การบริหารนโยบายสไตล์ญี่ปุ่น


การบริหาร

การบริหารนโยบายสไตล์ญี่ปุ่น (Hoshin Kanri : โฮชิน คังริ)

Hoshin Kanri คืออะไร

คำว่า “Hoshin Kan ri” นั้น ดูจะเป็นคำใหม่สำหรับนักบริหารในประเทศไทยอยู่พอสมควร หากแต่ถ้าเป็นการแปรนโยบาย (Policy Deployment) การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) การบริหารกลยุทธ์ (Strategic Management) คำเหล่านี้ดูจะคุ้นหูและคุ้นเคยกว่า แต่ในขณะเดียวกัน ก็คงไม่อาจบอกได้เต็มปากว่า Hoshin Kanri มีความหมายเหมือนกันกับสิ่งเหล่านั้น 100%

เนื่องด้วย การบริหารนโยบายสไตล์ญี่ปุ่น หรือ Hoshin Kanri นั้น มีความหมายกว้างกว่าการวางแผนกลยุทธ์หรือการบริหารกลยุทธ์  กล่าวคือ Hoshin Kanri เป็น

ระบบเพื่อมุ่งให้เกิดการบรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์กรหรือผู้บริหาร

โดยส่งเสริมและเชื่อมโยง ศักยภาพ ความสามารถขององค์กร ให้เกิดสมรรถนะที่สูงขึ้น

ด้วย การกระจายนโยบายไปสู่การปฏิบัติ อย่างมีเอกภาพ

ให้ เกิดการใช้ทรัพยากรหลักอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด

โดย อาศัย แนวความคิดด้านคุณภาพ และวงจรการพัฒนา PDCA (PDCA Cycle)”

 

ดังนั้น Hoshin Kanri จึงเป็นระบบการบริหารนโยบายที่คำนึงถึง ทิศทาง (Direction) เป้าหมาย (Target) และวิธีการ (Means) ไปพร้อมๆ กัน เน้นการทำงานร่วมกันของทรัพยากรทั้งหลาย ด้วยแนวคิดด้านคุณภาพ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด อันหนึ่งอันเดียวกัน

 

ทำไมต้อง Hoshin Kanri?

±  เพราะ Hoshin  Kanri ช่วยให้ทิศทางและเป้าหมายขององค์กร เป็นไปในทิศทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ และภาวะแวดล้อมขององค์กร รวมไปถึงทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างชัดเจน 

±  เพราะ Hoshin  Kanri  ทำให้ผู้บริหารสามารถเพ่งความสนใจในกลยุทธ์ซึ่งมีความสำคัญอย่างแท้จริงได้อย่างเหมาะสม (คือช่วยในการลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ และการตัดสินใจนั่นเอง)

±  เพราะ Hoshin  Kanri ทำให้เกิดแผนและการปฏิบัติการ ที่นำไปสู่การลดช่องว่างระหว่าง สถานะปัจจุบันขององค์กร กับความคาดหวังขององค์กร

±  เพราะ Hoshin  Kanri ช่วยทำให้ความคาดหวัง(วิสัยทัศน์)ขององค์กร ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ  และสามารถกำหนดทรัพยากรที่จำเป็น และระดมทรัพยากรอย่างเหมาะสมตามความสำคัญ

±   เพราะ Hoshin  Kanri เน้นวิธีการ การดำเนินการ  การวัดและติดตามผล ในการบรรลุถึงความสำเร็จของกลยุทธ์ขององค์กร

±  เพราะ Hoshin  Kanri  ทำให้องค์กรเกิดความชัดเจนในความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแผนที่วางไว้ และการดำเนินการตามแผนเหล่านั้น

±   เพราะ Hoshin  Kanri  มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ หรือแผนพัฒนาขององค์กร

 

หมายเลขบันทึก: 257552เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2009 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท