การขับเคลื่อนแนวคิด “ห้องเรียนคุณภาพ” สู่การปฏิบัติ


แนวคิด "ห้องเรียนคุณภาพ" จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับกระบวนการบริหารจัดการ หรือการขับเคลื่อนที่เป็นระบบ อิงหลักวิชาการ

ในครั้งที่แล้ว ผมได้เขียนเรื่อง “ห้องเรียนคุณภาพ” กับ การขับเคลื่อนหลักสูตร 2551 โดยนำเสนอให้เห็นตรงกันว่า “ห้องเรียนคุณภาพ” คืออย่างไร และในการขับเคลื่อนหลักสูตร 2551 ควรสอดแทรกหลักการในเรื่องนี้เข้าสู่โรงเรียนอย่างไร ในบทนี้ ผมจะนำเสนอแนวคิดที่คิดว่าน่าจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ในสถานศึกษา เป็นเนื้อหาสาระที่ผมบรรยายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 เรื่อง การนำแนวคิด“ห้องเรียนคุณภาพ” สู่การปฏิบัติ  ให้แก่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กทม.เขต 2 ณ โรงแรม ฮอลิเดย์ อินน์–รีเจนต์  ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี   ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ในการขับเคลื่อนแนวคิด “ห้องเรียนคุณภาพ” สู่การปฏิบัติ ผมใคร่เสนอแนวทางดังต่อไปนี้

1. สร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการ

 “นำความเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน”: หน่วยปฏิบัติการที่เล็กที่สุด โดยจะต้องร่วมกันกำหนดเป้าประสงค์ว่า “ทุกรายวิชา จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนระดับ “ดี-ดีมาก” ภายในปี  2553

2.  กำหนดภาพความสำเร็จ  ตัวชี้วัดความสำเร็จของ “ห้องเรียนคุณภาพ” อย่างชัดเจน เป็นที่เข้าใจตรงกัน

โดยสรุป “ห้องเรียนคุณภาพ” เป็นแนวคิด ที่มีกรอบการปฏิบัติ ดังนี้

1) มุ่งนำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน : จะต้องเปลี่ยน/ยกระดับคุณภาพของผู้เรียน ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน

2) ให้ความสำคัญกับออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน

3) วิจัยในชั้นเรียน (CAR) : ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนหรือเนื้อหาวิชา เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

4) ใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน

5)  สร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline): เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หรือคุณลักษณะ ด้วยกระบวนการเสริมแรงเชิงบวก

หากพิจารณา ความเปลี่ยนแปลงระดับครูผู้สอน จะต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4

ประการ คือ

1) Effective Syllabus : กำหนดหน่วยการเรียนรู้/หลักสูตรระดับรายวิชาที่มีประสิทธิภาพ

2) Effective Lesson Plan : จัดทำแผนการสอน/แผนจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

3) Effective Teaching : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย  สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ หรือ เนื้อหาสาระ

4) Effective Assessment : วัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับการประเมินตามสภาพจริง

 3. จัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมการพัฒนาเพื่อก้าวสู่ ห้องเรียนคุณภาพ

-การออกแบบการเรียนรู้รายวิชา

-โครงการ/กิจกรรมระดับกลุ่มสาระ

-โครงการ/กิจกรรมระดับโรงเรียน

-โครงการระดับกลุ่มโรงเรียน/เขต

4. จัดทำปฏิทินการบริหารจัดการในรอบปี เพื่อก้าวสู่ ห้องเรียนคุณภาพ

ปฏิทินงานพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ปี 2552

1) กำหนดตัวชี้ ห้องเรียนคุณภาพ พร้อมประชาพิจารณ์ ......เม.ย. 2552

2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา กำหนด Baseline............พ.ค.  2552

3) วางแผน/จัดทำแผนงาน โครงการ/กิจกรรม ..................พ.ค. 2552

4) ดำเนินการตามแผน(1) : กำกับ ติดตาม  นิเทศ

และ ประเมินความก้าวหน้า 1.............................................มิ.ย.-ก.ย. 2552

5) ดำเนินการตามแผน(2) : กำกับ ติดตาม  นิเทศ ...............พ.ย.52-ก.พ.2553

6) ประเมิน สรุปผลการดำเนินงานในรอบปี ..........................25 มีนาคม 2553

 

4. กำกับ ติดตามงาน ตามสายงานบังคับบัญชา  หรือคำนึงถึง "Monitorial System

Ò  งานเป็นไปตามแผนหรือไม่(ปัจจัยใดบ้าง ช่วยให้งานเป็นไปตามแผนหรือไม่เป็นไปตามแผน-เก็บสะสมเป็นองค์ความรู้/เป็นบทเรียน)

Ò  มีปัญหา อุปสรรค ที่สำคัญ ๆ อย่างไรบ้าง(ทางออกในการแก้ปัญหาที่ได้ผล คืออย่างไร ปัจจัยใดบ้างช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้ – เก็บสะสมเป็นองค์ความรู้/เป็นบทเรียน)

Ò  ผลงานที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลา มีคุณภาพ เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ เพียงใด

5. ให้หน่วยงานย่อย สรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานของตนเอง อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะ ๆ

6. ใช้หลักสัญญาประชาคม ช่วยในการกำกับ ติดตามงาน   อาทิ

-ประสานแผนก่อนการดำเนินงาน

-จัดทำปฏิทินในการติดตามงาน

-จัดให้มีการเผชิญหน้าระหว่างหน่วยงานที่เทียบเท่ากัน เพื่อรายงานความก้าวหน้า

ในการดำเนินงาน

 -ฯลฯ

7. ใช้การสัมมนาประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้หลักการเสริมแรง(Advocacy Model) หรือ" เน้นการชี้จุดเด่นของแต่ละหน่วยงาน/ฝ่าย/กลุ่มสาระ/บุคคล มากกว่า การชี้จุดอ่อน หรือ ติ"

8. พัฒนาระบบการสื่อสารให้รวดเร็ว คล่องตัว  เช่น

-เครือข่ายข้อมูล

-ระบบฐานข้อมูล

-การประชุม/ห้องประชุม V.I.P ทาง Internet

ฯลฯ

9. หน่วยงานระดับบน ควรจัดกิจกรรมให้หน่วยงานระดับล่าง หรือระดับรอง มีโอกาสรับทราบความเคลื่อนไหวของกันและกัน เช่น

-จัดทำวารสาร  จดหมายข่าว

-การให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างรวดเร็ว

          ฯลฯ

10. ใช้เทคนิคหลากหลายในการติดตามงาน อาทิ

-การรายงานด้วยเอกสาร

-การออกเยี่ยมนิเทศงาน

-การสัมมนารายงานผลการปฏิบัติงาน

ฯลฯ

11. ประเมินผลการดำเนินงานในรอบปี

-รายงานการดำเนินงาน ห้องเรียนคุณภาพ จำแนกตามกลุ่มสาระ

-รายงานการดำเนินงานตามมาตรฐาน สพฐ.

-สรุปผลงาน Best Practices

-ประเมินศักยภาพครู/พัฒนาการ/ความก้าวหน้าในวิชาชีพของครู

12. ส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพสำหรับครู ควบคู่กับการพัฒนาสู่ห้องเรียนคุณภาพ(กำหนดเป้าหมายร้อยละของครู คศ.3-5)

หลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติ ดังกล่าวข้างต้น ในแต่ละประเด็นจำเป็นต้องกำหนดรายละเอียด หรือแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยสถานศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ตามบริบทของตนเอง

 

หมายเลขบันทึก: 259703เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2009 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • แนวคิดที่ท่านนำเสนอนับว่าเป็นประโยชน์มากๆ ครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • แนวคิดที่ท่านนำเสนอนับว่าเป็นประโยชน์มากๆ ครับ

สวัสดีค่ะดร.สุพักตร์

  • เรื่องห้องเรียนคุณภาพที่อาจารย์เสนอแนวคิดหากสามารถทำได้จริงยอดเยี่ยมมากๆเลยนะคะ
  • ในฐานะครูผู้ปฏิบัติการสอนคิดว่าหากฝ่ายบริหารทำความเข้าใจกับคุณครูให้ชัดเจนคุณครูก็พร้อมที่จะปฏิบัตินะคะ
  • โรงเรียนสมบูรณ์แบบอย่างแน่นอน...แต่ละโรงเรียนจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีผู้ผลักดันที่เข้าถึงครูและเข้าใจครูอย่างแท้จริง..เพราะถ้าหากไม่เตรียมครูให้พร้อม...ครูขาดความตระหนักและขาดความเข้าใจที่ชัดเจน...ห้องเรียนคุณภาพย่อมไร้ผล
  • ตัวเองในฐานะครูเก่า..ได้รับข้อมูลจากอาจารย์แล้วมีความตั้งใจเต็มเปี่ยมที่จะปฏิบัติ..ยังไงก็จะลองดู..คิดว่าจุดเริ่มต้นของตัวเอง..ก็จะเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน..แล้วจึงขยายผลสู่เพื่อนครู
  • คงต้องเรียนเชิญอาจารย์มาจุดประกายให้ชาวนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานครอีกรอบนะคะ
  • ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะที่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับครู นักเรียน สถานศึกษาและชุมชน

อ.Preeda

  • ลองเริ่มต้นสัก 1 รายวิชาก่อนก็ได้ครับ หรือชวนทีมครูที่สนิท ร่วมคิดกันก่อนจำนวนหนึ่ง
  • ในวันที่ 12 นี้ ช่วงบ่าย ผมจะไปคุยกับคณะครู ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เรื่องนี้ครับ เพื่อหาแนวทางทำให้เห็นเป็นรูปธรรม
  • เรียน ดร.สุพักตร์
  • ผมมาตามคำแนะนำของพี่ปรีดา ไม่ผิดหวังเลยครับ
  • ผมอยากให้ทุกคนได้มาหาความรู้ที่นี่โดยเฉพาะครู
  • ขอให้ท่านมีความสุขนะครับ

สวัสดีค่ะดร.สุพักตร์

  • ขอบคุณมากๆสำหรับคำแนะนำ
  • เปิดเทอมนี้จะเริ่มต้นเลยค่ะเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  วางแผนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  และสร้างเครื่องมือวัดผลประเมินก่อน
  • สร้างรูปแบบการทำงานตามที่อาจารย์แนะนำนะคะ
  • ขอบคุณอาจารย์มากๆที่ช่วยให้ความรู้จุดประกาย..ทำให้มีแนวทางปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมได้มากยิ่งขึ้น

สวัสดีคะอาจารย์

มาเรียนรู้ห้องเรียนคุณภาพนะคะ  อาจารย์สบายดีนะคะ

ขอบคุณมาก คุณก้ามปู

  • ไม่ค่อยสบายนัก เพิ่งเข้า รพ. ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.52   เพิ่งกลับมาพักที่บ้านเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.(นอน รพ. ศิริราช 2 คืน) ตอนนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรแล้ว

 

สวัสดีค่ะ..ท่านอาจารย์ ดร.สุพักตร์

กำลังสนใจเรื่องห้องเรียนคุณภาพอยู่พอดีค่ะ เพราะจริงๆครูเล็กคิดว่า..

ยังมีครูอีกมากที่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

โรงเรียนต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ครูทุกคนทราบอย่างชัดเจนและโดยด่วน

วันที่ 5 ต.ค.52 ที่โรงเรียนจะมีการมาประเมินติดตามเรื่องห้องเรียนคุณภาพ

หลายคนยังหาข้อสรุปไม่ค่อยได้เลยค่ะว่า..ที่เตรียมไว้น๊ะถูกต้องหรือเปล่า

ขอบคุณ..ท่านอาจารย์ที่มาช่วยทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น

จะเข้ามาติดตามอ่านบล๊อกของอาจารย์บ่อยๆค่ะ..เพื่อเสริมความรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพอย่างแท้จริง

...ครูเพียงใจ..โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า..

สวัสดีค่ะอาจารย์ ได้อ่านเรื่องห้องเรียนคุณภาพตามแนวคิดของอาจารย์ดีมากเลยค่ะจะขออนุญาตนำมาปรับใช้กับ กศน.ได้ไหมค่ะ

สวัสดีค่ะ ดร.สุพักตร์

ขอบคุณสำหรับขอเสนอแนะดี ๆ จะลองไปปฏิบัติจริง ๆ ให้เป็นรูปธรรมไม่ทราบว่าจะได้

ผู้ร่วมทีมมากน้อยเพียงใคก็ตามจะพยายามทำค่ะ

  • เอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท