sha-รพ.หนองจิก
โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี

การคิดเชิงบวก


การคิดเชิงบวก

 

                กระบี่อยู่ที่ใจ ฉันใด ความรักและประทับใจ ดึงดูด จูงใจให้บุคลากรที่ยังคงทำงานอยู่ได้ก็ด้วยใจ ฉันนั้น ประกอบกับการเป็นคนในพื้นที่ และองค์กรที่ก้าวพัฒนาไปด้วย ระบบ และ ทีม การมีผู้นำองค์กรที่ให้อิสระทางความคิดในการทำงาน การอำนวยการที่ดีมีเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีการทำงานเป็นทีม

                จะพบว่า องค์กรมีความหลากหลายของบุคลากร ในการทำงานย่อมจะมีความ เห็นต่าง แต่ก็ถือว่าเป็นความ หลากหลาย และมี สีสัน การเห็นในหลากหลายแง่มุมจะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จได้สมบูรณ์มากขึ้นถ้าเรารู้จักรับฟังและเคารพ ให้เกียรติกันในความเห็นของผู้อื่น การมองความขัดแย้งทางความคิดให้เป็นโอกาสเปลี่ยนเป็นพลัง สร้างสรรค์ แน่นอนว่าการจะให้ทุกคนคิดและทำในสิ่งเดียวกันทุกเรื่อง ย่อมเป็นไปไม่ได้ การรับฟังกัน ไม่แข็งกร้าว แต่ก็ไม่อ่อนแอ มีความยืดหยุ่น ย่อมเป็นทางออกของการหล่อหลอมจุดแข็งหรือส่วนดีของบุคลากรที่มีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เป็นพลัง ขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า สิ่งนี้จะเป็นตัวสนับสนุนเอื้อให้เป็นแนวทางที่ยั่งยืนในการพัฒนา ระบบ และ ทีม อีกประการหนึ่งคือกระบวน การมีส่วนร่วม ของบุคลากรในทุกระดับ การมีประชาธิปไตยในการทำงานภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับขององค์กร การตอบสนองบุคลากรในเรื่องสวัสดิการ ขวัญและกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งที่จะทำให้บุคลากรทำงาน อย่างมีความสุข ทำให้เกิดความรัก ภักดีในองค์กรและการทำงานอย่างทุ่มเท ไม่มีความรู้สึกว่าจำต้องทำ ภายใต้ การคิดบวก (POSITIVE THINKING) ไม่คิดว่าทุกอย่างเป็นอุปสรรค การรู้จักใช้กลไกที่มีอยู่ เสริมพลังอำนาจ (Empowerment) แก่องค์กรชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ โดยกระบวนการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อผ่องถ่ายพลังอำนาจการจัดการไปสู่ชุมชนต้นแบบเชื่อว่าการทำงานของทุกคนคงเคยประสบกับความรู้สึกต่าง ๆ หลากหลาย อารมณ์ ความรู้สึก สิ่งนี้เปรียบเสมือนตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ ไม่หยุดนิ่ง ถ้าคิดว่าเราสมบูรณ์แบบแล้ว ก็จะทำให้องค์กรหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่เห็นโอกาสพัฒนา

                ในช่วงเวลาที่ผ่านมาโรงพยาบาลได้ผ่านกระบวนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) และโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ (HPH) เชื่อว่าบุคลากรทุกคนในองค์กรมีความอิ่มเอิบ ภาคภูมิใจ ในฐานะที่เป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ของเครื่องจักร (โรงพยาบาล) นี้รู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จและนำผลงานส่วนหนึ่งในหน่วยงานไปนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี และประชุมวิชาการสาธารณสุข เขต 18,19 จังหวัดสงขลา ในเดือนกันยายน 2550 และได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ทั้ง 2 เวที และได้รับเกียรติจากกรมอนามัยให้ไปร่วมนำเสนอผลงานในเวทีการประชุมสัมมนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับชาติ ครั้งที่ 6 ในเดือนมิถุนายน 2552 เหนือสิ่งอื่นใดความสำเร็จ ความภาคภูมิใจขององค์กรจะเกิดขึ้นได้ยากหากขาดความร่วมแรงร่วมใจ ความรักและสามัคคี และการนำองค์กรของผู้นำ เพื่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งศักยภาพและการพัฒนาก้าวไปอย่างต่อเนื่อง

 

                                                                                                    นายไพบูลย์     งามสกุลพิพัฒน์

                                                                                                นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 266036เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2009 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 05:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เขียนได้ดีมั๊กๆเลยค่ะ

เหนือคำบรรยายจริงๆค่ะ

เป็นกำลังใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท