ตัวแบบดัชนีชี้วัดการพัฒนาความสุขมวลรวมของชุมชนและสังคม(สามเสาหลักแห่งความเจริญ)โดย อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม....เวทีAARตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น(10)


ตัวชี้วัดที่มีพลังน่าจะประกอบด้วย 3 มิติ คือ ตัวชี้วัดความดี ตัวชี้วัดความสามารถ และตัวชี้วัดความสุข

ในการสัมมนาสรุปบทเรียนการจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก  เมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่แล้วมา  อ.ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรมได้เสนอหลักคิดในการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนและสังคม ว่า  ตัวชี้วัดที่มีพลังที่เป็นการวัดความสุขมวลรวมของชุมชนท้องถิ่นแบบครอบคลุมเป็นองค์รวมนั้นน่าจะประกอบด้วยดัชนีชี้วัดหรือตัวชี้วัด 3 มิติ  คือ ตัวชี้วัดความดี ตัวชี้วัดความสามารถ และตัวชี้วัดความสุข ทั้ง 3 มิติรวมเป็น "ความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น" รายละเอียดเรื่องนี้ อ.ไพบูลย์ได้เขียนไว้ในBlog/paiboon/248829 เรื่องสามเสาหลักแห่งความเจริญของสังคมและในBlog/paiboon/264100 เรื่องวิกฤติเศรษฐกิจกับสังคมไทย  ดังข้อความบางตอนดังนี้

 

ในชีวิตและในสังคม สิ่งที่เป็นเสาหลักแห่งความเจริญมั่นคงของสังคม มี 3 ส่วนคือ  ความดี ความสามารถ และความสุข 

  • ความดี คือ คุณธรรม จริยธรรม การคิด การพูด การกระทำอย่างถูกต้อง เหมาะสม ดีงาม สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ และมีคุณค่า 
  • ความสามารถ คือ ความสามารถในการคิด การพูด การกระทำ การบริหาร การใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เกิดความสำเร็จของภารกิจ 
  • ความสุข คือ ความสุขทางกาย ความสุขทางใจ ความสุขทางปัญญาหรือจิตวิญญาณ และความสุขทางสังคมคือการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข 

       สามเสาหลักนี้ เป็นสิ่งที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีปฎิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความดี เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ในการพัฒนาชีวิตพัฒนาสังคม 

                                                                                                 

 

 

หมายเลขบันทึก: 265034เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2009 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท