หุ่นฟาง


หุ่นฟาง.."จินตนาการจากท้องทุ่ง" เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ..ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้วัสดุอุปกรณ์จากท้องถิ่นในการทำงานประติมากรรมพื้นฐาน โดยการประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นคือหุ่นฟางของชาวนาไทยที่ทำไว้สำหรับไล่กา เป็นแนวคิดในการจินตนาการของผู้เรียน...
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  10
กลุ่มสาระ ศิลปะ                                        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
หน่วยการเรียนรู้ที่  10 เรื่อง ศิลปะกับภูมิปัญญา  

เรื่อง   หุ่นฟาง จินตนาการจากท้องทุ่ง             เวลา     6   ชั่วโมง
สาระที่  1  :   ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.1 :  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ  และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ 
         วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างาน ทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก    ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ 1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเห็นคุณค่างานมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                    
สาระสำคัญ
   หุ่นฟาง จินตนาการจากท้องทุ่ง เป็นการนำภูมิปัญญาไทย ที่ชาวนาใช้ประโยชน์ในการไล่นก ไม่ให้มากินข้าวในนาข้าวมาผสมผสานกับความคิดจินตนาการประยุกต์ใช้วัสดุท้องถิ่น ให้เป็นงานศิลปะและนำมาเป็นของเล่นได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.   ทำหุ่นจากฟางข้าว ตามจินตนาการได้
2.   บอกวิธีการทำหุ่นฟางได้
3.   ปฏิบัติงานด้วยความสนุกสนาน
สาระการเรียนรู้
- การทำหุ่นฟางลอยตัว
กระบวนการเรียนรู้
1.   ครูสนทนาเกี่ยวกับการนำฟางมาใช้ในการทำหุ่นฟางเล็กนี้เป็นการนำภูมิปัญญาจากชาวนาไทยในการทำหุ่นไล่กาด้วยฟางข้าว ฟางข้าวเป็นวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น หาได้ง่าย และใช้ทำงานศิลปะและทำเป็นของเล่นได้ตามจินตนาการ   ครูสาธิตการทำหุ่นฟางให้ดู
2.   แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม  ให้แต่ละกลุ่มทำหุ่นฟางเล็ก ตามขั้นตอน ดังนี้
วัสดุอุปกรณ์      

1.  ฟางข้าว       
2.  ตะเกียบไม้
3.  ลวดขนาดเล็ก         
4.  ด้ายเย็บผ้า และเข็มเย็บผ้า กรรไกร
5.  เศษผ้า
วิธีทำ      

1.  ทำโครงหุ่นด้วยตะเกียบไม้ มัดด้วยลวดเป็นรูป กากบาท
2.  นำมาฟางมามัดประกอบเป็นตัวหุ่นฟางตามจินตนาการ
3.  นำด้วยเย็บผ้าพันทับฟางเพื่อให้ฟางไม่ฟุ้งเป็นเส้นออกมาและให้หุ่นฟางแน่นหนายิ่งขึ้น

4.  ตกแต่งด้วยเศษผ้า เย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มของหุ่นให้สวยงามให้นักเรียนปั้นรูปลอยตัวแล้วบันทึกลงใบงานที่  2 การทำหุ่นฟางเล็ก
- ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการทำกิจกรรม

กระบวนการวัดผลประเมินผล
1.   สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2.   สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
3.   การนำเสนอผลงาน
4.   การตรวจผลงาน
เครื่องมือ
1.   แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
2.   แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  
3.   แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
4.   แบบประเมินการตรวจผลงาน
เกณฑ์การประเมิน
1.   สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล  ผ่านเกณฑ์ร้อยละ  80
2.   สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ  80
3.   การนำเสนอผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ  80
4.   การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1.   ใบงานที่  1
2.   ใบความรู้
3.   ตัวอย่างหุ่นฟาง

เด็กสัมผัสผลงานที่พวกพี่ทำ...เป็นการสืบสานภูมิปัญญาไทยอีกรูปแบบหนึ่งที่เด็กๆซึมซับผ่านโดยไม่รู้ตัว..

หมายเลขบันทึก: 260349เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

  • หวัดดียามดึกจ้ะน้องอ้อย
  • ขโมยหุ่นไล่กาของครูวัชมาฝากน้องอ้อยจ้ะ 
  • พอ ๆ กะหุ่นฟางไหม

 

  • น่าสนุกจังนะคะ อิจฉาแทนเด็กๆเลยค่ะ
  • รับสมัครนักเรียนเพิ่มไหมคะ อิอิโรงเรียนนี้น่าเรียนจัง ชอบภาคปฏิบัติน่ะค่ะ
  • สำหรับคุณครูค่ะ
  • ปล.ชื่อหวานจัง ..ชอบค่ะ

ผมชอบงานสร้างสรรค์แบบนี้มากครับ

ผมชอบไปดูเทศกาลงานหุ่นฟางที่ชัยนาทครับ

สวัสดี ตอนใกล้รุ่งครับ คุณ อ้อยเพื่อนรัก

  • ผมแวะมาเยี่ยม มาทักทาย มาขอบคุณ
  • สำหรับมิตรภาพที่คุณอ้อยมอบให้ตลอดมา
  • มาชมหุ่นฟางที่สร้างสรรค์
  • เป็นประโยชน์ที่สุดกับทุกๆท่านที่เข้ามาชม
  • ขอให้มีความสุขตลอดไปนะครับ

ดี มาก ๆ ขอชื่นชม นึถึงตอนที่นักเรียนกำลังทำ คงสนุกกันน่าดูเลย

หุ่นฟางกับมหกรรมชุมนุมลูกเสือเทศบาลเทิดไท้องค์ราชัน ค่ายลูกเสือกำแพงแสน นครปฐม

  • เข้ามาชื่นชมการทำหุ่นจากฟางข้าวของนักเรียนอีกค่ะ  นักเรียนเก่งมากสามารถทำหุ่นฟางตามจินตนาการของตนเองได้
  • นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและบอกวิธีการทำหุ่นฟางได้
  • สุดท้ายนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานด้วยความสนุกสนาน
  • ขอบพระคุณ สำหรับไอเดียแปลกใหม่ทางการสอน ที่น่าสนใจ
  • จากการดึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาให้นักเรียนได้เรียนรู้

ขอบคุณค่ะลีลาวดีแสนสวย...ที่มาเยี่ยมชมให้กำลังใจกันค่ะ...

สวัสดีค่ะครูอ้อยเล็ก

ขอบคุณนะคะ...มีเสียงหวานๆ...ประกอบด้วย....

ขอบคุณค่ะพี่แดงที่มาเยี่ยมกันค่ะ...

เป็นแผนการสอนที่ดีอีกแผนหนึ่งเลยนะครับ

เด็กได้ลงมือกระทำ..ครูไม่ต้องเหนื่อยมาก

และที่สำคัญ.ผู้เรียนมีความภูมิใจในผลงานของตัวเอง

...  ผู้เรียนเป็นสำคัญ.. บทสรุปที่ไม่ต้องบรรยาย..

ขอบคุณท่านผอ.รองหนานมากค่ะ..ผลเกิดแก่เด็กเราก็ปลื้มใจค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท