ในรูปแบบของดิจิตอล หรือรูปแบบค่าตัวเลข เพื่อง่าย เร็ว สะดวก และถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เปลี่ยนแปลงโลกในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีหลังมานี้จากเหรียญด้านหนึ่ง เป็นเหรียญอีกด้านหนึ่ง

ปัจจุบันในบางพื้นที่มีการชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปถึงศูนย์บริการ เพียงใช้บริการชำระสินค้าผ่านธนาคารออนไลน์ ในขณะที่คนบางกลุ่มยังไม่รู้จักส้วมซึม และยังไม่เคยได้รับสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน

คนในทวีปยุโรปปัจจุบันกำลังเลิกใช้โทรศัพท์มือถือ  เพียงพกคอมพิวเตอร์แบบพกพาเพียงเครื่องเดียว ก็สามารถติดต่อสื่อสารได้กับคนทั้งโลก เพราะทุกพื้นที่มีสัญญาณสำหรับเชื่อมต่ออินเตอร์ ในขณะที่เด็กบางคนในท้องที่ชนบทห่างไกลเมือง ยังไม่เคยแม้แต่รู้จักหน้าตาของบันไดเลื่อนเลยสักครั้งเดียว...

 

3 วลีข้างต้น แม้จะมีข้อความต่างกัน แต่ผู้เขียนเชื่อว่าอยู่บนพื้นฐานความพยายามเดียวกัน คือ

การสร้าง "ความเท่าเทียม" ให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้


เพียงการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็น ก็ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแล้วที่จะร่วมกันขับเคลื่อน"ความไม่เท่าเทียม"ต่าง ๆ บนโลกใบนี้

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 255207เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2009 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

รับความรู้ครับ

ขอบคุณมากครับ :)

ดีคะ ได้มาอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจมากคะ

ก้อยชอบเรื่องแบบนี้นะคะ การคิดแล้วทำเพื่อสังคมเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนคะ

ต้องส่งเสริมคนที่นำความคิดดีดีมาให้กับสังคมคะ

.

อย่างเช่น ข้อเขียนของอาจารย์..ที่นี่คะที่มีแนวคิดให้กับสังคม ก้อยชอบมากเลยคะ

.

http://gotoknow.org/blog/morality

สวัสดี ครับ

P Jarinya

 

ขอบพระคุณ มาก ครับ

 

ขอบคุณทุกความคิดเห็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

หากไม่เป็นการเสียเวลานัก เชิญทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะในงาน GotoKnow Forum ที่กำลังจะจัดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ คิดว่าทุกความคิดเห็นน่าจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมนี้ร่วมกันค่ะ

ขออนุญาตนำไปใช้เป็นแง่คิดต่อไปในโอกาสต่างๆ ค่ะ โดนใจมาก ขอบคุณค่ะ

อยากมีความเท่าเทียม ทางด้าน Digital เหมือนกัน แต่ยังเสียดายเงินลงทุนค่ะ แบบว่ามันเหนียว

ถ้าว่าอย่างเป็นการ เป็นงาน ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ อาจจะทำให้เท่าเทียมกันยากหรือเปล่าคะ

  • เป็นบทความที่ดีจังเลยครับ ทำให้ได้รู้ว่า
  • ธรรมชาติคงให้โอกาสที่เท่ากันสำหรับทุกสิ่งที่จะมีโอกาสได้แตกต่างกัน
  • ความแตกต่างนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดา คือ เราต่างหากที่ไม่ยอมรับความแตกต่างนั้นได้(โดยง่าย)
  • การที่เราทำ หรือ มีอะไรๆ ได้เหมือนใครคนหนึ่ง ก็ใช่เราจะสามารถเป็นเขาคนนั้นได้
  • ขอบคุณ ครับ

All differrent All equal "ทุกความแตกต่างคือความเท่าเทียม"

น่าจะแปลว่า "ทุกคนแตกต่างกัน ทุกคนเท่าเทียมกัน" จะตรงความหมายกว่าไหมครับ?

ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยคิดภาษาไทยให้ จากที่คิดอยู่นานและไม่ลงตัวสักที

"ทุกคนแตกต่างกัน ทุกคนเท่าเทียมกัน" น่าจะเป็นวลีที่ใช้การได้ทีเดียวค่ะ

แต่ชาวบ้านธรรมดายังไม่มีความรู้พอที่จะต้านการจูงใจของพวกโฆษณาได้หรอกครับอาจารย์ จึงเป็นหน้าที่ของคนที่หวังดีที่จะเข้าไปบอกข้อเท็จจริงให้พวกรู้ครับ

คนหวังดี เช่นเราทุกคนใน G2K ไงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท