วันนี้เป็นวันที่พวกเราได้ไปปฏิบัติงานที่รพ.สงฆ์กัน


นับเป็นครั้งแรกที่พวกเราได้เห็นว่ามี foot clinic อยู่บนโลกใบนี้ด้วย??

4 มิถุนายน 2552

วันนี้เป็นวันที่พวกเราได้ไปปฏิบัติงานที่รพ.สงฆ์กัน  นับเป็นครั้งแรกที่พวกเราได้เห็นว่ามี  foot clinic อยู่บนโลกใบนี้ด้วย??  เพราะพวกเราก็เป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ที่มักจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญกับอวัยวะที่เรียกว่า “เท้า” สักเท่าไร  เนื่องจากว่าเท้าเป็นอวัยวะที่อยู่ต่ำกว่าอวัยวะอื่นๆ ทำให้คนมักคิดว่า มันไม่ค่อยสำคัญและปล่อยปละละเลยต่อการดูแลเท้าอยู่เรื่อยไป

ที่ clinic นี้ พวกเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาเท้าจาก case ที่ foot clinic หลาย case          ใน blog นี้ พวกเราจึงขอยกตัวอย่าง case จริงที่ได้ไปดูมา  ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน (ในส่วนของเนื้อหาความรู้ เพื่อนๆสามารถตามอ่านได้ใน blog ก่อนหน้านี้ที่เพื่อนๆนักศึกษาแพทย์รามา ทำเอาไว้นะคะ)

Case พระภิกษุอายุ 58 ปี  ปัจจุบันจำวัดอยู่ที่วัดปากน้ำระยอง บวชมาเป็นเวลา 3 พรรษา

Chief complaint  : มีแผลที่นิ้วเท้าข้างขวา 2 ปีก่อนมารพ.

Present illness (ขออนุญาตเล่าเป็นเรื่องนะคะ)

ก่อนหน้าที่จะบวช(10 กว่าปีก่อน)  หลวงพ่อดื่มสุราเป็นประจำ ไม่ดูแลสุขภาพ ไม่ได้ออกกำลังกายชอบรับประทานอาหารตามใจปาก ชอบรับประทานอาหารมัน และของหวาน  จนเมื่อ 4-5 ปีก่อน  หลวงพ่อรู้สึกว่าตนเองน้ำหนักลดมากผิดปกติ น้ำหนักลดลงมากกว่า 10 กิโลกรัมในวลาเพียงไม่กี่เดือน  มีปัสสาวะบ่อย มากกว่า 10 ครั้ง/วัน  เนื่องจากมีเพื่อนทักว่าน่าจะเป็นเบาหวานให้รีบไปหาหมอซะ หลวงพ่อจึงตัดสินใจไปรพ.  เมื่อไปพบแพทย์ครั้งแรก ปรากฏว่าระดับน้ำตาลของหลวงพ่อขึ้นสูงถึง 380 mg% ซึ่งถึงเป็นค่าที่สูงมาก (cut point ระดับน้ำตาลของการวินิจฉัยโรคเบาหวานคือ มากกว่า126 mg%) หลังจากนั้นหลวงพ่อก็เริ่มรักษาด้วยการกินยาควบคุมระดับน้ำตาล และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเรื่อยมา  จนกระทั่งบวชเป็นภิกษุเมื่อ 3 ปีก่อน ที่วัด จ.บุรีรัมย์  หลวงพ่อยังคงรักษาอย่างต่อเนื่อง  แต่ปัญหาที่สำคัญของหลวงพ่อ คือ หลวงพ่อมีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า(Neuropathy) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน   เวลาออกไปบิณฑบาตหรือไปเดินนอกวัดหลวงพ่อก็ไม่ได้ใส่รองเท้า ทำให้มีแผลที่เท้าเป็นประจำ  ช่วงแรกแผลจะเป็นแค่หนังถลอกเพียงเล็กน้อย  หลังจากนั้นเนื่องจากหลวงพ่อยังต้องเดินออกไปข้างนอกทุกวัน แผลก็เป็นมากขึ้นและเริ่มมีเลือดออก  แต่ก็ไม่ค่อยรู้สึกเจ็บเท่าไร  พอหลวงพ่อเห็นว่ามีเลือดออก ก็เลยดึงหนังทิ้งแล้วล้างทำความสะอาดแผล และเอาผ้ามาพันไว้  แล้วก็ไปบิณฑบาตทุกวันโดยมีผ้าพันที่เท้า  แต่ช่วงนั้นเป็นหน้าฝน ฝนตกบ่อยมาก ทำให้ผ้าที่พันไว้เปียกสกปรก  ในตอนหลัง แผลที่เคยเป็นแค่แผลถลอก  ก็เน่าเละจนลึกเข้าไปถึงกระดูก  หลวงพ่อจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาล  ซึ่งที่โรงพยาบาลก็ทำแผลให้ (เป็น wet dressing)  หลวงพ่อไปทำแผลทุกวัน แต่แผลก็ไม่หายสักที  จนกระทั่งหลวงพ่อย้ายไปจำวัดที่จังหวัดระยอง  ซึ่งที่นั่นหลวงพ่อไม่มีสิทธิการรักษาอยู่ต้องเสียค่าใช้จ่างเอง  และคนไข้ที่โรงพยาบาลก็เยอะมาก ต้องรอตั้งแต่เช้าจนถึงเพลกว่าจะได้พบแพทย์  หลวงพ่อจึงตัดสินใจไม่ไปโรงพยาบาล  และไม่ได้กินยาเนื่องจากยาหมด  แต่หลวงพ่อคิดว่าถ้าควบคุมอาหาร น้ำตาลก็คงจะไม่ขึ้น   ช่วงนั้นหลวงพ่อฉันอาหารเป็นผัก ข้าว โดยลดปริมาณลง และเลิกกินหนังไก่ หนังหมู และกาแฟ  แต่ยังมีฉันขนมหวานพวกทองหยิบทองหยอดบ้าง เนื่องจากว่าเป็นขนมยอดนิยมที่คนชอบนำมาใส่บาตรกัน           ผ่านไป 2 เดือน(1 เดือนก่อน) หลวงพ่อตัดสินใจไปตรวจที่โรงพยาบาล  เจาะวัดระดับน้ำตาลจากเส้นเลือดใหญ่ที่แขนได้สูงถึง 535 mg%  หลวงพ่อตกใจ คิดว่าโรงพยาบาลวัดผิดแน่นอน  แต่สุดท้ายก็ต้องยอมรับ และถูกฉีดยาไป 1 เข็มเพื่อลดระดับน้ำตาล  โดยช่วงก่อนหน้าที่จะมาโรงพยาบาล หลวงพ่อมีอาการชาตามปลายมือปลายเท้ามากขึ้น และมีตาพร่ามัวลง  ส่วนแผลที่เท้าก็ยังคงเรื้อรังไม่ดีขึ้น  หลังจากนั้นหลวงพ่อจึงรักษามาตลอด ระดับน้ำตาลล่าสุดอยู่ที่ 168 mg%

หลวงพ่อได้คำแนะนำจากพระที่รู้จักกัน ให้ลองมารักษาที่รพ.สงฆ์  ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่รักษาพระสงฆ์โดยเฉพาะ  รักษาดี  และมีคลินิกที่ดูแลเรื่องเท้าโดยเฉพาะ   

วันนี้หลวงพ่อมาเข้า foot clinic  และได้รับการรักษาดังนี้

-          ขูดเอาหนังที่หนาออกทั้งฝ่าเท้า

-          ขูดเนื้อตายตรงแผลที่นิ้วเท้าออก พร้อมทำความสะอาดแผล เพื่อกำจัดแหล่งสะสมเชื้อ ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ และทำให้แผลหายเร็วขึ้น

-          ปิดแผล และทำวงแหวนผ้าให้สวมที่นิ้วเท้า เพื่อป้องกันการกดทับที่แผลขณะเดิน

-          ให้คำแนะนำในการดูแลเท้าเบื้องต้น เช่น สวมรองเท้าทุกครั้ง ไม่ให้แผลเปียกน้ำนานๆหลังอาบน้ำหรือเท้าเปียก

-          ให้หลวงพ่อไปทำแผลต่อที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน และสวมวงแหวนผ้าหลังทำแผลทุกครั้ง

-          นัดให้หลวงพ่อมาติดตามอาการ และวางแผนการรักษาเท้าต่อที่รพ.สงฆ์ หลังแผลดีขึ้น

Gait cycle

                การเดินเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกที่สุด ในการเดินทางระยะสั้น การเคลื่อนที่อย่างอิสระของข้อต่อและแรงที่เหมาะสมของกล้ามเนื้อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเดิน  ดังนั้นการเดินคือ การเคลื่อนไหวของขา 2 ข้างสลับกัน (alternating) อย่างเป็นจังหวะ(rhythmic)  และมีการเคลื่อนไหวของลำตัวเพื่อให้จุดศูนย์ถ่วง (center of gravity) ของร่างกายเคลื่อนไปข้างหน้า  การเดินจะต้องเป็นวงจร (cycle) หรือเรียกว่า "gait cycle" ซึ่งมีระยะต่างๆดังต่อไปนี้

 

 

1. stance phase คือ ระยะที่ขาข้างนั้นยังคงวางอยู่บนพื้น ประกอบด้วย
                    1.1 heel strike
คือ ระยะที่ส้นเท้าแตะอยู่กับพื้น
                    1.2 foot flat
คือ ระยะที่ฝ่าเท้าอยู่กับพื้น
                    1.3 mid stance
คือ ระยะที่น้ำหนักตัวลงไปบนเท้าข้างที่สัมผัสพื้น
                    1.4 push off
คือระยะที่ส้นเท้ายกขึ้นจากพื้น (heel off)ไปจนถึงนิ้วเท้ายกจากพื้น (toe off)


            2. swing phase คือ ระยะที่ขาข้างนั้นยกลอยขึ้นจากพื้น ประกอบด้วย
                    2.1 acceleration
ภายหลังพ้น stance phase ก็จะเข้าสู่ระยะเริ่มแรกของ swingphase
                           
โดยเริ่มจากเมื่อนิ้วเท้ายกขึ้นจากพื้นแล้ว เท้าข้างนั้นยกลอยขึ้นจากพื้นและสูงขึ้น
                           
เมื่อเข้าสู่ระยะ mid swing
                    2.2 mid swing
เป็นระยะกลางของ swing phase เท้าจะยกลอยสูงสุด
                    2.3 deceleration
เป็นระยะสุดท้ายของ swing phase คือเท้าจะเคลื่อนต่ำลงมาจน เกือบถึงพื้น
                           
แล้วก็เข้าสู่ระยะของ stance phase ใหม่

Figure 1


            3. double support คือ ช่วงเวลาที่เท้าทั้งสองแตะพื้นเวลาเดียวกัน โดยที่ขาข้างหนึ่งอยู่ในระหว่าง
                    push-off
และ toe-off ส่วนขาอีกข้างอยู่ในระหว่าง heel strike และ foot flat ซึ่งจะพบช่วง
                    double support
นี้ในการเดิน แต่จะไม่พบในการวิ่ง
       
ระยะเวลาที่ใช้ใน phase ต่าง ๆ
            1. stance phase
ใช้เวลา 60 % ของ gait cycle
            2. swing phase
ใช้เวลา 40 % ของ gait cycle
            3. double support
ใช้เวลา 20-25% ของ gait cycle

 

โดย         นศพ.พิริยา   พิเศษสิทธิ์

นศพ.ภัทรา   อรชุน

นศพ.เมธาวี  ชัยพฤกษ์

 

หมายเลขบันทึก: 267527เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2009 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

มาอนุโมทนาบุญครับ

และให้กำลังใจหมอๆผู้ใจดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท