สรุปประชุมนักวิจัยครั้งที่ 2


ระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นงานวิจัย บุหรี่ในสื่อภาพยนตร์

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2552

สถานที่ Bioscope office โชคชัย4

 

ระเบียบวาระที่ ๑      เรื่องการสรุปผลการการสำรวจ

            ๑.๑.     นำเสนอผลการประเมินเบื้องต้น โดย คุณ สุภาพ หริมเทพาธิป  และทีมงานไบโอสโคป

                คุณสุภาพ หริมเทพาธิป (นักวิจัยประจำโครงการตัวแทนนิตยสารไบโอสโคป) และทีมงานไบโอสโคปได้นำเสนอผลการชมและการบันทึกการปรากฏตัวของฉากที่มีบุหรี่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในภาพยนตร์ไทยเบื้องต้นพบว่า จากภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้สูงสุดอันดับที่ 1-5 ประจำปีพ.ศ. 2545-2551 จำนวน 35 เรื่อง พบว่ามีภาพยนตร์ไทยที่มีบุหรี่ปรากฏในฉากจำนวน 18 เรื่อง  ได้แก่

                ปีพ.ศ. 2545        อันดับที่1 ผีหัวขาด, อันดับที่2 คนเห็นผี, อันดับที่5 7ประจัญบาน

            ปีพ.ศ. 2546        อันดับที่ 1แฟนฉัน, อันดับที่2  องค์บาก, อันดับที่ 3 สตรีเหล็ก2, อันดับที่4  เฮี้ยน

ปีพ.ศ. 2547          อันดับที่ 1 ชัตเตอร์ฯ , อันดับที่ 2 บอร์ดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม, อันดับที่ 3 โหมโรง,  อันดับที่ 5 สายล่อฟ้า

ปีพ.ศ. 2548        อันดับที่  2 หลวงพี่เท่ง

ปีพ.ศ. 2549        อันดับที่2 โหน่ง- เท่ง  นักเลงภูเขาทอง

ปีพ.ศ. 2550        อันดับที่3 บอร์ดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม2 , อันดับที่ 5 เมล์นรกหมวยยกล้อ

ปีพ.ศ. 2551        อันดับที่ 1 องค์บาก2 , อันดับที่ 3 สี่แพร่ง, อันดับที่ 5 ช็อคโกแลต

 

*** จากการสำรวจภาพยนตร์ไทย อันดับที่ 1-5 พบบุหรี่ปรากฏในภาพยนตร์ประเภทบู๊ และตลกมากที่สุด และฉากที่มีบุหรี่ปรากฏขึ้นมาส่วนใหญ่เกิดจากนักแสดงประกอบในภาพยนตร์

 

ระเบียบวาระที่ ๒            แนวทางการดำเนินการต่อ

 

อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ (นักวิจัยประจำโครงการ)ได้แนะนำแนวทางในการศึกษาภาพยนตร์ไทยที่มีฉากบุหรี่ปรากฏในเนื้อหา โดยให้ทำการศึกษาในประเด็นดังนี้

-          จำนวนภาพยนตร์ที่มีฉากบุหรี่ปรากฏ

-          รูปแบบประเภทของภาพยนตร์ที่มีฉากบุหรี่ปรากฏ

-          คนที่ทำให้มีบุหรี่ปรากฏ (นักแสดงนำ, นักแสดงประกอบ เป็นต้น)

-          รูปแบบของการปรากฏตัวของบุหรี่

-          ผลลัพธ์ที่ชี้นำให้เห็นผลของการปรากฏตัวของบุหรี่ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

               

ระเบียบวาระที่ ๓            เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๓.๑.  แนวทางในการสื่อสารสาธารณะ

อาจารย์อิทธิพลได้แนะนำเพิ่มเติมถึงการให้ทางทีมงาน ลองนำภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีรายได้สูงสุดของแต่ละปีที่เข้าฉายในไทย มาทำการสำรวจและศึกษาประกอบกัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบแนวโน้มกับภาพยนตร์ของไทย และให้ดูข้อสังเกตที่น่าสนใจจากภาพยนตร์ในส่วนของเนื้อหา  เช่น เรื่องทัศนคติหรือความคาดหวังของทีมนักวิจัยถึงภาพยนตร์ว่าน่าจะมีการปรากฏตัวของบุหรี่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ไทยเรื่องเพื่อนสนิท ที่ตัวแสดงนำในเรื่องเรียนทางด้านศิลปะ ซึ่งทัศนคติมุมมองของคนเราทั่วไปคาดหวังผู้ที่เรียนด้านนี้น่าจะมีการสูบบุหรี่ แต่กลับไม่พบฉากการสูบบุหรี่ในภาพยนตร์เรื่องนี้เลย เป็นต้น หรือภาพยนตร์บางเรื่องที่ทีมวิจัยคาดหวังว่าไม่น่ามีบุหรี่ปรากฏ แต่กลับพบว่ามีฉากที่มีบุหรี่ปรากฏขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่สรุปงานในครั้งต่อไป ที่จะทำการชมภาพยนตร์เพื่อสำรวจดูการปรากฏตัวของบุหรี่ ใช้วิธีการเลือกชมและสำรวจภาพยนตร์ไทยที่มีความน่าจะเป็นในการปรากฏตัวของบุหรี่มีความสมจริงใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป อีกทั้งเป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสและก่อให้เกิดอิทธิพลในด้านต่างๆ ให้กับผู้ชม เลือกจากในอันดับที่  6 -10 ของภาพยนตร์ไทยที่มีรายได้สูงสุดประจำปี พ.ศ. 2545- 2551 โดยจากสรุปกันที่ประชุม เลือกมาจำนวน 7 เรื่องได้แก่

                ปีพ.ศ. 2545          ภาพยนตร์ไทยเรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11

            ปีพ.ศ. 2547        ภาพยนตร์ไทยเรื่องหมอเจ็บ และไอ้ฟัก

                ปีพ.ศ. 2549        ภาพยนตร์ไทยเรื่องรักจัง และโคตรรักเอ็งเลย

                ปีพ.ศ. 2551        ภาพยนตร์ไทยเรื่องรักสามเส้า

                นอกจากนี้ทางที่ประชุมได้สรุปเพิ่มให้มีการรับชมและสำรวจภาพยนตร์ต่างประเทศที่ทำรายได้สูงสุดจากการเข้าฉายในประเทศไทยประจำปี พ.ศ.2545- 2551 อันดับที่1-5 รวมจำนวน 35 เรื่อง เพิ่มเติม โดยจะนำผลสรุปการปรากฏตัวของฉากบุหรี่มาสรุปในการประชุมครั้งต่อไป โดยทีมงานของทางไบโอสโคปรับหน้าที่ในการสำรวจและชมภาพยนตร์ รวมถึงจะมีการจัด Friendly visit พูดคุยกับกลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ในเรื่องของความสำคัญและเงื่อนไขในการปรากฏตัวของบุหรี่ในภาพยนตร์ไทย โดยแบ่งไปตามประเภทของภาพยนตร์ ได้แก่ คุณจาฤกษ์ กัลป์จาฤกษ์ คุณปรัชญา ปิ่นแก้ว และคุณยงยุทธ ทองกองทุน

 

๓.๒.           แนวทางการจัดทำเอกสารจัดการความรู้

 

                ครั้งต่อไปที่จัดประชุมในเรื่องบุหรี่ในภาพยนตร์นั้น นัดหมายคือวันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ.2552 ที่ออฟฟิศของไบโอสโคป โดยเตรียมเอกสารพร้อมเล่าสรุปในแต่ละประเด็นที่ทางทีมนักวิจัยและทางทีมงานไบโอสโคปทำการสำรวจและค้นคว้า ได้แก่

-          งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ

-          โพลต์สำรวจที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่

-          การจัดเรตติ้งบุหรี่ในภาพยนตร์ เปรียบเทียบ 5 ทวีป

-          Policy จากต่างประเทศ

-          ผลสรุปการปรากฏตัวของบุหรี่ในภาพยนตร์

 

ข้อมูลสรุปโดย

สาวิตรี อริยชัยเดช

คำสำคัญ (Tags): #บุหรี่#ภาพยนตร์
หมายเลขบันทึก: 257860เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท