นักศึกษาแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีและนักศึกษากายภาพบำบัดศึกษาดูงานที่ foot clinic ในรพ.สงฆ์


การที่เราจะเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีปัญหาที่เท้านั้น เราต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนในผูป่วยเบาหวานและ Biomechanics ของ foot

29/04/52
 
 วันนี้พวกเรานักศึกษาแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีและนักศึกษากายภาพบำบัดได้มีโอกาสมาศึกษาดูงานที่  foot clinic ในรพ.สงฆ์ ซึ่งงานหลักก็คือการดูแลเกี่ยวกับเท้าซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่คือผู้ป่วยเบาหวาน  หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานมีความสำคัญมากถึงขนาดต้องจัดเป็นคลินิกเลยหรือไม่ ซึ่งจริงๆแล้วการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานสำคัญมากโดยมีถึงร้อยละ 5% ที่จะต้องทนทุกข์ทรมานด้วยโรคเบาหวานที่มีปัญหาที่เท้า และหลายๆคนในนั้นต้องลงท้ายด้วยการถูกตัดเท้า ซึ่งเรื่องเหล่านี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ถ้ามีการดูแลเท้าที่ดี
                   

 การที่เราจะเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีปัญหาที่เท้านั้น เราต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนในผูป่วยเบาหวานและ Biomechanics ของ foot ดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น neuropathy, microvascular, macrovascular ซึ่ง neuropathy เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลที่เท้า แบ่งได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1. Sensory neuropathy  ผู้ป่วยมีอาการชา ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่รู้สึกร้อนหรือเย็น เมื่อเกิดมีบาดแผล เช่น เหยียบของแหลมคม หรือมีแรงบีบของรองเท้า ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ เรียกว่า Loss of protective sensation (LOPS)
2. Motor neuropathy เนื่องจากมีการเสื่อมของเส้นประสาทที่กล้ามเนื้อ (denervation of intrinsic muscle)ของเท้า ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นฝ่อลงไป (atrophy) flexor และ extensor tendons ซึ่งเป็นเอ็นบริเวณนั้นจะทำให้นิ้วเท้าถูกดึงรั้งขึ้นไปอยู่ในท่า claw position บริเวณข้อmetatarsophalangeal joint จะกลายเป็นจุดที่ไวต่อแรงกดทับหรือการเสียดสี จึงมีโอกาสเกิดเป็นแผลได้ง่าย
3. Autonomic nervous system เกิด arteriovenous shunting ทำให้มีhigh flow จึงอาจเป็นสาเหตุให้มี bone resorption ที่เท้าเพิ่มมากขึ้น เกิด joint destruction เรียกว่า Charcot’s arthropathy

Biomechanics ของ diabetic foot
การเกิดแรงกดซ้ำๆที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง (focal pressure point) ทำให้มี cumulative of minor trauma เช่น การเดิน ทำให้มีแรงกดซ้ำๆ ถ้าเป็นคนทั่วไปจะมี protective sensation ทำให้มีความรู้สึกเจ็บ ตรงกันข้ามกับผู้ป่วยเบาหวาน ที่ loss of protective sensation

ไปแล้ว


  ดังนั้นจึงนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการ off-loading คือ หลีกเลี่ยงไม่ให้มีการลงน้ำหนักที่จุดนั้น ก็จะไม่ทำให้มี repetitive minor trauma และลดโอกาสเกิด diabetic foot ได้ เช่น การทำ soft cast ให้ผู้ป่วย

                                

คำสำคัญ (Tags): #ramamedicalstudent#foot care clinic#podiatry
หมายเลขบันทึก: 263078เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2009 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท