"การเรียนรู้กระบวนการทำงานวิจัยด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของข้าพเจ้า"


 

ออกเก็บตัวอย่างพืชมาทำวิจัยร่วมกับอาจารย์ ณ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

ในภาพจากซ้ายไปขวา พี่รัศมี  เหล็กพรม(นศ. ป.เอก สาขาเคมีอินทรีย์), รศ.ดร.ขวัญใจ กนกเมธากุล,รศ.ดร.สมเดช  กนกเมธากุล, Professor Stephen Pyne (University of wollongong, Australia), จารุพงษ์  แสงบุญมี

   เมื่อข้าพเจ้ากำลังเรียนอยู่ชั้น ม.3 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ทางโครงการได้สนับสนุนให้นักเรียนทุกคนทำโครงงานที่สนใจ ซึ่งในขณะนั้นข้าพเจ้าได้ทราบข้อมูลว่ามีราชนิดหนึ่ง ที่เป็นปรสิตกับแมลงหลายชิด และมีแนวคิดที่จะนำราชนิดนี้มาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี(Biocontrol) ราชนิดนี้เรียกว่า ราขาว( white mold หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Beauveria bassiana) ข้าพเจ้าจึงสนใจและอยากรู้ว่าในการเป็นปรสิตของรานอกจากที่เจริญเติบโตในแมลงแล้ว ราชนิดนี้สร้างสารเคมีขึ้นมาทำลายแมลงด้วยหรือไม่ ถ้ามีแล้วสารนั้นคือสารใด คำถามนี้เป็นคำถามที่ท้ายทายมากสำหรับเด็กมัธยม แต่ข้าพเจ้าจะพยายามตั้งใจทำให้ได้ ข้าพเจ้าจึงเริ่มจากการค้นหาข้อมูลตามเว็บไซต์อิสระต่างๆ ( เช่น wikipedia) และได้รับความอนุเคราะห์จาก รศ.ดร.ขวัญใจ กนกเมธากุล และ รศ.ดร.สมเดช กนกเมธากุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสจตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรุณารับเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง(mentor) ในการทำโครงงานวิจัยของข้าพเจ้า โดยท่านได้แนะนำให้ข้าพเจ้ารู้จักกับพี่นักศึกษาปริญญาโทและเอกในสาขาเคมีอินทรีย์ที่ศึกษางานด้านนี้โดยตรง

            นอกจากนี้อาจารย์ได้แนะนำให้ข้าพเจ้าได้แนะนำให้ข้าพเจ้ารู้จักการตรวจสอบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยการใช้ฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ คือ sci-finder scholar นอกจากนี้อาจารย์ยังให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การทำงานโดยการร่วมปฏิบัติงานจริงกับพี่นักศึกษา ป.โท และ ป.เอก โดยไม่ได้จำกัดหรือตีกรอบว่าข้าพเจ้าเป็นเพียงเด็กมัธยมในโรงเรียนต่างจังหวัดหรือกังวลว่าข้าพเจ้าจะทำอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเสียหาย ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อย่างเต็มที่และเปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับการทำงานวิจัยได้อย่างไม่จำกัด และข้าพเจ้าได้มีโอกาสในการศึกษาวิทยาการที่สูงขึ้นโดยไม่จำกัดระดับการศึกษา โดยการแนะนำของอาจารย์และการเข้าไปสัมผัสจริง เช่น การฟังสอบป้องกันวิทยานิพนธ์(Defens)ของพี่นักศึกษา การพบปะพูดคุยเพื่อเรียนรู้กับศาสตราจารย์(Professor) หรือผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ การใช้เครื่องมือทาง spectroscopy เพื่อการพิสูจน์โครงสร้างของสารอินทรีย์ โดยได้รับความอบอุ่นจากอาจารย์และพี่ๆในห้องแล็บที่ดูแลและให้คำแนะนำ

           ผลการทำงานวิจัยครั้งนี้แม้ว่าข้าพเจ้าจะพบสารเฉพาะกลุ่มไขมัน ซึ่งไม่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากราที่ศึกษา แต่สิ่งสำคัญคือการที่ข้าพเจ้าได้รับ คือ ทักษะและกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ รักการเป็นนักวิจัย มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาโดยไม่ตีกรอบการเรียนรู้ของตนเอง ผลจากการทำวิจัยครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับทุนระยะยาวศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก และได้รับคัดเลือกไปร่วมประชุมวิชาการ ASEAN Youth Science Summit ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และในขณะนี้ข้าพเจ้าก็กำลังเริ่มการทำงานวิจัยที่สนใจอีกครั้ง

 ห้สัมภาษณ์รายการข่าวผู้เยาว์เกี่ยวกับโครงงานวิจัย

แหล่งอ้างอิงหรือค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม

สมเดช  กนกเมธากุล, สเปกโทรสโกปีในการพิสูจน์โครงสร้าง
           สารอินทรีย์.ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์,2547
สิริวัฒน์  วงษ์สิริ,แมลงศัตรูพืชทางการเกษตรของประเทศไทย
         (Insect pests of Agicultural crops
      in thailand,สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2526
http://en.wikipedia.org/wiki/Beauveria_bassiana
http://www.nstda.or.th/jstp เว็บไซต์โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพฯ


ขอขอบพระคุณ
รศ.ดร.สมเดช  กนกเมธากุล
รศ.ดร.ขวัญใจ  กนกเมธากุล
พี่รัศมี  เหล็กพรหม

ภาคผนวก
ติดตามเรื่องราวที่เกี่ยวข้องได้ที่ลิงค์ต่อไปนี้
  

 สียงให้สัมภาษณ์รายการวิทยุคลื่นลูกใหม่

http://www.imeem.com/people/nI4QjLe/music/GLR0yQZv/jack-mp3/

   บทสัมภาษณ์จุลสารสนุกวิทย์

http://gotoknow.org/file/523070095-9/adap1.jpg

http://gotoknow.org/file/523070095-9/photo.jpg

http://gotoknow.org/file/523070095-9/adap3.jpg


   บทสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

 

http://gotoknow.org/file/523070095-9/news.jpg


บันทึกข้อมูลครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2552

บันทึกลิงค์ไฟล์เสียงเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552

บันทึกภาพเพิ่มเติมบนบล็อก เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน  2552

อัพโหลภาพเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552

คำสำคัญ (Tags): #learning process
หมายเลขบันทึก: 266491เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีจ้ะ น้องแจ็ค

ตามมาชมและยินดีกับความตั้งใจจริงของแจ็คในการก้าวสู่นักวิจัย

ขอเป็นกำลังให้ในการทำวิจัยไปพร้อมๆกับการเรียนแพทย์(ซึ่งหนักมากๆ)

.............

คิดถึงบรรยากาศที่มข.จัง

ไว้มีโอกาสคงได้กลับไปสวัสดีอาจารย์และทักทายเพื่อนๆที่นั่นจ้ะ

  • ตามมาอ่าน
  • มาจากพี่เอ
  • ฮ่าๆ
  • เสียดายไปขอนแก่นตั้งหลายครั้ง
  • ไม่เคยเจอเลย
  • เอาโปรแกรมมาฝาก
  • เข้าใจว่าภาพใหญ่ไป
  • ตกแต่งบล็อก

    http://gotoknow.org/blog/katti/199894

    ย่อรูปแต่งรูปพี่ดาวคนสวยใจดี

หวัดดีแจ็คอ้วน

นักวิจัยตัวจริง - -*

ไม่นึกว่าจะเก่งขนาดนี้นะเนี่ย

แต่ตอนนี้นึกแล้วล่ะ 55

สู้ต่อไปนักวิจัยตัวอ้วนๆ

เขียนดีเหมือนกันนะเรา

ปล. ตอนแจ็คไปเม้นท์เค้า เค้ายังแต่งไม่จบแหละ - - กลับไปอ่านต่อดิ 555

ประสบการณ์ คือครูที่ดีที่สุดจริงๆ

มีโอกาสได้ทำงานแบบนี้ นับว่าโชคดีมากๆ

ขอให้เก็บมันไว้ ใช้ในทางที่ดี มีประโยชน์ต่อสังคมนะเพื่อน

ขอบคุณพี่เอครับ ผมจะตั้งใจทำให้ดีที่สุดครับ

ขอบคุณ อ.ขจิต ด้วยครับ หวังว่าคงมีโอกาสได้เจออาจารย์นะครับ

ขอบคุณเพื่อนที่มาแสดงความเห็นทุกคนครับ

โอ้โหดีใจจังมีเพื่อนเก่งแบบนี้อะ

ไงก็ขอให้ประสบความสำเร็จและอย่าลืมจรรยาบันของนักวิจัยด้วยนะ

และหวังว่าจะสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงามทางวิทยาศาสตร์และมีประโยชน์ให้กับสังคมอะ

ขอบคุณเพื่อนครับ

เพื่อนๆก็มาร่วมสร้างประโยชน์ด้วยงานวิจัยด้วยกันนะครับ

เราเรียนสาขาไหนก็สร้างคุณค่าของงานด้วยการวิจัยได้ครับ ^^

  • มาขอบคุณ
  • อยากให้ชาว JSTP
  • รวมกลุ่มกันใช้ gotoknow
  • จังเลยครับ

เก่งอะ ชอบ ทำวิจัยเป็นแล้ว น่าจะไปต่อโทเลย(เคยได้ยินว่ามีหลักสูตรปริญญา3ใบ)มาเรียนกับเพื่อนทำไม ดึงmeanเพื่อนเปล่าๆ (ล้อเล่นนะ)สู้ต่อไป ทาเคชิ ว่าแต่ หน้าตาโหดตั้งแต่เด็กเลยนะเนี่ย555

ตามมาให้กำลังจาย

เก่งนี่หว่าเพื่อนเรา

สู้ต่อไปนะจ๊ะ

กิตติพงศ์ แก้วกาญจนารัตน์

งานวิจัย นอกจากจะทำให้เราได้ค้นพบความรู้ใหม่ๆแล้ว ยังทำให้เรามีความภูมิใจ และสนุกกับมันจริงๆ ^^

โอ้เพื่อนเราเก่งจิงๆ

ผลงานวิจัยนี้น่าสนใจมาก

โอ้ จานแจ๊ค

เพราะมึงกุเลยเกาะเมิงตอนค่ายโอได้

อิอิ เก่งจิงเพื่อนกุ

5 5 5

ไม่แปลกใจเลยอะที่แจ๊คเก่ง

เป็นเพราะชอบเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กๆนี่เอง

เป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อตัวเองแล้วยังเผยแพร่ให้คนอื่นได้ด้วย

เจ๋งมาก!!

วันปิยะ ศรีพัฑฒางกุระ

เก่งมากเลยอ่า

วิจัยได้ตั้งแต่เด็กๆเลย

อยู่นี่ก็ช่วยเค้าบ้างนะ แค่เรียนธรรมดาเค้ายังแย่แล้วเลย

อื้อ หือออ

แจ๊ค สุดยอดเลยวะ

ระดับประเทศเลยนะเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท