วันนี้ พวกเรานศพ.จากโรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีโอกาสมาปฏิบัติงานที่ Foot care clinic ที่โรงพยาบาลสงฆ์


น้ำคัดหลั่งจากแผลจะมีเอนไซม์ metalloproteinase ซึ่งจะชะลอการหายของแผล

Foot Care Clinic

วันนี้ พวกเรานศพ.จากโรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีโอกาสมาปฏิบัติงานที่ Foot care clinic ที่โรงพยาบาลสงฆ์ โดยได้รับความรู้ และการดูแลจากอาจารย์เชิดพงศ์ หังสสูต ซึ่งวัตถุประสงค์ของคลินิกเพื่อการดูแลสุขภาพเท้าที่เหมาะสม โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีบาดแผลที่เท้า เพื่อลดปัญหาแทรกซ้อนที่อาจทำให้ต้องมีการตัดเท้า

วันนี้พวกเราได้พบกับพระสงฆ์ที่มีแผลสดที่ฝ่าเท้า เป็นเรื้อรัง และมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวานด้วย ซึ่งการที่แผลจะหายได้ดีนั้น มีกระบวนการ ดังนี้
1. Hemostasis phase เกิดขึ้นทันทีที่รางกายหรือผิวหนังไดรับการบาดเจ็บ หลอดเลือดที่มีการฉีก
ขาดจะมีการหดตัวเกิดการหามเลือดโดยธรรมชาติ
2. Inflammatory phase เกิดขึ้นภายใน 24 ชม. แรกหลังเกิดบาดแผลและดําเนินตอเนื่องอาจเป
สัปดาห                          
3. Proliferation phase เริ่มประมาณวันที่3-5 มีการสรางเนื้อเยื่อ (epithelialization) และเสนเลือดและเสนใยจํานวนมากระยะนี้แผลที่หายแลวจะดูบวม นูนและแดง
4. Remodelling Phase หลังจากที่แผลสมานปิดแล้ว เนื้อเยื่อจะสร้างสมดุลระหว่างกัน จนกว
แผลจะเปนเนื้อเยื่อที่ปกติ

ปกติแล้วแผลควรจะหายดีตามกระบวนการข้างต้น แต่ในกรณีของแผลที่หายช้า เกิดได้จากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. การอักเสบเรื้อรัง โรคบางชนิดเชน เบาหวาน โรคที่เกี่ยวของกับภูมิคุมกัน
2. การไดรับยาหรือสารบางชนิด
3. การขาดเลือดไปเลี้ยงที่บาดแผลเนื่องจากหลอดเลือดไปเลี้ยงบริเวณแผลมีปญหา
4. การเคลื่อนไหวมากเกินไปของบาดแผล
5. การไดรับสารอาหารที่ไมเพียงพอ
6. การสูบบุหรี่
7. แรงกดทับ
8. การทําแผลที่ผิดวิธี
9. อายุ

                ซึ่งแรงกดทับถือเป็นปัจจัยสำคัญในพระสงฆ์ ที่มีความเสี่ยงต่อแรงกดทับมากกว่าคนทั่วไป เช่น ในการนั่งสมาธิที่ต้องนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เวลาบิณฑบาตไม่ใส่รองเท้า ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่หายได้ช้า เพราะทำให้กระบวนการ epithelialization ของแผลถูกรบกวน

                ดังนั้นหลักการให้การรักษาดูแลเท้าที่สำคัญของ Foot care clinic คือ

-          การ Off-loading กระจายแรงกดทับไม่ให้ถูกที่แผล โดยการทำ Total contact soft cast หรือลดการเคลื่อนไหว (immobilization) แผลก็จะหายได้เร็วขึ้น

-          รักษาแผลให้ชุ่มชื้น เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเร็วขึ้น

-          กรณีผู้ป่วยเบาหวาน ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากปริมาณน้ำตาลที่สูงไป จะทำให้แผลติดเชื้อได้ง่าย

-          ใช้วัสดุดูดซับสารคัดหลั่งที่ออกจากแผล เนื่องจากน้ำคัดหลั่งจะมีเอนไซม์ metalloproteinase ซึ่งจะชะลอการหายของแผล

-          ถ้าแผลมีการติดเชื้อ ก็ต้องให้ยาปฏิชีวนะรักษาร่วมด้วย

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เชิดพงศ์ และพี่ๆ ทีมงานที่ได้ให้ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและโอกาสในการปฏิบัติงานจริง เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ให้พวกเราใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป

 

นศพ.รามาธิบดี ปี 5 วันที่28 พ.ค. 2552

 

หมายเลขบันทึก: 266565เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท