อาจารย์ใหม่ออกไปเรียนรู้


“.....ฝ่ายกรมต่างๆก็มาบอกว่าแถวนี้ดินมันไม่ดี ใช่ไม่ได้ ไม่ควรจะทำโครงการไม่คุ้ม แต่ว่าก็ได้พูดว่าดินไม่ดีนั้นมาเยอะแยะในประเทศไทย ถ้าหากบอกว่าดินที่นี้ไม่ดี ไม่ช่วย ไม่ทำ ลงท้ายประเทศไทยทั้งประเทศจะกลายเป็นทะเลทรายหมด เจ้าหน้าที่ก็เข้าใจก็เลยหาวิธีฟื้นฟูดินให้เป็นดินใช้การได้ คือมาบัดนี้ปลูกข้าวก็ได้ ปลูกอะไรต่างๆก็ได้...........”

              

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกต้นโพธิ์ที่เขาหินซ้อนเมื่อ พ.ศ. 2522

           เมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม 2552 คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้พาอาจารย์ และครอบครัวเดินทางไปเรียนรู้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา  อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา  และที่อำเภอวังน้ำเขียว ตลอดจนบ้านด่านเกวียน และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

               ทีมอาจารย์และครอบครัวนัดรวมพลกันเวลา  07.30 น.ที่หน้าตึกอาคารเรียน ผมไปถึงมหาวิทยาลัยตอนเจ็ดโมงเช้า เพื่อไปเจาะเลือดตรวจสุขภาพที่เลื่อนมาครั้งหนึ่งแล้ว คราวนี้ผมเดินทางลูกชายที่ต้องการไปสัมผัสชีวิตร่วมกันผม กระเป๋าเราคนละใบที่เตรียมกันเอง ลูกผมนั้นเป็นครั้งแรกที่เขาต้องดูแลตนเองแต่การจัดกระเป๋านั้นผมสังเกตว่าแม่เข้ามามีส่วนรับผิดชอบจักให้ ผมก็ตอบว่าไปแล้วต้องดูแลตนเองให้ดี ครับ ไปคำตอบที่ลูกชายตอบเสียงดังที่แสดงความมั่นใจให้ผม และแม่เขาได้ยิน

              เมื่อไปถึงจอดรถเรียนร้อยแล้ว เอากระเป๋าไปวางที่จุดร่วมพล ผมและลูกชายเดินไปที่ห้องปฎิบัติการคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อไปเจาะเลือดตามที่สัญญากับพี่ที่อยูฝ่ายบุคคลากร กำชับให้ไปเจาะตอน 07.30 น. ผมไปรอสักพักยังไม่มีท่าที่ว่าห้องจะเปิดเวลาเลยประมาณสัก 10 นาที่ ก็ยังไม่มา ผมเลยต้องไปที่รถเหลืองของมหาวิทยาลัยที่รออาจารย์อีกท่านหนึ่งทางมายังไม่ถึงโทรเข้ามาแล้ว อีกสักพักทุกคนมาครบเราออกเดินทางไปฉะเชิงเทรา รถมุ่งไปที่วัดหลวงพ่อโสธรเป็นเป้าหมายแรกของทีม  รถออกเดินทางตามถนนบางนา - ตราด ผ่านบางปะกง เลี้ยวซ้ายมุ่งไปแปดริ้ว หรือฉะเชิงเทรา

            ที่จริงคำว่าแปดริ้วมีคำเล่าขานกันมาว่า เป็นเมืองนี้เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในลำน้ำบางปะกงที่มีอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อนซึ่งเป็นปลาน้ำจืดเนื้อมาก รสดีมีชุกชุม ปลาช่อนขนาดใหญ่ ปลาช่อนที่เมืองนี้ชาวบ้านจะจับเอามาทำปลาเค็มบ้าง แดกเดียวบ้างต้องเอามีดบังปลาเป็นริ้วเพื่อเอาเกลือทา หรือเกลือให้ความเค็มจะได้เข้าเนื้ออย่างสม่ำเสมอ(เค็มเท่ากันทั้งตัว) ต้องบังถึงแปดครั้ง หรือแปดริ้วแสดงว่าตัวใหญ่มาก เลยเรียกเมืองที่มีปลาตัวใหญ่นี้ว่า เมืองแปดริ้ว และก็เป็นจังหวัดบ้านของผมเอง โดยเฉพาะพนมสารคามเป็นบ้านเกิดของผมครับ

อีกตำนานหนึ่งชื่อ แปดริ้วมาจากอิทธิพลจากนิทานพื้นบ้าน คนในท้องถิ่นพนมสารคามที่บ้านผมละครับ เล่าถึงเรื่อง พระรถ เมรีซึ่งเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในพระรถ-เมรีในปัญญาสชาดกว่า ยักษ์ได้ฆ่านางสิบสองแล้วลากศพไปยังท่าน้ำในบริเวณที่เป็นคลองท่าลาด ที่ไหลผ่านอำเภอพนมสารคาม พร้อมทั้งชำแหละศพออกเป็นริ้ว ๆ รวมแปดริ้ว ทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาด ริ้วเนื้อริ้วหนังของนางสิบสองลอยมาออกยังแม่น้ำบางปะกง ไปจนถึงฉะเชิงเทรา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า แปดริ้ว (จากเรื่องเล่าดังกล่าวบางตอนปรากฎเป็นหมู่บ้านคูเมือง ที่เอานางสิบสองไปขังไว้ในคู  และถนนพระรถอยู่ในตำบลท่าถ่าน  อำเภอพนมสารคาม)

30 สิบกว่าชีวิตมาถึงวัดหลวงพ่อโสธร โดยใช้เวลาประมาณ 40 นาทีจากมหาวิทยาลัย   ทุกคนกุลีกุจอลงจากรถเพื่อเข้าไปไหวหลวงพ่อโสธร ที่จริงผมและลูกไหวหลวพ่อที่แปดริ้วบ่อยมากในระยะนี้        ไห้วทุกครั้งที่ผมขับรถผ่านที่สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงเกือบทุกวันในตอนต้นเดือน และทุกอาทิตย์เพราะเดินทางมาทำบุญให้พ่อที่พนมสารคาม  ที่ท่านเสียชิวิตเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 ขณะที่ผมขับรถกลับถึงอำเภอบางปะกง เพื่อไปเยี่ยมพ่อและท่านก็จากผมไปในวันนั้น หลังจากที่ผมไปบริการวิชาการเรื่อง “Overall scoring” รุ่นที่ 2 ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ  ในวันแรก  และวันนี้เป็นโอกาสอันดีที่ผมและลูกได้มีโอกาสมาไห้วหลวงพ่อในโบส์ถแห่งนี้ อากาศวันนี้ร้อนมาแต่ผู้คนที่มานมัสการหลวงพ่อบางตาไป ทั้งนี้เพราะเป็นวันธรรม หากเป็นวันหยุดเราคงใช่เวลาเต็มที่อย่างที่อาจารย์นิตยาให้ไว้ 40 นาที 25-30 นาทีทุกคนก็มาพร้อมที่รถแล้ว คนขับก็พร้อมทีมเดินทางต่อ

รถขับออกมาทางเดิมเลี้ยวซ้ายมุ่งไปพนมสราคามข้ามแม่น้ำบางปะกงตรงนี้แหละครับครอบครัวผมจะถือโอกาสไห้วหลวงพ่อทุครั้งที่ผ่านมองเห็นยอดอุโบสถ แหลมๆ จากจุดนี้เราอยู่บนรถ 30 นาทีที่ผ่านอำเภอบางคล้า อำเภอพนมสารคาม เราก็มาถึง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ผสมกลมกลืนการพัฒนาภูมิศาสตร์ ภูมิสังคมเป็นต้นแบบการพัฒนา

 

ตอนที่ผมยังเป็นเด็กนักเรียนที่โรงเรียนพนมอดุลวิทยา ในตัวอำเภอพนมสารคามได้มีโอกาสมาที่เขาหินซ้อนแห่งนี้บ่อยๆ ประมาณ ปี 2513-2514 ผมว่าพื้นดินยังอุดมสมบุรณ์ แต่ก็ได้ข่าวว่านายทุนจ้างชาวบ้านตัดต้นไม้  ถางป่าลุกพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูกถั่วลิสง มันสำประหลัง แตงไท ฝักทอง เป้าหมายน่าจะตัดไม้ขนาดใหญ่ที่มีอยู่ออกไปขาย และครอบครองพื้นที่ของนายทุนเพื่อทำการเกษตร   ดินที่เขาหินซ้อนบริเวณนี้ 10 กว่าปีที่ผ่านมา (2512-2522) ถูกทำลายอย่างมาก พื้นทีแห่งนี้ปลูกอะไรไม่ได้แล้ว พื้นดินถูกน้ำซะล้างเอาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ออกไป (water erosion) ในหน้าฝน และลมพัดเอาดินขนาดเล็ก (wind erosion)ไป หมดเหลือไว้แต่ดินทราย และหินที่ผุดขึ้นมา ไม่สามารถปลูกอะไรไม่ได้แม้แต่มันสำประหลังที่ขึ้นง่ายมากก็ปลูกไม่ได้ ต้นไม้ที่ยังมีอยู่ต้นเดียวในพื้นที่ คือยางนา

เหมือนฟ้ามาโปรดชาวพนมสารคาม และพี่น้องชาวไทย เมื่อวันที่ 8 สิ่งหาคม 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินาเปิดศาลพระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม มีชาวบ้าน 7 รายถวายที่ดินบริเวณตำบลเขาหินซ้อนจำนวน 264 ไร่ เพื่อต้องการให้สร้างพระตำหนัก เพราะเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวไปที่ไหนก็พยายามที่จะพัฒนาที่ดินให้เจริญขึ้น

พระองค์ได้ตรัสกับชาวบ้านว่า ....หากจะไม่สร้างตำหนัก แต่ว่าสร้างเป็นสถานที่ที่จะศึกษาเกี่ยวกับการเษตรจะเอาไหม เขาก็บอกว่ายินดี ก็เลยเริ่มทำในที่นั้น   เมื่อเริ่มจัดตั้งศุนย์ฯ มีผู้กราบบังคมทูลรายงานว่าการลงทุนพัฒนาพื้นที่นี้อาจจะไม่คุ้มทุน แต่พระองค์ทรงคัดค้านและพระราชทานข้อคิดว่า โดยเล่าว่า .....ฝ่ายกรมต่างๆก็มาบอกว่าแถวนี้ดินมันไม่ดี ใช่ไม่ได้ ไม่ควรจะทำโครงการไม่คุ้ม แต่ว่าก็ได้พูดว่าดินไม่ดีนั้นมาเยอะแยะในประเทศไทย  ถ้าหากบอกว่าดินที่นี้ไม่ดี ไม่ช่วย ไม่ทำ ลงท้ายประเทศไทยทั้งประเทศจะกลายเป็นทะเลทรายหมด เจ้าหน้าที่ก็เข้าใจก็เลยหาวิธีฟื้นฟูดินให้เป็นดินใช้การได้ คือมาบัดนี้ปลูกข้าวก็ได้ ปลูกอะไรต่างๆก็ได้...........

ในที่สุดก็สามารถใช้ที่ดินทำประโยชน์ได้ทั้งหมด มีราษฎรได้น้อมเกล้าถวายที่เพิ่ม และได้ทรงซื้อทีเพิ่มจนในปัจจุบันมีเนื้อที่รวมทั้งหมด 1,895 ไร่ที่นี้เป็นศูนย์พัฒนาฯแห่งแรกและขยายออกไปอีก 5 แห่งทั่วประเทศ

 

..........................................................................

 

             

หมายเลขบันทึก: 255778เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2009 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์

เพราะเข้าถึง จึงเรียนรู้ค่ะ อิอิ

  • ตามมาเรียนรู้ด้วยคน
  • ลองให้ลูกชาย
  • บันทึกสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ในมุมมองของเขาเองด้วยดีไหมครับอาจารย์
  • อาจารย์สบายดีนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์พอลล่า

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต  สุขสบายดีนะครับ?

เรื่องแปดริ้ว มีอีกมุมมองหนึ่งผมจะเก็ยมาเล่าต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท