สร้างเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ


จิตสำนึกเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัย

สร้างเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ

การบริหารองค์การสมัยใหม่ในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญกับเรื่องวัฒนธรรมองค์การ โดยเฉพาะวัฒนธรรมความปลอดภัย หรือ Safety Culture อย่างเร็ว ๆ นี้ กระทรวงวัฒนธรรมก็ให้ความสำคัญกับเรื่องการส่งเสริมและสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในสังคมไทย  เรามาเรียนรู้กันดีกว่าว่า เราสามารถสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีความสำคัญขนาดไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์การด้านการบิน

ก่อนอื่น เราขอกล่าวถึงคำว่า วัฒนธรรมความปลอดภัย ที่มักใช้บ่อยในการอธิบายถึง

วิธีการจัดการความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และสะท้อนถึงทัศนคติ ความเชื่อ การรับรู้

และค่านิยมของพนักงานที่แสดงออกถึงความสัมพันธ์กับความปลอดภัย [อ้างอิงจาก

COX, S.J. & COX, T. (1991) The structure of employee attitudes to safety -

a European example Work and Stress, Vol.5 No.2, pp.93 – 106.]

ดังนั้น การสร้างเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดในองค์การได้นั้นต้องเป็นกระบวนการที่

ช่วยหล่อหลอมคุณลักษณะและทัศนคติที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทั้งในระดับองค์การและระดับ

ปัจเจกบุคคลเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

แล้วองค์การจะมีวิธีการสร้างเสริมความปลอดภัยให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์การได้อย่างไร

 

ในที่นี้ เราขอกล่าวถึงการสร้างเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการให้บริการควบคุมจราจร

ทางอากาศ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับองค์กร ระดับหน่วยงานและสภาพแวดล้อมใน

การปฏิบัติงาน และระดับผู้ปฏิบัติงาน (Human Factor) [อ้างอิงจาก

Richard H.Wood, Aviation Safety Programs : A Management Handbook,

3rd Edition, 2003.]

การเสริมสร้างความปลอดภัย ปัจจัยระดับองค์กร (Safety Organization Improvement)

เป็นการบริหาร/การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง (Top Management) ในการกำหนด

นโยบายด้านความปลอดภัย การกำกับดูแล การควบคุม ตรวจสอบและประเมินผลอย่างจริงจัง

และต่อเนื่อง การจัดองค์กร การวางแผนงานด้านความปลอดภัย การจัดการอย่างเป็นระบบ

และการบริหารการจัดงบประมาณหรือทรัพยากรให้เหมาะสมเพียงพอต่อภารกิจ

การเสริมสร้างความปลอดภัย ปัจจัยระดับหน่วยงาน เป็นการบริหาร/การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสายงาน (Line Management) ในการจัดเวลาและการปฏิบัติงาน การกำกับดูแล ติดตาม ควบคุม ตรวจสอบ การวางแผนงานและการสั่งการ การบริหารจัดสรรงบประมาณหรือทรัพยากรที่พอเพียงและเหมาะสมต่อภารกิจ และการฝึกอบรมพนักงานที่ได้มาตรฐานผ่านกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลอย่างมีคุณภาพ (Quality Control)

 

การเสริมสร้างความปลอดภัย ปัจจัยระดับบุคคล (Human Factor) เป็นการหาวิธีการป้องกันหรือควบคุมมิให้เกิดความไม่ปลอดภัยรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของคนหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคน อันเนื่องมาจากการขาดทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ (Lack of Skill) การขาดเทคนิคในการแก้ไขปัญหา (Lack of Technology) การพลั้งเผลอ (Slip)/หลงลืม (Lapse) การตัดสินใจผิดพลาด (Lack of Decision) การกระทำผิดซ้ำ ๆ โดยไม่รู้ตัว (Poor of Mistake) การฝ่าฝืนกฎระเบียบ (Violation) สภาพร่างกายอ่อนแอ อ่อนล้า (Fatigue) และเกิดความเครียด (Stress) สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานไม่ดี (Lack of Environment) เช่น แสง สี เสียง อุณหภูมิ ไฟฟ้าสถิต ฯลฯ วิธีปฏิบัติงานไม่ชัดเจน ปฏิบัติได้ยาก (Unclear Procedure) ระบบเทคโนโลยีและอุปกรณ์ไม่สมบูรณ์ ซับซ้อน ล้าสมัยไม่เหมาะสมต่อภารกิจ บุคลากรขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยี ระบบเครื่องมือสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ การติดต่อสื่อสารไม่ชัดเจน (Lack of Two-way Communication) ขาดการกำกับดูแลที่ดี (Lack of Supervision) และขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)

แนวทางในการลดความผิดพลาดระดับบุคคล (Human Error)

1.  ปรับปรุงวิธีปฏิบัติงาน (Revised Procedure)

2.  สร้างมาตรฐาน (Standardization)

3.  เลือกใช้คนให้ตรงกับงาน (Choose the right staff)

4.  ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (Adjust work schedules)

5.  ควบคุมคุณภาพ (Quality Control)

6.  ปรับปรุงการติดต่อสื่อสาร (Improved Communication) ให้ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน

     (Clear and Concise)

7.  ติดตามข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยในภารกิจที่รับผิดชอบ

8.  จัดงบประมาณส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัย

9.  การกำกับดูแล ตรวจสอบ ประเมินผลต้องมีประสิทธิภาพและกระทำอย่างต่อเนื่อง

 

วัฒนธรรมความปลอดภัยในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ต้องเป็นลักษณะของพฤติกรรม การแสดงออกและจิตสำนึกที่ก่อร่างรวมตัวกันขึ้นจากการกระทำและทัศนคติขององค์การและบุคคล ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายและตั้งใจแน่วแน่ในการรับรองว่าจะให้ความสำคัญในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศก่อนเสมอและเหนือกว่าสิ่งอื่นใด”

หมายเลขบันทึก: 270711เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท