ครั้งแรกกับ Pedorthist ที่รพ.ตำรวจ


การ Amputation แต่ละ Case มีค่าใช้จ่ายมาก ผลกระทบด้านจิตใจก็มากทีเดียว มีบางคนถึงกับบอกว่าขอยอมตายดีกว่าถูกตัดขา ตัดแล้วก็ยังอยู่ในภาวะซึมเศร้าไปอีกนาน พวกเรารู้สึกดีจริง ๆ ที่จะได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งช่วยลดอัตราการถูกตัดขาให้ผู้ป่วย

ครั้งแรกกับ Pedorthist ที่รพ.ตำรวจ

___________________________________________________________________________

            วันที่ 2 มิ.ย. 52 วันนี้เป็นครั้งแรกที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลตำรวจ  ได้มีโอกาสพบกับนพ.เชิดพงศ์ หังสสูต  เรา 2 คน (พ.ต.ท.หญิง สมบูณ และ พ.ต.ต.หญิง อรพิน)  รู้สึกดีใจแลละตื่นเต้นเล็กน้อยค่ะ  ที่จะมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลตำรวจ  พ.ต.อ.หญิง สุนันท์  เบญจเจริญวงศ์(นายแพทย์ สบ 5)หัวหน้าคลินิกเบาหวานของเราเตรียม  case  ไว้ให้อาจารย์  2  case  ค่ะ

                ความรู้สึกที่ได้รับเมื่ออาจารย์มาให้ความรู้ก็คือ  อาจารย์สอนเก่ง  เข้าใจง่าย เวลาสอนอาจารย์จะเปรียบเทียบให้เราได้จินตนาการตามไปด้วย  เช่น  เวลามองแผลให้มองเหมือนปลาในน้ำที่เราจะทำอย่างไรที่จะตักปลาออกมาโดยไม่ให้น้ำขุ่น  หรืออีกอย่างก็เปรียบเหมือนสนามหญ้าที่หากเรามองผ่านๆ ก็จะเห็นสวยงามดี  แต่หากจ้องดูแล้วเราอาจพบว่ามีหญ้าหักงอจากการถูกเหยียบเป็นหย่อมๆ ดังนั้นเราต้องพยายามค้นหาสาเหตุและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

                อาจารย์ยังแนะนำอีกว่าเราจะเข้าใจมากยิ่งขึ้นหากเราได้ลองฝึกปฏิบัติจริงๆ และอยากให้เราลองไปศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลสงฆ์และยังฝากการบ้านให้ลองไปฝานเปลือกมะนาว  จำนวน  5 ลูก ดูจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น

                สำหรับ  casse  แรก พ.ต.ต.หญิง อรพิน(จิ๊บ)เป็นผู้รับผิดชอบ  ผู้ป่วยเป็นหญิง อายุ 58  ปี มีประวัติป่วยเป็น HT,Dyslipidemia,DM และ CVA  เนื่องจากป่วยเป็น  CVA  มา 10 ปีบริเวณซีกขวาของร่างกายจะอ่อนแรง อีกทั้งยังเดินออกกำลังที่สวนลุมพินีเป็นประจำ วันนี้มีอาการเจ็บฝ่าเท้ามาประมาณ  3-4 วันเมื่อตรวจดูแล้วพบว่ามี Necrotic lesion ที่ฝ่าเท้าทั้ง 2 ครั้งดังภาพ

 

                        

     Hemorrhagic spot is growing                                                             Callous is forming                                               1. นำ Harris mat  พิมพ์เท้าทั้ง 2 ข้าง

    

2.  เมื่อเห็นจุดที่เป็นปัญหาทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ก็ใช้ Blade ฝานออก

          

          

4.  ทำโดนัท (ผลิตจาก Gauze พันทับด้วย micropore) ปิดตรงบริเวณ lesion เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยลงน้ำหนักบริเวณนั้น

                                                                                                                                                                                                4.  5. พิมพ์เท้าผู้ป่วยด้วย  Harris mat  อีกครั้งเพื่อเป็นการเปรียบเทียบ

Case  ที่  2  (พ.ต.ท.หญิง สมบูณ (ตู่)  ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้ดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นแผล  Trim  Callous  3  จุด  มีร่องรอยการใส่ผงยา…… ซึ่งญาติบอกว่าแพทย์เป็นผู้สั่งให้ใส่  อาจารย์ก็เพิ่มเติมให้พวกเราฟังว่าความจริงแล้วการรักษาแผลก็เหมือนการปลูกหญ้าในสนาม  บางจุดหญ้าตายก็ต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรแล้วรักษาตามสาเหตุนั้น  แผลก็เช่นเดียวกันไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้  Antiseptic  เสมอไป  ถ้าประเมินแล้วว่าไม่มี  Infection  ที่เราเรียกว่า  wound  assessment 

           

                จ.ส.ต.......  อายุ  61  ปี  Dx. DM,HT,Old  TB  มารักษาที่  รพ.ตำรวจ  ครั้งแรกเมื่อปี  2548  ด้วยเรื่องเป็นแผลมา  1  เดือน  ให้ประวัติว่าเคยตรวจเลือดน้ำตาลเกิน  250  รักษาแผลและโรคเบาหวานจนแผลหายและ  Follow  up  เรื่อง  DM  มาตลอด  ปี  49 มีแผลที่ฝ่าเท้าตื้น ๆ  รักษา  2  สัปดาห์  ต่อมาอีก  2  เดือนเริ่มเป็นอีก  (เท้าขวา)  แพทย์สั่ง  Intrasite  gel  ให้  เป็น ๆ  หาย ๆ  อีก  ก.ย.  51  ผล Cr.  2.4  ส่งให้ Nephro  ช่วยดูด้วย  ต่อมา  มี.ค.  52  Admit  ด้วย  Ischemic  Stroke (Lt  Brain    +  Lt  Periven. Infarct )  ยังคงมี  DM  ulcer  both  feet  จากประวัติดูเหมือนว่าด้วยภาวะที่เป็น  Stroke  อาจเป็นปัจจัยส่งเสริมให้แผลหายช้า  :  การเคลื่อนไหวไม่ค่อยสะดวก  แต่สิ่งหนึ่งที่สัมผัสได้คือ  ดู  Pt. และญาติให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 

                 

 

           

                                                               

 

                                                                                                                                                                                               

 

                          วันที่มาทำแผล  ทำโดนัทให้  3  จุดด้วย เรานัดผู้ป่วยมา  Follow up  อีกครั้งสัปดาห์หน้าส่งมาให้ด้วย

อาจารย์กล่าวว่าการ Amputation แต่ละ  Case  รัฐต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมาก  และจากประสบการณ์  พบว่า  นอกจากด้านค่าใช้จ่ายแล้วผลกระทบด้านจิตใจก็มากทีเดียว มีบางคนถึงกับบอกว่าขอยอมตายดีกว่าถูกตัดขา  ตัดแล้วก็ยังอยู่ในภาวะซึมเศร้าไปอีกนาน  พวกเรารู้สึกดีจริง ๆ  ที่จะได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งช่วยลดอัตราการถูกตัดขาให้ผู้ป่วย

                                                                                                                                พ.ต.ต.หญิง อรพิน  พรชัย

                                                                                                พ.ต.ต.หญิง สมบูณ ขัตติยะสุวงศ์

 

 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 266819เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2009 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ได้ความรู้ใหม่ ครับ
  • ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครับ

ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ เป็นประโยชน์กับคนไข้มากเลยค่ะ

ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ เป็นประโยชน์กับคนไข้มากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ได้แนวคิดในการลดแรงกดแผลที่ใต้ฝ่าเท้า วงกลมๆ เป็นอะไรคะ ที่หนุนใต้เท้า จะลองไปทำดูค่ะ

บังอร

ขอบคุณ คุณบังอร ที่ช่วย comment

ไม่ทราบว่า คุณบังอรทำงานที่ รพ.ปทุม ใช่ไหมครับ

คุณพ่อเป็นแผลเบาหวาน โอนตัดไปข้างหนึ่งแล้ว ตอนนี้เป็นแผลถ้าไปรักษาที่ รพ. ตำรวจ โดยใช้สิทธิ์คนพิการต้องทำยังไงบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท