หลักสูตรแกนกลางของประเทศ : เครื่องมือพัฒนาคุณภาพเด็กไทย


การเปลี่ยนแปลงการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

 

หลักสูตรแกนกลางของประเทศ : เครื่องมือพัฒนาคุณภาพเด็กไทย

 

    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑  เป็นหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ ฉบับล่าสุด หลังจากการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้มาจนถึงปัจจุบันนับระยะเวลา ๙ ปี 

    

ทำไมต้องเปลี่ยนหลักสูตรอีกจาก หลักสูตรฯ ๔๔ เป็นหลักสูตรฯ ๕๑   

หลักสูตรฯ  ๔๔ เป็นอย่างไร

หลักสูตรฯ  ๔๔ บกพร่องอย่างไรหรือ ถึงต้องเปลี่ยนอีก

มีคำตอบค่ะ..                                          

                              

จากการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔  ที่กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา  มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก    การจัดสาระการเรียนรู้ ระดับช่วงชั้นที่ ๑-๒ คือระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต  กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม  พื้นฐานความเป็นมนุษย์ ทักษะพื้นฐาน การอ่าน  เขียน  การคิดคำนวณ  การคิดวิเคราะห์  การติดต่อสื่อสาร  ระดับช่วงชั้นที่ ๓ คือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  ได้แก่ สำรวจ ความสามารถ ความถนัด  ความสนใจ   พัฒนาบุคลิกส่วนตน  ทักษะพื้นฐาน ด้านการเรียนรู้ทักษะการดำเนินชีวิต  ระดับช่วงชั้นที่ ๔  คือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖   ได้แก่ เพิ่มพูนความรู้  และทักษะเฉพาะด้าน ความรู้ ความสามารถ ทักษะในวิทยาการและเทคโนโลยี  มีการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ที่เน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษา  เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของตนเอง

 

ผลจากการวิจัยและติดตามการใช้หลักสูตรฯ ๔๔  พบว่ามีทั้งจุดดี   จุดด้อย  ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มากมายหลายประการ    ผู้เขียนขอสรุปนำเสนอบอกเล่าให้เพื่อนๆ ที่สนใจได้รับทราบ  จากการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เรียกย่อ สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ  ,จากประสบการณ์การนิเทศการใช้หลักสูตรของสถานศึกษาที่มีโอกาสได้สัมผัสตลอดมา รวมทั้งการฟังการบรรยายสรุปของผู้รับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางของประเทศ ได้แก่ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (เรียกย่อ สวก.) หน่วยงานใน สพฐ.  พบดังนี้

 

จุดดี  ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔

ช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษาได้จริง 

ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรจริง

           ..จากหลักสูตรแกนกลาง สู่ หลักสูตรสถานศึกษา

           ..จากชาติ  สู่ ท้องถิ่น 

มีแนวคิดและหลักการในการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมอย่างชัดเจน

พัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ

มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก มีภาวะผู้นำ

นักเรียนมีความสนุกในการเรียน รักโรงเรียนมากขึ้น

ครูตื่นตัวในการพัฒนาตนเอง พัฒนาการเรียนการสอน

มีการใช้สื่อ แหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

 

จุดด้อยและประเด็นปัญหา ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔

ปัญหาการขาดความชัดเจนและความสับสนของผู้ปฏิบัติระดับสถานศึกษาในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  ได้แก่  ไม่มีการกำหนดสาระแกนกลาง สาระเพิ่มเติมและสาระท้องถิ่นไว้ชัดเจน

ปัญหาหลักสูตรแน่น  ได้แก่ กำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้มาก

เอกสารประกอบหลักสูตรมีความสับสน ไม่ชัดเจน

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ที่ไม่สะท้อนมาตรฐาน ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาคือ

ปัญหาการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษา

ปัญหาการเทียบโอนผลการเรียน

ปัญหาคุณภาพผู้เรียนในด้านความรู้  ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

โรงเรียนขนาดเล็กห่างไกล ไม่มีความพร้อมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

ครูขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  เทคนิคการสอนแบบใหม่ๆ  การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

ครูมีภาระงานอื่นมาก  ขาดแคลนครู  สอนไม่ตรงวุฒิ

ขาดสื่อสำหรับการศึกษาค้นคว้า  สื่อที่เน้นกระบวนการคิด  ราคาแพง

ขาดงบประมาณ  อุปกรณ์การเรียนรู้

ผลการประเมิน สมศ. พบว่า ผู้เรียนมีคุณภาพในระดับที่ควรปรับปรุงในเรื่องการมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (NT) ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ

..เป็นความเหลื่อมล้ำทางความรู้ที่ปรากฏชัดเจน..

 

 

จากปัญหาที่พบดังกล่าวจึงทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลง

การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ของประเทศไทย

จาก..

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๔๔ 

..เป็น..

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑

กำลังเริ่มใช้ในโรงเรียนนำร่อง ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ ค่ะ

 

 

   

แหล่งที่มาของข้อมูล

๑.เอกสารกรอบแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑

   สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒.สื่อประกอบการบรรยาย (power point) การอบรมวิทยากรแกนนำการใช้หลักสูตรแกนกลาง

   การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑

 

บอกกล่าวเล่าขาน..เรื่องหลักสูตรฯ ตอนที่ ๑

  วัชราภรณ์ วัตรสุข

  ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒

หมายเลขบันทึก: 262009เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 04:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เดี๋ยวนี้ เด็กไทย แม้เด็กเก่ง โรงเรียนดัง

อ่านคำควบกล้ำไม่ได้เลยครับ

ช่วยๆ กันเป็นห่วงหน่อยนะครับ

จากคนที่ไม่ค่อยเป็นห่วง^^

ตัวหลักสูตรเป็นเพียงเครื่องมือ แต่สิ่งที่ควรยึดถือ(มั่น) คือจิตสำนึกความเป็นครู ที่จะถ่ายทดองค์ความรู้อย่างถูกวิธีและควรจะเป็น ปัญหาที่พบในพื้นที่ คือ การที่เด็กได้รับการถ่ายทอดที่ไม่ถูกต้อง สิ่งที่ป้อนให้เด็กไปเหมือนยาร้ายที่หมายจะปองความรู้เด็กทุกเวลา อันนี้น่าเป็นห่วงครับ...เป็นกำลังใจให้ครูทุกคนครับ

ด้วยความระลึกถึงครับพี่อ้วน (ศน.ที่เคารพ)

ตามมาอ่านหลักสูตรก่อนนะครับ

  • สวัสดีเจ๊า ศน.อ้วน
  • ขอบคุณข้อมูลเกี่ยวการการใช้หลักสูตร
  • ยิ้นดีจ๊าดนักเจ๊าสำหรับหนังสือธรรม ตี้กรุณาฝากมาอ่าน
  • ขอฮื้อ ศน.อ้วนมีความสุข เจริญ ๆๆ น่าฮักจะอี้ตลอดไปเน้อเจ๊า

สวัสดีอาจารย์สามารถค่ะ..

วานนี้ก็กำลังคุยกันค่ะ..เรื่องปัญหาภาษาไทย

มีหลายปัญหาอยู่ค่ะ

ก็เป็นห่วงตลอดค่ะ..และก็หาทางแก้ไข+ลงมือแก้ไขตลอดเช่นกันค่ะ

ขอบคุณคนไม่ห่วง..แต่เป็นห่วงมากค่ะ

สวัสดีน้องฟูอ๊าดค่ะ

พี่อ้วนดีใจค่ะที่มาเยี่ยม

เห็นด้วยกับน้องฟูอ๊าดทุกประเด็นค่ะ

  • ตัวหลักสูตรเป็นเพียงเครื่องมือ
  • แต่สิ่งที่ควรยึดถือ(มั่น) คือจิตสำนึกความเป็นครู ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างถูกวิธีและควรจะเป็น
  • ปัญหาที่พบในพื้นที่ คือ การที่เด็กได้รับการถ่ายทอดที่ไม่ถูกต้อง สิ่งที่ป้อนให้เด็กไปเหมือนยาร้ายที่หมายจะปองความรู้เด็กทุกเวลา อันนี้น่าเป็นห่วงครับ...เป็นกำลังใจให้ครูทุกคนครับ

พี่อ้วนก็พยายามอย่างมากโดยตลอดมาค่ะ

ทุกหนทางที่จะพัฒนา "คุณภาพการศึกษา" ของบ้านเมือง (ในส่วนที่รับผิดชอบ)

แต่ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมีหลากหลายมาก  ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ตั้งแต่ระดับบนลงถึงรากหญ้า

พี่อ้วนต้องพยายามตัดปัญหาเล็กๆออกบ้าง

หากไม่เช่นนั้น...พาเครียดและทำงานไม่ได้เลยเชียวค่ะ

ขอบคุณน้องชายค่ะ

สวัสดีเจ้า..อาจารย์ขจิต

ตอนนี้อยู่ส่วนไหนของประเทศคะ..คนเก่ง

ยังตามมาอ่านเรื่องราวของพี่อ้วนได้อยู่

อิอิ..

ขอบคุณมากค่ะ..

ฝนหนักมากช่วงนี้..ไปไหนมาไหนระวังนะคะ

ทำงานให้มีความสุขค่ะ

..พี่อ้วนค่ะ..

ปี้เอื้องเจ้า...

ดีใจ๋ๆๆๆๆๆ..เจ้า

สำหรับตะวานี้..กึ๊ดบ่ถึงเจ้าว่าเฮาจะได้ปะกั๋น

เป๋นโจคดีของชีวิตนะเจ้า..

เสียดายเฮาปะกั๋นหน้อย..เอาไว้โอกาสหน้านะเจ้า

น้องจะปาปี้เอื้องไปกิ๋นหอมต๋อมม่วนตวยกั๋น..เจ้า

สวัสดีค่ะ

  • จุดด้อยมีมากกว่าจุดเด่น..เห็นด้วยจริง ๆค่ะ
  • และข้อสุดท้าย..นึกทีไรก็ไม่อยากเป็นครูเลยค่ะ
  • เพราะเราต่อสู้กับบริบทของโรงเรียน ของเด็กไม่ไหว
  • แต่ด้านอื่น ๆ ไม่กลัวค่ะ

สวัสดียามเช้าค่ะ..พี่คิม

พี่คิมน่ารักจังค่ะ ..ขยันจริง

น้องก็เห็นด้วยกับพี่คิมค่ะ

เกือบอาทิตย์ที่ผ่านมา น้องก็ได้ร่วมนำผลการประเมินทั้งหมดค่ะ NT โอเน็ต  LAS (ป.๒ ป.๕ ม.๒ ม.๕)  มาวางแผนแก้ปัญหาระดับเขตพื้นที่ค่ะ

สู้ๆๆๆ..นะคะ ..คุณครูไทยหัวใจนักสู้

เป็นหนึ่งกำลังใจแด่พี่คิมค่ะ

 

อยากทราบข้อเสียของหลักสูตรแกนก.ลางการศึกษา พ.ศ 2551 ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท