ความเหลื่อมล้ำทางความรู้การควบคุมโรค ประสบการณ์การดูแลคนไข้โรคซาร์ในประเทศไทย


20-5-52

ดิฉันมีโอกาศได้ดูแลคนไข้โรคซาร์รายแรกและรายเดียวของประเทศไทยและขอเล่าเพื่อให้เห็นความเหลื่อมล้ำของความรู้ค่ะ

ในวันที่11มีค.46   ดิฉันกลับจากคลินิคส่วนตัว   ในขณะที่ทานข้าวเย็นก็ได้รับการติดต่อจากผู้ทรงคุณวุฒิกรมว่าจะส่งคนไข้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของWHOจากฮานอยที่ไปดูแลการเกิดการระบาดของโรคปอดบวมโดยไม้รู้สาเหตุและเกิดมีอาการไข้ขณะที่จะมาประชุมที่เมืองไทย    ไม่แน่ใจว่าเป็นไข้หวัดนกหรือไม่

ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องโรคซาร์แต่ทางเรามีการเตรียมการดูแลโรคระบาดโดยเชิญอาจารย์มาสอนประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนเนื่องจากมีการรบระหว่างอิรัคและอเมริกาทำให้ต้องเตรียมการถ้ามีการใช้อาวุธชีวภาพและเกิดโรคระบาด

ในเช้าวันที่11มีค.เราก็มีการเตรียมแผนและเตรียมคนรับผิดชอบแล้ว      ปัญหาคือเราไม่มีห้องแยกที่เป็นNegative pressure เพราะยังนึกไม่ถึงปัญหาและกำลังเตรียมการเมื่อมีข่าวถึงการใช้อาวุธชีวภาพ

หลังจากได้คิดพิจารณาแล้วดิฉันจึงส่งเจ้าหน้าที่รับตัวผู้ป่วยมาจากสนามบิน    ส่วนห้องแยกเราปรับจากห้องพิเศษโดยติดพัดลมดูดอากาศ    ส่วนเจ้าหน้าที่ก็ผลัดกันเข้าไปดูแลโดยแต่งตัวป้องกันเต็มที่   หลังจากผ่านไป2-3วันเราปรับห้องให้มีห้องแยกให้มีAnte room    และให้เจ้าหน้าที่ดูแลโดยผ่านห้องกระจก   มีโทรศัพท์ติดต่อระหว่างเรากับผู้ป่วย

ในระหว่างการดูแลเรามีแพทย์จากCDC  คือ Dr  Scott Dowel ซึ่งเคยดูแลโรคระบาดที่อันตราย    และDr  Mite  ซึ่งเป็นแพทย์ทางโรคติดเชื้อมาช่วยกันดูแลและพิจารณาการให้ยาร่วมกับแพทย์ทางบำราศและแพทย์จากสถาบันโรคทรวงอก

ทีมแพทย์บำราศประกอบด้วยแพทย์ทางอายุรกรรม   แพทย์ดมยามาช่วยในการใส่ท่อหายใจเมื่อจำเป็น

แพทย์จากโรงพยาบาลโรคทรวงอกและพยาบาลโรคทรวงอกมาช่วยในช่วงมีปัญหาในการหายใจและการใช้เครื่องมือ

ทุกวันเวลาประมาณบ่าย4โมงจะมีโทรศัพท์ติดต่อระหว่างแพทย์ไทยและแพทย์ที่เวียตนามบ้าง   แพทย์ที่ฮ่องกงบ้างในการเล่าลักษณะอาการของผู้ป่วยเพราะขณะนั้นยังไม่ทราบว่าเกิดจากเชื้ออะไร

เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต   Dr  Scott  เป็นคนเก็บวัสดุและสิ่งส่งตรวจเพื่อนำไปหาเชื้อ    น้ำจากสิ่งส่งตรวจของคนไข้เราสามารถนำไปตรวจเชื้อที่ต่างประเทศทำให้เรารู้จักไวรัสSARS    ซึ่งมีการระบาดไปทั่งโลก

ประเทศไทยสามารถรอดจากการระบาดครั้งนั้นไปได้เกิดจากองค์ความรู้ของผู้ป่วยเองที่เป็นแพทย์ที่พยายามใส่mask เมื่อพยาบาลเข้าไปดูแล    ข้อมูลและระบบไอทีทำให้เราสามารถติดต่อแบ่งปันความรู้กับต่างประเทศ    คนของประเทศสหรัฐที่มาช่วยเราในการดูแล    ประสบการณ์ของการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เรานำUP มาใช้จนเป็นวัฒนธรรมของการดูแลผู้ป่วยทำให้แพทย์และพยาบาลเราปรับมาใช้ในการดูแลโรคระบาดซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ     รวมทั้งความร่วมมือจากโรงพยาบาลโรคทรวงอกให้ยืมเครื่องช่วยหายใจ     ความรวดเร็วของการให้ความรู้แก่บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนและการประสานงานกันระดับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร     

 

 หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล

                                                      คุณไพเราะและคุณศุภลักษณ์ไปรับผู้ป่วย

 

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงข่าวทั้งๆที่เรายังไม่อยากให้ใครทราบเพราะยังไม่ทราบผู้ป่วยเป็นโรคอะไร 

 

 

 

   

 

การแต่งตัวในช่วงที่ยังไม่มีความรู้โรคซาร์

 

 คณะแพทย์จากสถาบันบำราศนราดูร

 

 

 

พยาบาลติดตามอาการทางโทรศัพท์

 ดิฉันและหมอสมสิทธิ์ติดตามอาการโดยดูแฟ้มข้อมูล

 

 ท่านปลัดสั่งให้ดิฉันเตรียมทีมอบรมบุคลากรทั่วประเทศเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตโดยความรู้ขณะนั้นได้มาจากการประชุมที่กรมและwebของWHO

รายงานที่เราเสนอผลจากการดูแลผู้ป่วยโรคซาร์และไม่มีใครติดเชื้อเลยจากการเจาะเลือดเจ้าหน้าที่

ประสิทธิภาพการใช้มาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคปอ

ดอักเสบเฉียบพลันรุนแรง

(SARS) สู่บุคลากร; ประสบการณ์จากการดูแลผู้ป่วย SARS รายแรก สถาบันบำราศนราดูร

ประเทศไทย

อัจฉรา เชาวะวณิช, จุไร วงศ์สวัสด์ิ, Scott F Dowell, เยาวรัตน์ อินทอง, จริยา แสงสัจจา, นาฏพธู สงวนวงศ์,

Michael T Martin, ครรชิต ลิมปกาญจนรัตน์, ศิริรัตน์ ลิกานนท์สกุล, สุนทรียา ไวเจริญ, มาลินี จิตตกานต์พิชย์,

ปราณี ธวัชสุภา, วัฒนา อู่วาณิชย์, ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ, Bjorn Melgaard

ความเป็นมาของปัญหา : ในวันที่ 11 มีนาคม 2546 สถาบันบำราศนราดูรได้รับดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นแพทย์

จากองค์การอนามัยโลกผู้ที่เข้าไปสอบสวนการระบาดของโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันรุนแรง (SARS)

ในประเทศเวียตนาม และต่อมามีอาการไข้เกิดขึ้น จึงเข้าพักรักษาตัวที่สถาบันด้วยอาการไข้ สิ่งส่งตรวจจาก

น้ำล้างโพรงจมูก จากผู้ป่วยรายนี้ เป็นสิ่งส่งตรวจสำคัญที่พบเชื้อ โคโรนาไวรัส สายพันธ์ใหม่ ที่เป็นสาเหตุของโรคนี้

โดยการตรวจด้วยวิธีเพาะเชื้อ การตรวจวินิจฉัยสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส และการเพิ่มขึ้นของปริมาณ

แอนตีบอดีจำเพาะต่อเชื้อ SARS เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงแรกของการระบาดของโรค จึงยังไม่ทราบมาตรการ

การป้องกันการติดเชื้อที่เหมาะสม ทางสถาบันได้ใช้มาตรการควบคุมการแพร่เชื้อทั้งการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ สิ่งคัดหลั่ง และการสัมผัส การศึกษานี้มุ่งหวังเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของมาตรการดังกล่าว

 

1186 J Med Assoc Thai Vol. 87 No.10 2004

 

 

Early Containment of Severe Acute Respiratory

Syndrome (SARS); Experience from Bamrasnaradura

Institute, Thailand

Achara Chaovavanich MD*, Jurai Wongsawat MD*, Scott F Dowell MD, MPH**,

Yaowarat Inthong RN*, Chariya Sangsajja MD*, Natpatou Sanguanwongse MD*,

Michael T Martin MD, MPH***, Khanchit Limpakarnjanarat MD, MPH**, Sirirat Likanonsakul MSc*,

Sunthreeya Waicharoen MSc****, Malinee Chittaganpitch MSc****, Pranee Thawatsupha BSc****,

Wattana Auwanit PhD****, Pathom Sawanpanyalert MD, DrPH****, Bjorn Melgaard MD*****

* Bamrasnaradura Institute, Ministry of Public Health (MOPH), Thailand

** International Emerging Infections Program, Thai MOPH - US CDC Collaboration, Thailand

*** HIV/AIDS Program, Thai MOPH - US CDC Collaboration, Thailand

**** National Institute of Health, Ministry of Public Health (MOPH), Thailand

***** World Health Organization, Representative to Thailand, Thailand

Background : On March 11, 2003, a World Health Organization (WHO) physician was admitted to

Bamrasnaradura Institute, after alerting the world to the dangers of severe acute respiratory syndrome

(SARS) in Vietnam and developing a fever himself. Specimens from the first day of his admission were among

the first to demonstrate the novel coronavirus, by culture, reverse transcription-polymerase chain reaction

(RT-PCR), and rising of specific antibody, but proper protective measures remained unknown. The authors

instituted airborne, droplet and contact precautions from the time of admission, and reviewed the efficacy of

these measures.

Material and Method : A specific unit was set up to care for the physician, beginning by roping off an

isolated room and using a window fan to create negative pressure, and later by constructing a glass-walled

antechamber, designated changing and decontamination areas, and adding high-efficiency particulate air

(HEPA)filters. The use of personal protective equipment (PPE) was consistently enforced by nurse managers

for all the staff and visitors, including a minimum of N95 respirators, goggles or face shields, double gowns,

double gloves, full head and shoe covering, and full Powered Air Purifying Respirator (PAPR) for intubation.

To assess the adherence to PPE and the possibility of transmission to exposed staff, a structured questionnaire

was administered and serum samples tested for SARS coronavirus by enzyme-linked immunosorbent

assay (ELISA). Exposure was defined as presence on the SARS ward or contact with laboratory specimens,

and close contact was presence in the patient’s room.

Results : The WHO physician died from respiratory failure on day 19. 112 of 129 exposed staff completed

questionnaires, and the 70 who entered the patient’s room reported a mean of 42 minutes of exposure (range

6 minutes-23.5 hours). 100% reported consistent handwashing after exposure, 95% consistently used a fittested

N95 or greater respirator, and 80% were fully compliant with strict institutional PPE protocol. No

staff developed an illness consistent with SARS. Serum samples from 35 close contacts obtained after day 28

had a negative result for SARS coronavirus antibody.

Conclusions : Hospitalization of one of the earliest SARS patients with documented coronavirus shedding

provided multiple opportunities for spread to the hospital staff, but strict enforcement of conservative infection

control recommendations throughout the hospitalization was associated with no transmission.

Keywords : SARS, Thailand, Infection control

J Med Assoc Thai 2004; 87(10): 1182-7

e-Journal: http://www.medassocthai.org/journal

Correspondence to : Wongsawat J, Bamrasnaradura Institute, Tiwanon Road, Nonthaburi 11000, Thailand. Phone: 0-2951-

1170, 0-2590-3547, Fax: 0-2590-3411, E-mail: [email protected], [email protected]

 

1182 J Med Assoc Thai Vol. 87 No.10 2004

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 262323เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เพราะอานิสงน์ที่คุณหมอและทีมได้ดูแลคุณหมอคาร์โล ทำให้บำราศฯสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยที่สงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาคะ

ขอบคุณหนูแมวที่มาเยี่ยมกัน

ให้น้องๆคนอื่นเขียนบ้างก็ดีนะหมอจะได้ทราบข่าวบำราศบ้าง

สวัสดีครับ อาจารย์หมอ

เคยแวะมาเยี่ยมบันทึกนี้นานแล้ว แต่ไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ เพราะไม่มีความรู้เพียงพอ

ช่วงนี้เห็นข่าวเรื่องไข้หวัด H1N1 แล้วตกใจมากๆ

วันเดียวมีคนติดเชื้อหลายสิบราย  คิดว่าหากช่วงนี้คุมไม่อยู่คงจะยุ่งมาก และน่ากลัวมากๆ ทีเดียว

เห็นข่าวเมื่อวานนี้แล้ว มีแพทย์และพยาบาลติดเชื้อแล้วก็น่าเป็นห่วง

เลยนึกถึงบันทึกเรื่องซาร์ของอาจารย์ครับ

ไม่ทราบว่าประสบการณ์เรื่องโรคซาร์ที่ผ่านมาของอาจารย์จะพอนำมาประมวลให้เป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อการรับมือโรคหวัด H1N1 ในครั้งนี้ได้หรือไม่ครับ โดยอาจมีทั้งคำแนะนำต่อบุคคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะ ส่วนคนทั่วไปก็เห็นมีประชาสัมพันธ์อยู่แล้ว แต่ถ้าจะมีเพิ่มเติมก็จะเป็นประโยชน์มากเลยครับ

สวัสดีค่ะคุณซวง

เข้าใจว่าตำแนะนำคงมีทั้งคนธรรมดาและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์แล้วค่ะ เนื่องจากหมอเกษียณแล้วเลยไม่ทราบรายละเอียดบางเรื่องทำให้ไม่อยากเขียนเพราะเป็นวิชาการและนักวิชาการในgotoknow คงไม่มากค่ะ

ประสบการณ์ของคนที่ติดเชื้อในโรคSARS พบว่าเชื้อที่เพาะได้ในประเทศที่มีห้องแยกมากๆ บุคลากรยังติดเชื้อเช่นใต้หวันพบเชื้อมากในโทรศัพท์ ลูกบิดประตู ลิฟท์ ซึ่งเกิดจากการเอามือไปจับร่วมกันหลายๆคน แสดงว่าถึงมีห้องแยกและคนใส่ถุงมือ แต่ถ้าไม่ระวังในการทำความสะอาดสิ่งเหล่านี้และล้างมือบ่อยๆก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยก็ทำให้ติดเชื้อได้ค่ะ

คำแนะนำคือควบคุมคนที่สงสัยว่าติดเชื้อไม่ให้แพร่เชื้อโดยใส่ผ้าปิดจมูก ปาก ล้างมือบ่อยๆ ไม่ให้ไปสัมผัสกับใครจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ ส่วนคนไม่ป่วยก็หมั่นล้างมือเมื่อไปสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่อาจมีเชื้อโรคเช่นราวบันได ลิฟท์ โต๊ะ โทรศัพทื และทำความสะอาดของใช้พวกนี้บ่อยๆค่ะ

คนชอบขยี้ตาและแคะขี้มูกโดยไม่รู้ตัว (ลองสังเกตุตัวเองและนับดูว่าวันละกี่ครั้ง ) ถ้าไม่ใส่ผ้าปิดจมูก ปาก จะทำให้ติดง่ายขึ้นเช่นโทรศัพท์เสร็จคันตาก็ขยี้ตาโดยลืมล้างมือ เวลาคนไอจามเชื้อจะแพร่ไปประมาณ3ฟุต เราพยายามอย่าไปใกล้คนเป็นหวัดค่ะเพราะเชื้อจะอยู่ที่มือผู้ป่วย โต๊ะใกล้ๆที่จามใส่หรือเผลอไปสัมผัสเสื้อผ้าผู้ป่วยที่เช็ดขี้มูกโดยไม่รู้ตัว

ขอแนะนำสั้นๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท