55.ภัยจาก "ภาวะสมองเสื่อม"


 

"ภาวะสมองเสื่อม"

กลายเป็นปัญหาทางสุขภาพที่เกิดขึ้นกับคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยเฉพาะในคนสูงวัย และนับวันก็จะยิ่งมากขึ้น

ถ้าใช้ระบบสถิติแบบคนใกล้ตัว...ก็มีเพื่อนที่พูดคุยเรื่องสมองเสื่อมขึ้นมา 2-3 ราย

จึงกลับมาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม...มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

“ภาวะสมองเสื่อม  ทำให้คนสูญเสียความทรงจำ ความสามารถในการทำงาน

การตัดสินใจ ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงต่ออันตราย และทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง

นอกจากนี้ยังส่งผลต่อครอบครัวผู้ป่วยทั้งทางด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ อีกด้วย

 

ปัจจุบัน ประเทศไทย มีผู้อยู่ในสภาวะสมองเสื่อมประมาณ 229,000 คน

และคาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ประมาณ 450,000 คน

และภายใน 50 ปี จะเพิ่มขึ้นมากกว่าล้านคน (เพราะสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย)

 

สถิติของภาวะสมองเสื่อมจะเกิดชุกในคนสูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ยิ่งอายุสูง ภาวะสมองเสื่อมยิ่งสูง เช่น ช่วงอายุ 60-70 ปี มีภาวะสมองเสื่อม 1-3 %

ช่วงอายุ 70-80 มีภาวะสมองเสื่อม 3-7.5 %  แต่พออายุ 80-90 มีภาวะสมองเสื่อม 7.5-12.5 %

และอายุ 90 ปีขึ้นไปพบว่ามีภาวะสมองเสื่อมถึง 30 % เชียว

 

ผู้ป่วยสมองเสื่อม 1 คน ต้องมีผู้ดูแลอย่างน้อย 2 คน มีค่าใช้จ่ายในการดูแลอยู่ที่ 4,000-6,000 บาท/เดือน

ยังไม่รวมค่ายา ค่าหมอและค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ

 

ตบท้าย สำหรับการระวังพฤติกรรม 10 อย่างที่ ทำร้ายสมองควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ 

1. ไม่ทานอาหารเช้า

    นอกจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วยังเป็นเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

2.  กินอาหารมากเกินไป

    จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. สูบบุหรี่

    เป็นสาเหตุให้สมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป

    ของหวานจะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์

     เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

5. มลภาวะ 

    สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นพิษเข้าไป

    จะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย  ส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

6. การอดนอน 

    ถ้าอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง

    การนอนคลุมโปงจะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลง

    ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองไปในตัว

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย 

    การทำงานหรือเรียนขณะกำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง

    เหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9. ขาดการใช้ความคิด 

    การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด  

      ทักษะการพูดเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมองนิสัยทำร้ายสมอง

 

 

คัดมาฝาก จาก ต้นคิดจดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

ฉบับที่ 12 มีนาคม 2552.

หมายเลขบันทึก: 265885เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจจะเป็น ข้อ 6. การอดนอนและ สว. อิอิ..

หลงๆลืมๆไปตามกาลเวลา แต่ยังไม่ถึงกับสมองฝ่อค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบคุณกับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพค่ะ
  • และขออนุญาตนำไปเป็นสื่อดีให้กับเด็ก ๆ  ด้วยนะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีครับผมนี่ลืมบ่อยมากๆ

สวัสดีค่ะ

  • P
    1. NU 11
    อาจจะเป็น ข้อ 6. การอดนอนและ สว. อิอิ..
    หลงๆลืมๆไปตามกาลเวลา แต่ยังไม่ถึงกับสมองฝ่อค่ะ

 

อยู่ชมรม สว. ด้วยกันค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะมาพูดคุยกัน.

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ และยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ค่ะ.

สวัสดีค่ะ

  • P
    3. เบดูอิน
    สวัสดีครับผมนี่ลืมบ่อยมากๆ

 

เข้าข่ายสมองเสื่อม หรือ ขี้ลืม ดีล่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะมา.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท