วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน วชช.มส. เรียนรู้ใหม่...กับวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน

ประวัติของชาวไทใหญ่


ประวัติชาวไทใหญ่

ไทใหญ่

 

ความหมายของชาวไทใหญ่

ชาวไทใหญ่  หรือ ฉาน หรือ ฌาน เป็นกลุ่มชาวไทใหญ่กลุ่มหนึ่งที่อยู่ในเขตพม่า ตอนใต้ของจีน และภาคเหนือของประเทศไทย   บางท่านว่า  คำว่า ฉาน คือที่มาของคำว่า สยาม  ในพม่ามีรัฐใหญ่ของชาวไทใหญ่ ชื่อ รัฐฉาน( SHAN STATE)   ชาวไทใหญ่ในพม่า บางกลุ่มต้องการอิสระจากการปกครองของรัฐบาลพม่า   จึงจับอาวุธขึ้นต่อสู้ ด้วยความไม่สงบในพม่าทำให้ชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะในระยะหลังเข้ามาทางอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่   แต่รัฐยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนกับประชากรเหล่านี้ คือไม่มีการกำหนดให้ไทใหญ่กลุ่มนี้เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในประเทศไทย  และไม่ยอมรับให้คนกลุ่มนี้เป็นชาวไทใหญ่    รวมทั้งไม่ยอมรับว่า กลุ่มไทใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยจากรัฐไทใหญ่ที่ต้องช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม  เพื่อรอการส่งกลับประเทศเมื่อในประเทศมีความปลอดภัย  เมื่อรัฐไม่จัดพื้นที่พักพิงชั่วคราวไว้รองรับที่ชายแดน  ทำให้ชาวไทใหญ่จำนวนมากทะลักเข้าสู่ตัวเมืองด้านใน  

 

              คำว่า ไทใหญ่ เป็นชื่อที่ชาวไทใหญ่คุ้นเคยมานาน ควบคู่กับคำที่ชาวไทใหญ่มักขนานนามตนเองว่า ไทใหญ่น้อยแต่นอกเหนือจากชาวไทใหญ่ในประเทศไทยแล้วไม่มีคน รู้จักคำว่า ไทใหญ่ ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า ไทใหญ่” (ออกเสียงว่า ชาวไทใหญ่ ) เช่นเดียว กับชาวไทใหญ่เราเรียกตนเองว่า ไทใหญ่ไทใหญ่ที่เรียกตนเองว่า ไทใหญ่ หรือ ชาวไทใหญ่  นั้นมีมาก และจะจำแนกกลุ่มด้วยการเพิ่มคำขยายเช่น ไทใหญ่ดำ  ไทใหญ่แดง ไทใหญ่ขาว ไทใหญ่ใต้ ไทใหญ่เหนือ เป็นต้น ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า ไทใหญ่ แต่ชนชาติอื่นจะเรียกชื่อเราว่า เสียม เซียมหรือสยาม เป็นต้น และเรียกประเทศเราว่าสยาม   ชาวไทใหญ่ก็เช่นเดียวกันมีชื่อที่ชนชาติอื่นเรียกแตกต่างกันไป เช่น พม่าเรียกว่า ชานหรือ ฉาน ซึ่งเป็นต้นเค้าให้ชาวตะวันตกเรียกชาวไทใหญ่  ในขณะที่ชาวคะฉิ่น   หรือจิ่งโพเรียกว่า อะซามชาวอาชาง ชาวปะหล่อง และชาวว้าเรียกว่า เซียมคำทั้งหมดนี้มาจากรากเหง้าของคำเดิมคือ สยามสาม หรือ ซามทั้งสิ้น  ส่วนชาวจีนฮั่นมีวิธีเรียกชาวไทใหญ่ที่แตกต่างออกไป คือ ใช้คำที่แสดงลักษณะของชนชาติ มาขนานนาม เช่น เรียกว่า พวกเสื้อขาว (ป๋ายยี) พวกฟันทอง( จินฉื่อ ) พวกฟันเงิน (หยินฉื่อ )  พวกฟันดำ (เฮยฉื่อ) และยังมี      ชื่ออื่นๆ เช่น เหลียว หลาว หมางหมาน พวกเยว่ร้อยเผ่า และหยี เป็นต้น จีนจะมีการเรียกชื่อชาวไทใหญ่เปลี่ยน แปลงไปตามระยะเวลาทางประวัติศาสตร์

 

              ในกลุ่มของไทใหญ่ก็มีชื่อเรียกออก เป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกหลายกลุ่มตามถิ่นที่อยู่ เช่น           ชาว ไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพม่า มักเรียกชาวไทใหญ่ที่อยู่ในเขตประเทศจีนว่าเป็นไทใหญ่แข่หรือไทใหญ่จีน เพราะพวกเขาสามารถพูดภาษาจีนได้และรับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมจีนหลายอย่างตั้งแต่ภาษา วิธีการกินอาหารด้วยตะเกียบ    การตั้งบ้านเรือนแบบติดพื้นและขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น ในขณะที่    ชาวไทใหญ่ในจีนมักจะเรียกตนเองว่าเป็นไทใหญ่เหนือด้วยถือว่าตน อยู่ทางเหนือของแม่น้ำคง (สาขาของแม่น้ำสาละวิน) และจะเรียกชาวไทใหญ่ในพม่า ว่าเป็นไทใหญ่ใต้

 

ความแตกต่างระหว่างไทใหญ่เหนือ-ไทใหญ่ใต้

              ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างไทใหญ่เหนือกับไทใหญ่ใต้นอกจากภาษาและวัฒนธรรมหลายอย่างที่ได้รับอิทธิพลจากจีนคือเครื่องแต่งกายของผู้หญิงที่มี ลักษณะแตกต่างในแง่ของสีสัน รูปทรง และความหนาบางของเนื้อผ้า ชาวไทใหญ่ใต้ไม่นิยมโพกผ้านัก ในขณะที่ชาวไทใหญ่เหนือโพกผ้าด้วยสีขาวหรือสีดำหรือใช้หมวกทรง กระบอกสีดำ สูงราว 4-6 นิ้ว หากเป็นหญิงสาวไม่แต่งงานชาวไทใหญ่เหนือมักนุ่ง กางเกงสีดำ และถักผมคาดรอบศีรษะ ประดับด้วยดอกไม้ แต่สาวชาวไทใหญ่มาว หรือไทใหญ่ใต้นุ่งซิ่นไม่คาดผม นอกจากนี้ยังมีวิธีเรียกชื่อออกเป็นกลุ่มตามชื่อเมือง เช่น ชาวไทใหญ่เมืองมาวจะถูกเรียกว่าเป็นชาวไทใหญ่มาว หากเป็นเมืองอื่นๆ จะเรียกว่าเป็น ไทใหญ่เมืองวัน ไทใหญ่เมืองขอน ไทใหญ่เมืองหล้า เป็นต้น

              แต่บางเมืองที่ไม่ใช่ชาวไทใหญ่ แต่ก็ได้รับเรียกชื่อว่าเป็นชาวไทใหญ่ด้วยเช่นเดียวกันเพราะได้ติดต่อกับชาวไทใหญ่มานานจนพูดภาษาไทใหญ่ได้และรับอิทธิพลพุทธศาสนาเช่นเดียวกับชาวไทใหญ่ เช่น ไทใหญ่เมืองสา ซึ่งเป็นชาวอาชาง  ชาวไทใหญ่จะเรียกว่า ไทใหญ่สาหรือไทใหญ่ดอย  หมายถึง  ชาวตะอางหรือเต๋ออ๋าง เป็นต้น ชาวจีนฮั่นมักเรียกชาวไทใหญ่เหนือว่าเป็นไทใหญ่นา หรือไทใหญ่บก ซึ่งจะตรงข้ามกับไทใหญ่น้ำ (สุยไต่ ) ซึ่งหมายถึงชาวไทใหญ่ในพม่า ( บางครั้งก็หมายถึงชาวไทใหญ่ลื้อด้วย ) และเรียกชาวไทใหญ่เขต   หลินซาง กึ๋งม้า เมืองติ่ง ว่าเป็นพวกไทใหญ่ป่อง ในภาคเหนือของพม่า ยังมีชาวไทใหญ่คำตี่ ที่ยังคงใช้ช้างไถนา ส่วนในรัฐอัสสัมมีชาวไทใหญ่อาหม ไทใหญ่พ่าเก       ไทใหญ่คำยัง ไทใหญ่โนรา ไทใหญ่อายตอน ไทใหญ่ตุรุง เป็นต้น ชาวไทใหญ่เหล่านี้สามารถจัดอยู่ในกลุ่มชาวไทใหญ่ ด้วยภาษาและวัฒนธรรม ใกล้เคียงกันมาก  ชาวไทใหญ่ส่วนมากทั้งในประเทศพม่า อินเดีย จีน และไทใหญ่นับถือพุทธศาสนามีอักษรเพื่อบันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาชาดก นิทาน ฯลฯ เรามักเรียกอักษรเหล่านี้ว่าอักษรไทใหญ่ แต่ชาวไทใหญ่มีชื่อเรียกอักษรของเขาเองแตกต่างออกไป คือ หากเป็นอักษรไทใหญ่ที่ใช้ในเขตจังหวัดใต้คง เป่าซาน หลินซาง และซือเหมา จะเรียกว่า ตัวถั่วงอก หรือลิ่กถั่วงอก ด้วยรูปร่างของตัวอักษรที่เขียนด้วยก้านผักกูดหรือพู่กันจีนมีลักษณะยาว สูง ในขณะที่หากเป็นอักษรไทใหญ่ที่ใช้ในพม่าจะเรียกว่า ตัวมน หรือ               ตัวไทใหญ่ป่อง ด้วยมีรูปร่างกลมเช่นอักษรพม่า อักษรไทใหญ่ใหญ่จะมีรูปร่างต่างกันไปอีก กลายเป็น อักษรอาหม อักษรไทใหญ่พ่าเกและอักษรไทใหญ่คำคี่ เป็นต้น แต่ลักษณะพื้นฐานส่วนใหญ่จะเหมือนกันคือ มีจำนวนพยัญชนะ และสระใกล้เคียงกัน และไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์มาแต่เดิม หากมีแต่การเพิ่มเติมรูปพยัญชนะและวรรณยุกต์ภายหลัง พยัญชนะส่วนใหญ่มีเพียง 16 – 19 รูป และรูปวรรณยุกต์ 4 -5 รูป

 

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            การศึกษาชาวไทใหญ่ตั้งแต่ปลายคริสศตวรรษที่  19  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  ส่วนมากเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะประวัติศาสตร์โบราณ   เห็นได้จากงานของ Ney Elias (อ้างใน  อานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป : 2)  ซึ่งพยายามอธิบายประวัติศาสตร์ไทใหญ่จากตำนานของเมืองสำคัญ  เช่น  ตำนานเมืองเมา  เมืองแสนหวี  และเมืองปง  นอกจากนั้นก็มีงานของ Hallet    และ  Parker  (อ้างใน อานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป:2)  งานเหล่านี้พยายามจะอธิบายการตั้งอาณาจักรเมาตามตำนาน  ในราวต้นคริสศตวรรษที่ 5  จนถึงการพยายามการขยายดินแดนไปสู่เมืองไทใหญ่ต่างๆ  ในคริสศตวรรษที่ 13  ตลอดจนความสัมพันธ์กับจีนและพม่า 

 

                แต่งานเหล่านี้มีปัญหาเรื่องการกำหนดศักราชและสับสนเรื่องที่ตั้งของเมืองต่างๆ  ซึ่งปัญหาในเรื่องนี้ก็ยังคงดำรงอยู่  เพราะเกิดจากความไม่ชัดเจนในการตีความของตำนาน  ดังปรากฏในงานของ  Zhu Chang li (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป:3)  ตำนานเก่าที่ชาวอังกฤษค้นพบก่อนคือ ตำนานเมืองปง ซึ่ง Pemberton พบในเมืองยะไข่ราวปี ค.ศ.  1830  (Mangrai 1965: 27) (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป: 3)นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะเห็นพ้องกันว่า คือ เมืองเมา ซึ่งเป็นอาณาจักรสำคัญของ ไทใหญ่ตั้งแต่ประมาณต้นคริสศตวรรษ โดยมีผู้นำคือ ขุนไล

 

                ตามตำนานอาณาจักรเมาได้ขยายตัวมาจากคริสศตวรรษที่ 6  จนถึงคริสศตวรรษที่ 11  จึงหยุดลง  เพราะกษัตริย์พม่าชื่อ  “อโนราธา”  ตั้งเมืองพุกามได้ทำให้ปิดกั้นทางขยายดินแดนลงใต้  และในที่สุดพระเจ้าอโนราธารับเจ้าหญิงเมาเป็นเครื่องแสดงการยอมรับอำนาจของเมืองพุกามในปี  ค.ศ.  1057  อย่างไรก็ตามอาณาจักรเมาได้ขยายดินแดนอย่างกว้างขวาง  ตำนานแสนหวีได้กล่าวถึงการขยายตัวของอาณาจักรภายใต้เจ้าเสือข่านฟ้า    (1152-1205)  ไปสู่อาณาจักรของคนไทต่างๆ  จะกล่าวถึงอัสสัม  ตลอดจนโจมตีจีนและพุกาม  การเสนอภาพเช่นนี้  Wyatt ชี้ว่า คนไทมีความสัมพันธ์กันเช่นเดียวกับที่ปรากฏในตำนานของคนไทในที่อื่นๆ เช่น ตำนานพระยาเจือง ของล้านนา

 

                ปัญหาความสับสนที่สำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณของไทใหญ่ก็คือ  การตีความว่า     น่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไท  โดยเริ่มจากงานของ  Laconperie   (อ้างในอานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป:3) ที่เชื่อมโยงตระกูลผู้ปกครองของน่านเจ้าว่ามาจากเชื้อสายของชาวอ้ายลาว ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในยูนนานตอนใต้ในสมัยราชวงศ์ฮั่น และคิดว่าชนกลุ่มนี้เป็นต้นตระกูลของคนไท  และโยงคำว่า  เจ้า  ในชื่ออาณาจักรว่าเป็นภาษาไท  ความเข้าใจผิดดังกล่าวมีอิทธิพลต่อผู้ศึกษารุ่นต่อมาอย่างมาก         จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปมานาน  แม้ในปัจจุบันก็ยังมีผู้เชื่อเช่นนั้นอยู่  เช่นงานของ  Sao Simong


Margrai  (1965)  และ  Tzang  Yawnghwe  (1987)  แต่มีผู้ที่ปฏิเสธความเชื่อนี้คือ Backus (อ้างใน                  อานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป : 3) โดยแสดงหลักฐานว่ากลุ่มผู้นำน่านเจ้าพูดภาษาตระกูล  ธิเบต-พม่า  คือ  โลโล  และมีวัฒนธรรมระบบการตั้งชื่อที่ยึดชื่อท้ายของบรรพบุรุษมาเป็นชื่อต้นของลูก  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มที่พูดภาษาโลโล  ไม่ใช่ของวัฒนธรรมไท

 

                Leach  เองก็เชื่อว่าน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไท  แต่ได้สนใจศึกษาเอกสารจีนทำให้เขาตั้งสมมุติฐานว่า  การตั้งเมืองของไทใหญ่ยุคต้นนั้น  เป็นการรองรับเส้นทางค้าจากจีนไปอินเดีย  เนื่องจากแนวที่ตั้งของชาว ไทใหญ่อยู่บนเส้นทางการค้าหลัก  การขยายตัวของไทใหญ่จึงเป็นการพยายามรักษาเส้นทางการค้า ซึ่งมีการตั้งด่านและป้อมค่ายขึ้นจนทำให้เกิดเป็นรัฐย่อยๆขึ้น                                          (อ้างในอานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป:3)  แต่ก็ไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจนว่า  ทำไมไทใหญ่จึงได้ขยายเข้าไปในแคว้นอัสสัม  และตั้งอาณาจักรไทอาหมขึ้นในช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 13

 

                การศึกษาประวัติศาสตร์ไทใหญ่อย่างเป็นระบบ  และค้นคว้าจากเอกสารหลายแหล่งเริ่มจากการศึกษาของ  G.H. Luce  (อ้างใน อานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป:4) ซึ่งอาศัยเอกสารจีนเป็นหลักทำให้ได้และรายละเอียดที่ค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการที่ไทใหญ่เข้าไปมีบทบาทในประวัติศาสตร์พม่า หลังจากที่ชาวมองโกลตีเมืองพุกามได้ในปี   ค.ศ.  1287  เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดทางให้ชาวไทใหญ่สามารถขยายตัวในแถบที่ราบลุ่มจ๊กเซ  ซึ่งถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของพม่า  ในช่วงนี้มีพี่น้องไทใหญ่ 3 คน  เป็นผู้นำยึดพุกามและต่อสู้กับจีน  แต่ในที่สุดก็ส่งบรรณาการให้จีน  และหลังจากปราบปรามเมืองต่างๆได้  ก็ย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่อังวะราวปี  ค.ศ. 1364

 

                Luce  ได้ตั้งข้อสังเกตว่า  แม้ชาวไทใหญ่จะปกครองเมืองพม่า  ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังเป็นพม่า  แต่ผู้นำไทใหญ่ก็ยอมรับวัฒนธรรมพม่า  และใช้ภาษาพม่าเขียนจารึก  ประวัติศาสตร์ในช่วง  คริสศควรรษที่ 15  เต็มไปด้วยสงครามแย่งชิงเมืองต่างๆของพม่าและไทใหญ่  ขณะเดียวกันก็ปรากฏว่ามีการพยายามสร้างพันธมิตรด้วยการแต่งงานระหว่างเจ้าด้วยกันเอง  อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดเมือง   


อังวะก็ถูกเจ้าไทใหญ่ด้วยกันเองจาก   เมืองยางบุกทำลายในปี  ค.ศ.  1527  ปรากฏว่ามีการทำลายวัดและประหารพระภิกษุในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก  เหตุการณ์นี้แสดงว่าชาวไทใหญ่ตอนเหนือยังไม่ได้นับถือพุทธศาสนาในช่วงนั้นขณะที่ชาวไทใหญ่ตอนใต้รับอิทธิพลพุทธศาสนาจากพม่าแล้ว Leach เองก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่าชาวไทใหญ่ตอนเหนือเพิ่งเริ่มนับถือพุทธศาสนาในคริสศตวรรษที่ 16  นี้เอง ในเรื่องนี้จึงมีประเด็นคำถามสำหรับการวิจัยที่น่าสนใจต่อไปว่า ชาวไทใหญ่ตอนเหนือมีความเชื่ออย่างไร เพราะรับพุทธศาสนาช้ากว่าทางตอนใต้มาก ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบกับความเชื่อของชาวไทดำในเวียดนาม ซึ่งไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา(อ้างใน อานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป  : 4)

 

                รัฐไทใหญ่ทางตอนเหนือ  โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในประเทศจีนปัจจุบัน  มีปรากฏอยู่ในเอกสารจีนตั้งแต่  ค.ศ. 1276  เช่น  กรณีของเมืองขอน  นักมานุษยวิทยาชาวจีน  T’ien Ju-k’ang   ซึ่งได้เข้าไปศึกษาหมู่บ้านที่เมืองขอนในปี ค.ศ. 1940  ได้อ้างหลักฐานจีน  แสดงให้เห็นว่า  เมืองขอนมีตระกูลเจ้าที่ปกครองและสืบตระกูลอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลากว่า  500 ปี  จนถึงปีที่เขาเข้าไปวิจัย  แต่ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลสลับกันไปมาระหว่างพม่าและจีนตลอดเวลา  ในปี  ค.ศ.  1442  จีนยกย่องเจ้าเมืองขอนที่ช่วยรบพม่า  แต่ในปี ค.ศ. 1583  เจ้าเมืองขอนก็ถูกจีนประหารชีวิตโทษฐานที่ไปช่วยพม่ารบกับจีน           (T’ien Ju-k’ang) (อ้างใน อานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป:4)  

 

                ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ช่วงหลังคริสศตวรรษที่ 16  จนถึง 18  มีแต่เพียงการศึกษาอย่างคร่าวๆ  ทำนองเล่าพงศาวดารมากกว่าการวิเคราะห์ถึงพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม  ดัวยปรากฏในงานของ  Harvey  ,  Cochrane    และ Mangrai (อ้างใน อานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป:5)  ในช่วงนี้เมืองของชาวไทใหญ่ส่วนมากตกอยู่ใต้อิทธิพลของพม่า  เพราะเจ้าไทใหญ่ทำสงครามรบพุ่งกันเอง  จนในที่สุดพม่าภายใต้การนำของพระเจ้าบุเรงนองสามารถกลับมายึดอังวะได้ในปีค.ศ.  1555  หลังจากไปชุมนุมสร้างกำลังพลอยู่ที่เมืองตองอูอยู่นาน  ต่อมาพม่าก็ได้ทำสงครามยึดเมืองไทใหญ่ต่างๆบังคับให้ส่งบรรณาการ  ในช่วงนี้เองพม่าได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แก่ชาว  ไทใหญ่ตอนเหนือ  เพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยว  จนทำให้เจ้าไทใหญ่ยอมรับพม่าและร่วมกับพม่าในการทำสงครามหลายครั้ง   เช่น  การทำ


สงครามกับอยุธยา และจีน  ตลอดจนร่วมกับพม่ารบกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1824  นอกจากนั้นก็มีการแต่งงานกันในหมู่เจ้าไทใหญ่และพม่า ดังจะเห็นได้ว่า  ในกรณีของพระเจ้าธีบอ  กษัตริย์พระองศ์สุดท้ายของพม่าก็ถือได้ว่าเป็นลูกครึ่งไทใหญ่  อย่างไรก็ตามเมืองไทใหญ่บางเมืองก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลจีน  เช่น  เมืองเมาถูกจีนยึดได้ในปี ค.ศ.  1604  ขณะที่บางเมืองก็สามารถมีอิทธิพลอยู่ได้  เช่น เมืองแสนหวี

 

                ในคริตศตวรรษที่ 19  Leach  ซึ่งศึกษาเอกสารอังกฤษเป็นหลัก  พบว่าอำนาจทางทหารของชาวไทใหญ่ถูกพม่าทำลายลงอย่างสิ้นเชิง  แต่กระนั้นเจ้าไทใหญ่ก็ยังต่อสู้กันเอง  โดยการจ้างทหารคะฉิ่นมารบให้   ส่วนเมืองไทใหญ่ตอนเหนือที่อยู่ห่างไกลอำนาจของพม่า  เช่น  เมืองของไทดำที่ปูเตา  และในอัสสัม  ยังคงมีอิสระ  ขณะที่เมืองในแถบที่ราบหูกองตกอยู่ใต้อิทธิพลของคะฉิ่น  ในช่วงนี้การค้าระหว่างเมืองบาโมและแสนหวีกับจีนรุ่งเรืองมาก  ก่อนที่อังกฤษจะผนวกพม่าตอนบนได้ในปี          ค.ศ. 1885  ชาวไทใหญ่ที่มีเชื้อสายพม่า  ชื่อ เมืองชเวลี  ได้กบฏต่อพม่าเพื่อตั้งเมืองก๋องเป็นอิสระในปี  ค.ศ. 1883  โดยอ้างว่าสืบเชื้อสายจากเจ้าฟ้าเมืองก๋อง  การปราบปรามของพม่าได้ทำลายหมู่บ้านไทใหญ่แถบเมืองก๋องและมัสยิดจินาจำนวนมาก  ซึ่งมีผลให้เกิดจลาจลขึ้นทั่วไป  (อ้างใน อานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป:5)  เอกสารอังกฤษส่วนใหญ่พยายามจะให้ภาพสังคมไทใหญ่วุ่นวาย  เพื่อสร้างความชอบธรรมกับการผนวกดินแดน  ช่วยให้เกิดความสงบขึ้นได้  แต่หากว่าสังคมไทใหญ่มีความวุ่นวายจริง  ก็ยังไม่มีคำอธิบายว่า  แล้วเกิดความต่อเนื่องทางสังคมได้อย่างไร  เพราะปรากฏว่ามีชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาในดินแดนไทแถบแม่ฮ่องสอนอย่างต่อเนื่อง  และที่สำคัญจะอธิบายอย่างไร  ถึงบทบาทของพ่อค้าวัวต่างชาวไทใหญ่  ซึ่งมีส่วนอย่างมากต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างรัฐไทใหญ่และล้านนาในช่วงคริสศตวรรษที่ 19-20

 

                การศึกษาประวัติศาสตร์ไทใหญ่ในระยะหลัง  ตั้งแต่ปี ค.ศ.  1965  จนถึงปัจจุบัน  มักจะเน้นช่วง      คริสศตวรรษที่ 19-20  จากการศึกษาเอกสารของอังกฤษและบันทึกความจำของชาวไทใหญ่  งานสำคัญในช่วงนี้คือ  งานของ  Saimong Mangrai  ,  Aye Kyaw  และ  Robert  Taylor Yawnghwe    (อ้างใน อานันท์  กาญจนพันธุ์  มปป:6)  ซึ่งเป็นลูกชายของประธานาธิบดีคนแรกของพม่า  การศึกษา
ส่วนใหญ่จะเน้นที่นโยบายของอังกฤษที่มีผลต่อรัฐไทใหญ่  ในระยะแรกหลังจากที่อังกฤษผนวกดินแดนแล้ว  จะปล่อยให้เจ้าไทใหญ่ปกครองหากไม่กระทบต่อความมั่นคง  แต่หลังจากปี ค.ศ.1920  ตำแหน่งเจ้าถูกลดความสำคัญลง  อังกฤษมีอัคติต่อเจ้าไทใหญ่ว่าไม่รู้จักการปกครอง จึงจัดการปฏิรูปที่ทำให้ข้าหลวงอังกฤษมีบทบาทมากขึ้น  แต่มีความมุ่งหมายเพื่อการควบคุมเจ้ามากกว่าการมองเห็นว่าไทใหญ่มีเอกภาพ  เพราะอังกฤษมีความคิดตลอดเวลาว่า  ไทใหญ่เป็นรัฐย่อยๆ  ทัศนะดังกล่าวมีผลต่อสถานภาพของชาวไทใหญ่หลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษทำให้ไทใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองของพม่าเท่าที่ควร

               

การผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์

            จากการศึกษาประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า  ดินแดนของชาวไทใหญ่ตกอยู่ท่ามกลางอำนาจรัฐขนาดใหญ่  คือ จีน พม่าและไทย  ซึ่งผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีอิทธิพลเหนือเจ้าไทใหญ่  แต่กระนั้นรัฐไทใหญ่ทั้งหลายก็สามารถอยู่อย่างมีอิสระได้บ้างเป็นบางคราว  เมื่ออำนาจรัฐขนาดใหญ่อ่อนแอลง  ในสภาพดังกล่าวทำให้ที่ตั้งถิ่นฐานของชาวไทใหญ่มีลักษณะเหมือนกัน  เมืองชายแดนหรือรัฐชายขอบดินแดนเช่นนี้มักจะมีความหลากหลาย  ของชาติพันธุ์ต่างๆมากมาย  มาอาศัยอยู่รวมกัน  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การศึกษาชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่งอย่างโดดเดี่ยว  หรือ

คำสำคัญ (Tags): #ไทใหญ่
หมายเลขบันทึก: 257835เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ผมอ่าน ดูแล้ว ยัง ..งงงง

อยากอ่าน ที่ทำให้ใจง่ายๆๆ.....ตัวหนังใหญ่ขึ้นมาอีกนิด...อักษรตัวเล็กไปหน่อย......เหมือนกลัวใครมาอ่านอย่างนั้นแหล

ให้ตัวหนังสือมันใหญ่ และเนื้อหา ชัดเจนกว่านี้ อีกนิด

ผมขอขอบคุณมาที่นี้ด้วย ที่ได้นำเรืองราวต่างๆๆๆๆๆๆๆๆ

ขอคนที่ ทำประวัติศาสย์ ไต ...จงใหม่ข้า

เค้าอ่านดูนะมันก็มีประโยชน์ดีเนาะ ขอบใจนะ

รับสมัคร ผู้ช่วยชาวไทใหญ่ที่มีความสามารถในการขเียนภาษาไทย และสือสารโดยใช้ภาษาไทย ภาษาไทใหญ่ ภาษาพม่าได้ ติดต่อ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัฒนธรรมดนตรีไทย 022184582 หรือ 0830896070

ผมคนไทใหญ่แท้ๆ ยังไม่รู้ประวัติศาสตร์ของตนเลยครับ ขอบคุณมากที่นำเรื่องราวดีๆ มาให้ความรู้ เพือที่ จะเอาไปเหล้าให้ลูกหลานฟังประวัติศาสตร์ของตนเอง ขอบคุณมากๆครับ

จายเหลินว้าง แม่อาย เชียงใหม่

อย่าเป๋ลืมเจ้อเคอเฮาน่า อยู่ก้าไหลก้อปี่น้องไตยเฮาหนั่งกั๋น ใหม่สุงกู้ก้อกู้โกนน่า

มีประโยชน์​เยี่ยมมาก​แลกเปลี่ยนกัน​ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท