การบริหารจัดการโรงเรียนบ้านคลองกำ สพท.กระบี่


การบริหารจัดการโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

                ผู้เขียนได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองกำ สพท.กระบี่ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 จวบจน
วันนี้ก็
6 เดือนกว่าแล้ว จึงมีประสบการณ์ตรงที่ใคร่อยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่าน ดังนี้
               โรงเรียนบ้านคลองกำ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตั้งอยู่บนเกาะกลางหน้าเมืองกระบี่ หมู่
3 ตำบล
คลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีนักเรียน
341 คน ครู 16 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน วิทยากรอิสลาม 1 คน และ
ภารโรง
1 คน รวมทั้งผู้เขียนซึ่งเป็นผู้บริหารด้วย จำนวน 19 คน โรงเรียนตั้งอยู่ในหมู่บ้านคลองกำซึ่งเป็นหมู่บ้านของ
พี่น้องมุสลิม ร้อยละ
100 พื้นที่บริการของโรงเรียนครอบคลุมบ้านคลองกำ บ้านคลองประสงค์ และบ้านเกาะเกลาง ซึ่ง
หมู่บ้านคลองประสงค์จะมีพีน้องชาวพุทธอยู่บ้าง แต่นักเรียนที่มาเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านคลองกำ มีนักเรียนชาวพุทธ
เพียง
1 คน เท่านั้น จากสภาพชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนที่เป็นชาวมุสลิมโดยส่วนใหญ่ ประกอบกับนักเรียน
ในโรงเรียนเป็นมุสลิมถึงร้อยละ
99.71
                  หลังจากได้ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรในโรงเรียน และ

ประชาชนในชุมชนทั้ง 3 ชุมชนแล้ว ผู้เขียนจึงดำเนินการบริหารจัดการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Management : CBM) ซึ่งคำภาษาอังกฤษจะเรียกว่าอะไรก็ตาม แต่ผู้เขียนยินดีที่จะเรียกว่า เป็นการบริหารแบบ CBM สาเหตุ

สำคัญที่ทำให้ผู้เขียนตัดสินใจใช้การบริหารจัดการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนั้น ด้วยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของ

ชุมชน มิใช่ของผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง หรือของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของทุกคน ทุกฝ่ายจึงต้องมีส่วนร่วม

ในการบริหารจัดการ และในการบริหารจัดการนั้นต้องจำลองชุมชนมาไว้ในโรงเรียน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือจัดสภาพ

แวดล้อมและวิถีชีวิตของนักเรียนภายในโรงเรียนให้สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน จากหลักการดังกล่าว

ข้างต้นประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการแล้ว พบปัญหาสำคัญว่า โรงเรียนและ

ชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีเท่าที่ควร ในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการนั้น ผู้เขียนดำเนินการดังนี้

                1. ประชุมเพื่อนครูและภารโรงเพื่อแนะนำตนเอง ทำความรู้จักกันในเบื้องต้น สอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหาและ

ความต้องการ

                2. กล่าวแนะนำตนเองแก่นักเรียนทุกคน

                3. สำรวจข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจากนักเรียนทุกคน โดยเข้าไปพบกับนักเรียนในชั่วโมงว่าง

หรือเมื่อเข้าสอนแทน

                4. ประชุมร่วมกับคณะกรรมการนักเรียน เพื่อรับทราบสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ

                5. ร่วมพูดคุยแบบไม่เป็นทางการกับนักเรียนกลุ่มที่ครูคัดกรองแล้วว่ามีปัญหาด้านพฤติกรรม เพื่อรับรู้ความรู้สึก

สภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียน

                6. ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อแนะนำตนเอง รับทราบปัญหา และความต้องการ และ

ขอคำแนะนำในการบริหารจัดการโรงเรียน

                7. แนะนำตนเองที่มัสยิดบ้านคลองกำ บ้านคลองประสงค์ และบ้านเกาะกลาง หลังพิธีละหมาดวันศุกร์ พร้อมทั้ง

ขอคำแนะนำในการบริหารและการจัดการโรงเรียน

                8. ประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อแนะนำตนอง รับทราบปัญหาและความต้องการรวมทั้งขอคำแนะนำใน

การบริหารจัดการโรงเรียน
               หลังจากนั้นได้ประชุมเชิงปฏิบัติการบุคลากรของโรงเรียนโดยนำข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหา
และความต้องการ
จัดเรียงลำดับความสำคัญ แล้วประชุมคณะกรรมการนักเรียนอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับทราบผลการศึกษา
วิเคราะห์ข้อมูลสภาพ
ปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ อีกทั้งพิจารณาผลการจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการ เมื่อคณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเป็นชอบแล้ว จึงประชุมคณะบุคลากรของโรงเรียนเพื่อทราบและวางแผนการดำเนินงานโดยใช้วงจรแห่งความสำเร็จ
PDCA และประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน ผู้ปกครองและ ชุมชนทราบโดยการจัดประชุม ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย และโดยการไปพบปะกับพี่น้องประชาชนตามหมู่บ้านต่าง ๆ เมื่อวางแผนแล้ว(Plan : P) จึงปฏิบัติตามแผน(Do : D) มีการนิเทศติดตาม ประเมินผล (Check : C) และนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา (Act : A)
                จากการสำรวจความพึงพอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552
พบว่า
               
1. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนโดยรวมในระดับน้อย(ร้อยละ
56.21) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 56.17)
               2. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับน้อย(ร้อยละ 64.74) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 60.67)
               3. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อความประพฤติของนักเรียนในระดับน้อย(ร้อยละ 58.17) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 63.82)
              4. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครูในระดับน้อย(ร้อยละ 57.05) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 62.25)
              5. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อผลการเรียนของนักเรียนใน
ระดับน้อย(ร้อยละ
56.58) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 68.21)
              6. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน
(กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม การแข่งขันกีฬา และกิจกรรมทางวิชาการ เป็นต้น)ในระดับน้อย(ร้อยละ
42.86) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 48.32)
              7. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อความสะอาดเรียบร้อยของ
โรงเรียนโดยทั่วไปในระดับน้อย(ร้อยละ 63.87) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 62.76) 
              8. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของครูในระดับน้อย
(ร้อยละ
48.72) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 59.06) 
              9. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของนักการภารโรง
ในระดับน้อย(ร้อยละ
50) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมาก (ร้อยละ 55.06)
           10. ก่อนที่ผู้เขียนจะย้ายมาโรงเรียนบ้านคลองกำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้บริหารในระดับ
น้อย(ร้อยละ
39.61) แต่ในปัจจุบันมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 63.09)
             ผู้เขียนได้นำผลการประเมินไปดำเนินการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนบ้านคลองกำให้เป็นโรงเรียนของชุมชนอย่าง
แท้จริงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอเชิญผู้อ่านทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำแนะนำแก่ผู้เขียนด้วยครับ

 

หมายเลขบันทึก: 271547เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอเป็นกำลังใจให้ท่านได้ทำงานอย่างมีความสุข คิดว่าด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจและความทุ่มเทของท่านจะเกิดผลดีกับเด็กและชุมชนแน่นอน มีความประทับใจด้วยอัธยาศัยและเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของท่าน คิดว่าในอนาคตท่านจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

ด้วยความศรัทธา

ครูประถม

ขอเป็นกำลังใจให้ท่าน เพราะการศึกษาไทยยังต้องการคนดี คนเก่งและคนที่ตั้งใจจริงในการพัฒนาการเรียนการสอน สู้สู้ต่อไปค่ะ

ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจ

ขอผองเราจงมุ่งมั่นสร้างอนาคต

ของชาติไทยผ่านทางเด็กไทย

ที่มีคุณภาพกันเถิด

ถือเป็นการบริหารจัดการที่ดีครับ ควรได้รับการเผยแพร่ต่อไป เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการกับที่โรงเรียนอื่นๆ ที่มีสภาพใกล้เคียงกันครับ ขอเป็นกำลังใจในการทำงานต่อไปครับ

ขอบคุณทุกความเห็นครับ

และขอเป็นกำลังใจกับทุกท่าน

ให้สู้งาน สู้เพื่อเด็กไทยและ

ประเทศไทยของเราครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ท่านบริหารโรงเรียนและเน้นชุมชนเป็นฐาน

ในฐานะผมศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านคลองกำ ผมดีใจมากที่มี ผอ.โรงเรียนให้ความำสำคัญกับชุมชนและตั้งใจบริหารโรงเรียน

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ ดีใจที่มีบุคลากรเก่งๆ มีความคิดดีๆ และความตั้งใจจริง ศิษย์เก่าเหมือนกันค่ะ

ปล คนข้างบนเป็นไงมั่ง กลับมาอยู่กระบี่แล้วซิ ชีวิตหลังแต่งงานสนุกมั๊ย ว่างๆแอดมานะ [email protected]

ขอบคุณศิษย์เก่าทั้ง 2 ท่าน จะขออนุญาตทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ไหมครับ เช่น รุ่น...พ.ศ..... ทีอยู่ หรือ หมายเลขโทรศัพท์...ไม่มีเจตนารบกวนท่าน ในเรื่องการบริจาคเงิน...แต่ผมกำลังจะจัดเลี้ยงน้ำชา...โดยไม่ขอรับบริจาค แต่เป้าหมายสำคัญคือ อยากจะจัดตั้งชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านคลองกำ เนื่องจาก โรงเรียนของเราจากสายตาของบุคคลภายนอกและคณะครู น.ร. เห็นพ้องกันว่า ร.ร.ของพวกเราก้าวหน้าไปมาก...การระดมความคิดเห็นจาก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด...โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิษย์เก่า ทั้งที่อยู่ใกล้และไกล...มีหลายสิ่งที่กำลังทำไม่เฉพาะกับ น.ร. แต่กำลังต่อสู้ กับความยากจน และความด้อยโอกาสของพี่น้องประชาชนบนเกาะกลางครับ ...ระบบทุนนิยมกำลังล้อมกรอบพี่น้องเราบนเกาะกลาง...ที่ดินที่เป็นของ พี่น้องบนเกาะเหลือเพียง 30% เท่านั้น โรงเรียนจึงต้องปรับวิธีเรียนเปลี่ยน วิธีสอน เพื่อเตรียมน้อง ๆ ลูกหลานพวกเราให้เผชิญกับปัญหาในอนาคตได้ อย่างสง่างาม คือ มีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มีแนวทางการดำเนินชีวิตตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
           
                                  ชายหาดบ้านคลองกำอันสวยบริสุทธิ์

คุณวิระ บุตรฤทธิ์ และคุณซัมซี ครับ ติดต่อกับผมที่ [email protected] หรือ 089-7272738

เบอร์ติดต่อ 0878363959

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท