จริยธรรมนักวิชาการสาธารณสุข


ปล.ถ้าให้ผมเลือกลูกน้องผมจะไม่เลือกคนเก่ง ผมจะเอาคนที่มีความสามารถมากกว่ามีหัวใจเป็นนักพัฒนาไม่ใช่ทำงานตามหน้าที่เพียงอย่างเดียวแล้วจะดูเรื่องจิตอาสา

1.สถาบันใดมีความสำคัญที่สุดในการหล่อหลอมจริยธรรม

                ก.  ครอบครัว

                ข.  การศึกษา

                ค.  สื่อมวลชน

ตอบ   สถาบันครอบครัว  เพราะครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุด  คนในครอบครบสามารอบรมสั่งสอนจริยธรรม  ให้ความรักและความรู้สึกอบอุ่นได้  มีความผูกพัน  สามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจน  พ่อ  แม่  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  สามารถปฏิบัติตนเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับลูกหลานได้    ถ้าคนในครอบครัวมีจริยธรรมแล้วลูกหลานลูกหลานก็จะมีจริยธรรมด้วยเพราะเขาได้เห็นแบบอย่างที่ดีจากผู้ใหญ่  เมื่อสถาบันครอบครัวมีจริยธรรมแล้ว  ก็จะทำให้สถาบันอื่นๆให้มีจริยธรรมตามไปด้วย

 

2.ถ้าท่านเป็นหัวหน้างานแล้วพบว่ามีผู้ปฏิบัติงานมาสายเป็นประจำท่านจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร

                ตอบ  ในฐานะที่เราเป็นหัวหน้างานเราต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างให้กับผู้ปฏิบัติงาน  เราก็ต้องมาที่ทำงานก่อนลูกน้องเพื่อสร้างความกดดันให้ลูกน้อง (เป็นหลักจิตวิทยาบางทีอาจใช้ไม่ได้ผล)  ถ้ายังมาสายเป็นประจำอีกเราก็เรียกมาว่ากล่าวตักเตือนให้เขาได้ยั้งคิด  เรียกมาอบรมเพื่อปลูกจิตสำนึก   ถ้ายังมาสายอีกก็ให้เขาไปบำเพ็ญประโยชน์โดยให้เขาไปสอนเรื่องจิตอาสา  (จิตสำนึกสาธารณ)   เพื่อที่จะให้เขารู้ว่าก่อนที่จะสอนคนอื่นเขาจ้องทำได้ก่อนถึงจะมีคนปฏิบัติตามที่เขาสอน  ตอนนี้ถ้ายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผมในฐานะหัวหน้างานคงต้องสั่งย้ายให้ไปทำงานที่อื่น  หรื่อไล่ออกแล้วแต่สถานการณ์

ปล.ถ้าให้ผมเลือกลูกน้องผมจะไม่เลือกคนเก่ง  ผมจะเอาคนที่มีความสามารถมากกว่ามีหัวใจเป็นนักพัฒนาไม่ใช่ทำงานตามหน้าที่เพียงอย่างเดียวแล้วจะดูเรื่องจิตอาสา

 

3.ถ้าท่านประกอบวิชาชีพสาธารณสุขท่านจะปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีจรรยาบรรณ

                ตอบ  ก่อนอื่นจะทำงานเราจะต้องมีความรู้  ความสามารถและสิ่งที่สำคัญคือการสร้างภาคีเครือข่าย  (ใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขตอนนี้ยังไม่มี  แต่ถ้าบอกว่าจรรยาบรรณน่าจะใช้ได้  เพราะตอนนี้เพิ่งร่างใบประกอบวิชาชีพ พรบ.ยังไม่ผ่าน  งานของเราคือ  ส่งเสริมสุขภาพ  และการป้องกันโรค)  โดยจะมีการปฏิบัติตัวดังนี้

                1.การทำงานไม่ให้มองประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง  แต่ให้มองประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ

                2.สร้างหรือผลักดันให้เกิดมิตรภาพในการทำงาน  ให้ความสำคัญกับทุกฝ่าย  จะทำให้องค์กรของเราขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

                3.การกำหนดนโยบายเราต้องค้นหาปัญหาที่ชุมชนหรือหน่วยงานนั้นต้องการที่จะพัฒนาจะได้แก้ไขปัญหาสุขภาพได้ถูกจุดและตรงกับปัญหา  (ไม่ใช่นั่งเทียนในการกำหนดนโยบาย)

                4.ทำงานด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต  ไม่เอารดเอาเปรียบผู้อื่น

                5.ปลูกฝักให้ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานมีจิตอาสาหรือจิสำนึกสาธารณะเพื่อที่ทำตัวให้เป็นแบบอย่างในการทำงาน  (สังคมเปลี่ยนไปมีแต่การแก่งแย่งชิงดีทำงานเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน   ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร)

                6.สิ่งที่สำคัญอีกประการ  คือ  การให้ผู้มารับบริการในสถานบริการสาธารณสุขจะต้องเกิดความพึงพอใจ  ทุกคนได้รับบริการที่เท่าเทียมกัน

                7.นักวิชาการสาธารณสุขไม่แสวงผลประโยชน์จากงานในหน้าที่  สร้างความน่าเชื่อถือ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #จิตอาสา
หมายเลขบันทึก: 268925เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ปล.ถ้าให้ผมเลือกลูกน้องผมจะไม่เลือกคนเก่ง ผมจะเอาคนที่มีความสามารถมากกว่ามีหัวใจเป็นนักพัฒนาไม่ใช่ทำงานตามหน้าที่เพียงอย่างเดียวแล้วจะดูเรื่องจิตอาสา

ปัจจัยมีหลายด้าน ในแต่ละปัจจัยจะมีค่าในปริบทที่ต่างกัน คือ ปัจจัยด้านความรู้จะไม่มีความสำคัญเท่าประสบการณ์ในการทำการเกษตร(ไปดำนา) แต่ถ้าหากทำวิจัยคงปฏิเสธความรู้ไม่ได้และไม่สามารถใช้ปัจจัยประสบการณ์อย่างเดียวจะเพียงพอต่อการวิจัย

การเลือกใช้จึงให้ดูที่ปริบทเป็นหลักว่าปัจจัยใดมีความจำเป็นที่เราจะต้องใช้ เราต้องเลือกเอาทุกอย่างที่มันดีให้ได้มากที่สุด หากเป็นไปไม่ได้เลือกให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราจะทำให้ได้มากที่สุด

สู้ๆๆๆ

 P

1. เล็ก
เมื่อ พฤ. 18 มิ.ย. 2552 @ 14:45
1357119 [ลบ] [แจ้งลบ]

ขอบคุณพี่เล็กมานะครับสำหรับคำแนะนำพอดีผมเรียนวิชาจริยธรรมสาธารณสุข
อาจารย์ให้โจทย์มา3ข้อก่อนเรียนเพื่อให้มาวิเคราะห์
ขอบคุณสำหรับแง่คิดดีๆๆครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท