การฝึกงาน ภาค 1


บันทึกนี้เขียนขึ้นมาเพื่อเป็นการถามและตอบคำถามที่เกิดขึ้นในใจตัวเอง จากการเป็นพี่เลี้ยงของนักศึกษาฝึกงาน...แล้วมันเป็นอะไรหรือที่ดีจนทำให้เราต้องมานั่งเขียน(ไม่ใช่ตัวเราเป็นนักศึกษาฝึกงานซะหน่อย) ก็แหมนี่เป็นครั้งแรกที่ได้เป็นพี่เลี้ยงนิ สำหรับท่านอื่นๆที่เคยเป็นพี่เลี้ยงมาแล้วคงจะเฉยๆแต่สำหรับผมแล้วนั้นนี่ก็ถือเป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่น่าจดจำ

        บันทึกนี้เขียนขึ้นมาเพื่อเป็นการถามและตอบคำถามที่เกิดขึ้นในใจตัวเอง จากการเป็นพี่เลี้ยงของนักศึกษาฝึกงาน...แล้วมันเป็นอะไรหรือที่ดีจนทำให้เราต้องมานั่งเขียน(ไม่ใช่ตัวเราเป็นนักศึกษาฝึกงานซะหน่อย) ก็แหมนี่เป็นครั้งแรกที่ได้เป็นพี่เลี้ยงนิ สำหรับท่านอื่นๆที่เคยเป็นพี่เลี้ยงมาแล้วคงจะเฉยๆแต่สำหรับผมแล้วนั้นนี่ก็ถือเป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่น่าจดจำ (จริงจะเขียนเรื่องความสำคัญผิด) 

       นักศึกษาฝึกงานกลุ่มแรกที่ได้มาอยู่ในการดูแลของผมนั่นก็คือนักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในสาขาพัฒนาชุมชน ซึ่งก็มากันทั้งหมด 6 คนด้วยกันแต่ที่มาอยู่ในฝ่ายสิทธิสถานะบุคคลของมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขานั้น มี 2 คน คือน้องโพ กับ น้องเจน ซึ่งครั้งแรกที่เจอนั้นคำถามที่ผมตั้งต่อน้องๆคือ มาฝึกงานในฝ่ายนี้อยากได้อะไรกลับไป? ซึ่งน้องๆก็ยังตอบได้อยู่ คืออยากได้เรียนรู้การทำงานเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน อืมมม เป็นคำตอบที่กว้างมากเลย แล้วเราจะทำยังไงละที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ผมเลยตั้งคำถามไปว่าอยู่ฝ่ายนี้มันจะต้องลงพื้นที่และงานหนักนะ ไม่ได้เที่ยว และพี่เลี้ยงก็ดุนะ(ตรงไหนหว่า) จะไหวไหม?

       หลังจากนั้นก็ประเดิมงานให้น้องก็คือการค้นเอกสารมาจัดทำฐานข้อมูลในส่วนของอำเภอแม่ฟ้าหลวงและอำเภอเชียงของ โดยจัดเอาข้อมูลจากกระดาษลงในคอมพิวเตอร์ และก็พาน้องเจนไปเข้าร่วมประชุมที่รัฐสภา พร้อมทั้งลงเก็บข้อมูลที่ บ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการทำงานโดยสอนให้รู้ถึงการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อนำมาวิเคราะห์ และหาข้อกฎหมายมาจับเพื่อดำเนินการช่วยเหลือชาวบ้าน ซึ่งน้องทั้งสองคนก็สามารถทำได้และแสดงศักดิ์ภาพออกมาจนผมเองเห็นก็ทึ่งเหมือนกันว่าพวกเขามีความตั้งใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะน้องโพที่ตั้งใจที่จะเรียนรู้และรับประสบการณ์ที่จะได้รับไปเป็นอันมาก(ชื่นชมจากใจจริง)

      จากนั้นไม่นานเป้าหมายการทำงานต่อไปก็คือในพื้นที่อำเภอเชียงของ อำเภอที่ติดแม่น้ำโขง ที่มีความสวยงามของลำน้ำโขงเป็นอันมาก (ขนาดตัวผมยังหลงรักเลย) ซึ่งที่นี่เป็นการปล่อยให้นักศึกษาฝึกงานทั้งสองคนได้พัฒนาความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริงและเก็บข้อมูล ของชาวบ้านผู้ประสบปัญหา และตัวผมได้ปล่อยให้น้องทั้งสองคนได้ใช้วิธีที่ได้เรียนมาในการเก็บข้อมูล ซึ่งผลที่ได้รับนั่นก็คือ น้องนักศึกษาสามารถดำเนินการเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้องและข้อมูลที่ได้มาก็ค่อนข้างครบ ถือได้ว่าน้องทั้งสองคนก็ผ่านในส่วนการแสวงหาข้อเท็จจริงและเก็บข้อมูล

     ขั้นตอนต่อมาที่ผมจะได้สอนก็คือการเรียนรู้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิและสถานะบุคคล โดยทั้งนี้ก็มีกฎหมายอยู่ 2 ตัวที่ผมสอนให้ในเบื่องต้นคือ 1. กฎหมายการทะเบียนราษฎรและ 2. กฎหมายสัญชาติ การนี้เนื่องจากมาปัจจัยหลายอย่างทำให้ไม่สามารถสอนได้ครบในรอบแรก จึงต้องเก็บไว้เพื่อหาโอกาศที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ น้องนักศึกษาฝึกงานทั้งสอง และก็ถึงเวลาที่จะต้องพาน้องนักศึกษาฝึกงานไปเข้าร่วมประชุมกับกรมการปกครองที่เชียงใหม่ แม้จะกลัวว่าจะเกิดข้อผิดพลาดแต่น้องๆทั้ง2 คนก็ทำหน้าที่นักศึกษาฝึกงานได้อย่างดีเลยที่เดียว(งานนี้ไม่ค่อยได้เข้าร่วมเพราะ เกิดอาการท้องเสียกระทันหัน)

และแล้วก็ถึงเวลาที่จะมีสมาชิกเพิ่มอีกคน...!!!

หมายเลขบันทึก: 263010เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2009 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อย่าลืมทำวิทยานิพนธ์ล่ะ

ความรับผิดชอบมากขึ้นแล้ว

ต้องทำงานหนักหน่อยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท