สภาองค์กรชุมชนตำบลหนองพันจันทร์กับการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนา......เวทีจัดการความรู้ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น(1)


เมื่อระบบ(ชุมชน)ได้มีศึกษาเรียนรู้ทั้งสามมิติ อันได้แก่ อัตลักษณ์ ข้อมูล และความสัมพันธ์แล้ว ระบบ(ชุมชน)จะเริ่มรู้จักตนเองมากขึ้น ระบบ(ชุมชน)จะเริ่มเชื่อมโยงกับความจริงที่ว่าตัวเราคือใครได้ดีขึ้น

ฉันและเพื่อนร่วมงานมักจะใส่ใจกับการช่วยให้ระบบ(ชุมชน)ให้มีความรู้เกี่ยวกับตัวเองมากขึ้นใน 3 ประเด็นหลัก คือ

  • ประการแรก ผู้คนต้องสามารถเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์พื้นฐานขององค์กรหรือของชุมชนว่า  เราคือใคร  เราอยากเป็นใคร  เราจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร
  • ประการที่สอง ผู้คนต้องการเชื่อมโยงกับข้อมูลใหม่  เราต้องรู้อะไรอีก  เราจะหาข้อมูลใหม่ได้จากไหน  
  • ประการที่สาม    ผู้คนต้องสามารถก้าวข้ามเขตแดนดั้งเดิมและสร้างสัมพันธ์ใหม่กับผู้คนในที่ใดก็ได้ในระบบ  มีใครอีกบ้าง  ที่ต้องมาอยู่ที่นี่เพื่อทำงานกับเรา

เมื่อระบบ(ชุมชน)ได้มีศึกษาเรียนรู้ทั้งสามมิติ  อันได้แก่   อัตลักษณ์  ข้อมูล และความสัมพันธ์แล้ว ระบบ(ชุมชน)จะเริ่มรู้จักตนเองมากขึ้น    ระบบ(ชุมชน)จะเริ่มเชื่อมโยงกับความจริงที่ว่าตัวเราคือใครได้ดีขึ้น เชื่อมโยงกับสภาวะแวดล้อมของตัวเองและเพื่อนพ้องชุมชนที่สัมพันธ์ได้ดีขึ้น  เชื่อมโยงกับผู้คนที่เกี่ยวข้องในทุกๆที่ในระบบได้ดีขึ้น ความเชื่อมโยงใหม่นี้แหละที่ทำให้ระบบ(ชุมชน)มีสมรรถภาพ(ความสามารถ)มากขึ้น และทำให้ระบบ(ชุมชน)มีสุขภาวะที่ดีขึ้น

มากาเร็ต  เจ. วีตเลย์

                                                                                             Leadership  and  The  New  Science

                                                                              เพชรรัตน์  พงษ์เจริญสุข    รัชดา   อิสระเสนารักษ์

                                                                                                   และวิชิต  เปานิล  แปล

 

ในการจัดเวทีสรุปงาน (AAR) การจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก  อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี  เมื่อวันที่ 26 พ.ค.52 ที่ผ่าน สภาองค์กรชุมชนตำบลหนองพันจันทร์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบสี่สภาองค์กรชุมชนตำบลทั้งหมดของจังหวัดราชบุรีที่ได้จดแจ้งจัดตั้งเป็นสภาองค์กรชุมชนตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ปี พ.ศ. 2551 ได้เข้าร่วมเวทีในวันนั้นด้วย  นำทีมโดยกำนันประนอม   คงอาจหาญ  ประธานสภาฯตำบล

กำนันประนอม   คงอาจหาญ  ประธานสภาฯตำบลหนองพันจันทร์ สนใจบทเรียนกระบวนการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาของตำบลหนองสาหร่ายและตำบลบ้านเลือกมาก  และสนใจแนวคิดของท่านอาจารย์ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรมที่ได้ให้คำแนะนำว่า  ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของชุมชนท้องถิ่นอาจจะแบ่งเป็นสามหมวดหรือสามมิติ  คือ ตัวชี้วัดความสามารถ  ตัวชี้วัดความดี และตัวชี้วัดความสุข   ประธานสภาฯตำบลหนองพันจันทร์ท่านกำนันประนอม   คงอาจหาญ  จึงได้เรียนเชิญท่านอาจารย์ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  ไปร่วมเวทีให้คำปรึกษาการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาของชุมชนตำบลหนองพันจันทร์ในวันที่ 22 มิ.ย.ที่ตำบลหนองพันจันทร์ อ.บ้านคา    ซึ่งสภาฯตำบลหนองพันจันทร์ได้ริเริ่มมาก่อนแล้วประมาณเมื่อ 3-4 เดือนที่แล้ว  จึงอยากได้คำแนะนำจากอาจารย์เพื่อให้มีความชัดเจนและจะได้มั่นใจในผลงานของขบวนชุมชนได้มากขึ้น

 

               

สำหรับท่านอาจารย์ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  แม้นว่าสุขภาพจะไม่ค่อยดี   แต่ท่านก็สวมบทบาท ประธานกรรมการมูลนิธิหัวใจอาสา  เมื่อชุมชนร้องขอท่านก็ยินดีไปร่วมงานด้วยโดยในเบื้องต้นท่านให้คำแนะนำว่า  ครั้งนี้น่าจะเป็นการประชุมปฏิบัติการที่ทุกคนมีส่วนร่วมแบบการหลอมรวมพลังสร้างสรรค์และให้ผมช่วยให้คำปรึกษาชุมชนในออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนในครั้งนี้ด้วย

สมาชิกGTK  ท่านใดมีคำแนะนำดีๆสำหรับการให้คำปรึกษากับชุมชนในการออกแบบเวทีประชุมปฏิบัติการแบบรวมพลังสร้างสรรค์ในเรื่องการจัดทำตัวชี้วัดชุมชน  ในช่วงเวลา 1วัน  ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ  ยินดีน้อมรับคำแนะนำครับ

หมายเลขบันทึก: 268347เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2009 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท