สรุปบทเรียน 12 ปีอิสรชนฯ(2)


สามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นได้ตามกลุ่มเป้าหมาย ปรับได้ตลอดเวลา ทำได้ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 3 คืน 2 วัน หรือ 4 คืน3 วัน ถ้าในลักษณะการเป็นฐาน สามารถทำได้ตั้งแต่ 4 ฐาน ถึง 16 ฐาน แล้วแต่ความจำเป็นและความเร่งด่วนของกลุ่มเป้าหมาย ความวิกฤตของกลุ่มเป้าหมาย ความจำเป็นในเรื่องของสถานที่ ระยะเวลา งบประมาณ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายอาจจะเป็นกลุ่มที่อยู่ในขั้นวิกฤต กลุ่มที่เสี่ยง กลุ่มที่เป็นแค่เติมความรู้ ที่สมบูรณ์คือ 4 คืน 3 วัน เด็กสามารถที่จะคิดวิเคราะห์ทั้งตนเองและเป็นกลุ่มได้ สามารถตั้งทีมทำงาน สร้างแกนนำให้เพื่อน ๆ

วัตถุประสงค์การทำงานของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน

1.            เพื่อส่งเสริมอุดมคติคนหนุ่มสาว ให้เป็นคนมีจิตใจอาสาสมัครในการรับใช้สังคม

2.            เพื่อทำการศึกษาวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมทางสังคม

3.            เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่น มีการรวมกลุ่มในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างเข็มแข็งด้วยตนเอง

4.            เพื่อส่งเสริมสังคม ชุมชน มีสุขภาวะที่ดี

5.            เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาสังคม

6.            เพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และ ชุมชน

7.            เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน        

8.            เพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

9.            เพื่อส่งเสริมการดำรงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม

10.    เพื่อส่งเสริมและสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชนให้เข็มแข็ง

11.    เพื่อประสานงานร่วมมือกับองค์กรสาธารณประโยชน์อื่นในการส่งเสริมและ พัฒนาสังคม

12.    เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม

13.    ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

วิธีการในการจัดการเรียนรู้

ใช้กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนแล้วตามด้วยวิชาการ ใช้วิธีการเล่น และบทบาทสมมติ แสดง เล่าประสบการณ์ชีวิตจริง วิเคราะห์จากสถานการณ์จริง สื่อ วีดีโอ และเหตุการณ์จากหนังสือพิมพ์ หรือการเข้าไปหาข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาในพื้นที่จริง แล้วค่อยสรุปบทเรียนอีกที

 

รูปแบบในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

รูปแบบการหิ้วกระเป๋าเข้าไปในชุมชน แนะนำตนเอง แนะนำโครงการให้กับผู้นำชุมชน แล้วก็คุยกับเด็กเยาวชน โดยเริ่มจากกระเป๋าใบเดียว ตุ๊ก ๆ แท็กซี่ แล้วเริ่มมีอุปกรณ์เพิ่มขึ้นตามที่ได้เรียนรู้จากกลุ่มเป้าหมายที่เข้าไปคุยด้วย แล้วนำมาจัดกิจกรรมตามที่กลุ่มเป้าหมายต้องการหรืออยากจะมี การเปิดพื้นที่ให้กลุ่มเป้าหมายได้แสดงออก เริ่มจากอุปกรณ์ที่มีแผ่นพลิก เข้าไปคุยกลุ่มย่อยธรรมดาด้วยแผ่นพลิก และพัฒนามาเป็นแผ่นใส ใช้สไลด์ การให้ความรู้ผ่านเกมส์ จนกระทั้งมาถึงการใช้ละครหุ่น ฉายหนังเร่

ซึ่งเริ่มมาจากโครงการ “สโมสรข้างถนน” ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจาก World bank นำสรุปหลักสูตร ครั้งแรกมาทดลองใช้ในพื้นที่

สื่อสร้างสานเสริมสุข ที่มีตัวละคร จุก แกละ โก๊ะ เปีย ลงไปเล่นละครหุ่นให้กับเด็ก ๆ  เริ่มติดต่อโครงการครูข้างถนน กทม. ในปี 2546 ที่ไทยพาณิชย์ปาร์ค ซึ่งตอนหลังก็พัฒนามาสู่

ห้องสมุดสุขภาพสัญจร โดยมีการฉายแผ่นใส ฉายหนัง ผ่านโทรทัศน์ 14 นิ้ว และหลังจบการฉายหนังก็มีการจับกลุ่มสนทนาเพื่อให้เด็ก ๆ ได้คิด และมีกิจกรรมที่เสริมสร่างกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านการเล่น ซึ่งในภายหลังได้พัฒนามาเป็น

โรงหนังเร่สัญจร  ที่ขยายการฉายหนังจากจอโทรทัศน์มาเป็นการฉายผ่าน LCD กับโรงหนังที่มีขยายใหญ่ โดยการเย็บจอหนัง เพื่อเป็นการขายการทำงานที่มีกลุ่มเป้าหมายที่มีการขยายการเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

            จนล่าสุดในปี 2551 สมาคมฯได้รับบริจาค รถโมบาย จากองค์การ แอดชั่นเอดส์แห่งประเทศไทย และได้พัฒนาโครงการมาเป็น โครงการ อาสาพาน้องผู้ด้อยโอกาสไปสู่คุณภาพชีวิตที่เปี่ยมสุข ที่ทำรถโมบายเป็นห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้เคลื่อนที่ ที่นำสื่อการเรียนรู้ต่างรวบรวมอยู่ในรถโมบาย เมื่อไปจอดในพื้นที่สาธารณะก็จะกางรถโมบายออกทั้งสองข้างเพื่อเปิดให้เด็กเข้ามาเรียนรู้ มาเล่น ทำกิจกรรมต่าง บนรถ หรือรอบ ๆ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเอง และสุดท้ายก็จะปิดท้ายด้วยการฉายหนัง ซึ่งทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น กลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาตนเองมากขึ้น

            กิจกรรมเป็นตัวสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำไปคิดและไปค้นหาคำตอบด้วยตนเอง และอีกส่วนการเรียนรู้หนึ่งที่เปิดโอกาสให้อาสาสมัครเข้ามาเรียนรู้ ในการร่วมกิจกรรม หรือที่เรียกว่า โรงเรียนข้างถนน เพราะคำว่าโรงเรียนข้างถนนของทางสมาคมไม่ใช่การที่อาสาสมัครเข้าไปสอน แต่เป็นการที่อาสาสมัครเข้าไปเรียนรู้ร่วมกันกับกลุ่มเป้าหมาย โดยถือกลุ่มเป้าหมายเป็นครู ไปเรียนรู้ว่าเขาอยู่อย่างไร กินอย่างไร ประสบอะไรมาถึงมาอยู่ที่ตรงนี้ ซึ่งในอีกมุมที่เราได้คือ เขาไดพัฒนาร่วมกันทั้งอาสาสมัครและตัวกลุ่มเป้าหมายเราเอง เพราะกลุ่มเป้าหมายก็จะสนใจที่จะเรียนรู้อาสาสมัคร และเกิดการพัฒนาตนเอง เช่น กรณี ที่มีนักศึกษาแพทย์ลงไปเรียนรู้ร่วมกันทำให้เห็นพัฒนาการที่ว่าเมื่อนักศึกษาแพทย์เหล่านี้มาเป็นหมอเขาจะได้รักษาคนอย่างไม่รังเกียจหรือเลือกปฏิบัติ ในการรักษา และตัวกลุ่มเป้าหมายเองก็จะรู้จักพัฒนาตนเอง มีกระบวนการคิด เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มเด็กดังกล่าวที่สนใจหรือมีความฝัน ให้เป็นความหวังและทำฝันให้เป็นจริง

 

ย้อนแนวคิดหรือพัฒนาการในการจัดการศึกษา ทำไมถึงเลือก ?

มีส่วนที่อิสรชนค้นพบ เมื่อไปทำกิจกรรม ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายไม่ได้หยุดนิ่ง ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเดีวแล้วจบ กลุ่มเป้าหมายเคลื่อนที่ตลอด กลุ่มเป้าหมายอยากเรียนรู้มากขึ้น อยากจะมีกิจกรรมเป็นของตนเอง อยากมีพื้นที่แสดงออก พัฒนาการเปลี่ยนไปตามสิ่งที่ค้นพบ ร่วมถึง ผลกระทบจากภายนอก เช่น สถานการณ์ทางการเมือง ค่านิยมแฟชั่นที่เปลี่ยนไป วัฒนธรรมอื่น ๆ ค่านิยมใหม่ ๆ สถานการณ์ทางการเมือง ปี 2548 – 2549 งบประมาณถูกตัด

 

Good practice ของกิจกรรมโมบายทักษะชีวิต

สามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นได้ตามกลุ่มเป้าหมาย ปรับได้ตลอดเวลา ทำได้ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 3 คืน 2 วัน หรือ 4 คืน3 วัน ถ้าในลักษณะการเป็นฐาน สามารถทำได้ตั้งแต่ 4 ฐาน ถึง 16 ฐาน แล้วแต่ความจำเป็นและความเร่งด่วนของกลุ่มเป้าหมาย  ความวิกฤตของกลุ่มเป้าหมาย ความจำเป็นในเรื่องของสถานที่ ระยะเวลา งบประมาณ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายอาจจะเป็นกลุ่มที่อยู่ในขั้นวิกฤต กลุ่มที่เสี่ยง กลุ่มที่เป็นแค่เติมความรู้  ที่สมบูรณ์คือ 4 คืน 3 วัน เด็กสามารถที่จะคิดวิเคราะห์ทั้งตนเองและเป็นกลุ่มได้ สามารถตั้งทีมทำงาน สร้างแกนนำให้เพื่อน ๆ ได้

 

Best practice  ของกิจกรรมโมบายทักษะชีวิต

1.            การเข้าถึงและดึงศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายออกมาเพื่อแก้ปัญหาของตัวกลุ่มเป้าหมายเอง การสร้างแกนนำผ่านกระบวนการแล้วเข้าไปทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย วิธีการเข้าถึงและดึงศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายออกมา การปรับและพัฒนาหลักสูตรภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายตลอดเวลาสม่ำเสมอ

2.            ไม่ทำงานคนเดียวแต่จะประสานงานร่วมกับองค์กรในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ องค์กรชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ ชาวบ้าน คนในชุมชน ครอบครัวในชุมชน

 

ปัญหา /อุปสรรค

1. การสื่อสารระหว่างบุคลากร กลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน ภาครัฐ ปัญหาเรื่องของบุคลากรที่ไม่เข้าใจการทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย ทัศนคติในการทำงาน

2. ความร่วมมือขององค์กรและผู้นำชุมชน ซึ่งแต่ละชุมชนจะมีไม่เหมือนกันต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจ

3. การย้ายถิ่น เคลื่อนย้ายไปตามครอบครัว แล้วก็กลับสู่ที่เดิม

4.การบริการของรัฐที่ไม่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การประกาศของรัฐให้ทำจริงแต่เข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย

5.ผู้รับบริการไม่มีข้อมูลที่แท้จริง ไม่สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างแท้จริง

6.เด็กออกมาเร่ร่อนตั้งแต่อายุ 14 ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่ภาครัฐเป็นผู้จัดให้ มาสร้างครอบครัวในพื้นที่ เมื่อมีบุตรก็ไม่ทราบข้อมูลที่จะนำลูกเข้าถึงการศึกษาที่ภาครัฐเป็นผู้จัดให้ หรือไม่มีกำลังพอที่จะพาลูกเข้าสู่ระบบการศึกษา เพราะไม่มีบัตร ไม่มีหลักฐานใด ๆที่จะแสดงความเป็นคนไทย ทำให้ขาดสิทธิต่าง ๆ มากมาย

7.งบประมาณในการทำงานด้านอุปกรณ์ที่ขาดแคลน

 

ข้อเสนอแนะ

     สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ตามความเหมาะสม เริ่มจากการเข้าไปพบปะพูดคุย สร้างความคุ้นเคย แล้วเสนอทางเลือกให้ เช่น กลับบ้านด้วยตนเอง ทำงาน เป็นต้น

     สร้างกระบวนการเรียนรู้ทางเลือก คือ ใช้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว ให้กลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง มีกิจกรรมให้เด็กได้ทำตามใจตนเอง

     ภาครัฐควรนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาเสริมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ เพราะ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมาก

 

หมายเลขบันทึก: 269651เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท