การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก


แก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นโดยจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น

การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น (Multigrade Class)

                                 Dr.  Gary Ovington  ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การยูนิเซฟ  สหประชาชาติ ได้กำหนดสาระสำคัญของการจัด
การเรียนรู้แบบคละชั้น ดังนี้
                     
1.  ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
       การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น  หมายถึง  การสอนในระดับประถมศึกษา สำหรับเด็กต่างชั้นต่างกลุ่มอายุ
ซึ่งมีความสามารถต่างกัน  แต่นำมาจัดการเรียนรู้พร้อมกัน โดยมากมักจะจัดรวมกัน
เป็นชั้นเดียว
       การจัดการเรียนรู้ในลักษณะนี้มีชื่อเรียกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค  หรือแต่ละประเทศ เช่น Multlevel,
Split level, Multi Program Class (ในประเทศคานาดา) Multi – age, Multi Class, Composite
Class, Combination Class  
Vertical Group, Family Class, Unitary Schools (สำหรับโรงเรียนที่มีครูคนเดียว)
                     2.  เหตุผลความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
                          2.1  อัตราการเกณฑ์เด็กเข้าเรียนต่ำ   มีจำนวนนักเรียนน้อยเกินไป  ลักษณะนี้มักจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก
ที่อยู่ห่างไกล  ประชากรอยู่กระจัดกระจาย  นักเรียนในแต่ละชั้นน้อยเกินไป และ
สิ้นเปลืองงบประมาณถ้าจะจัดครู 1 คน
ต่อ 1 ชั้น 
                    
     2.2  อัตราการเกณฑ์เด็กเข้าเรียนสูง  มีนักเรียนมากเกินไป จำนวนครูไม่เพียงพอ  ในบางประเทศที่มีการ
รณรงค์ เรื่อง  การศึกษาเพื่อปวงชน  (EFA) จะมีการเกณฑ์เด็กเข้าเรียนสูง ครูที่ได้รับการอบรมเพื่อจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม
มีน้อยมาก

                          2.3  เหตุผลทางปรัชญาการศึกษา  ในบางประเทศ  เช่น  ประเทศออสเตรเลีย  แนวคิด เรื่องการจัดการเรียนรู้
แบบคละชั้นมีใช้ทั่วไปแม้ในเมืองใหญ่ซึ่งมีครูเพียงพอและสอนชั้นเดียว  เนื่องจาก
เชื่อว่าการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
เป็นประโยชน์แก่เด็กทั้งด้านพัฒนาการทางสติปัญญาและการพัฒนาทางสังคม /อารมณ์
                     3. การวิเคราะห์วิธีจัดชั้นเรียนในโรงเรียนแบบคละชั้น
                         ในการจัดชั้นเรียนแบบคละชั้น ควรคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐาน ภูมิหลังของครูและเหตุผลในการจัดเด็กแต่ละชั้น
มารวมกัน
                     4. บทบาทหน้าที่การสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติและระดับเขตพื้นที่การศึกษาสำหรับการจัดการเรียนรู้
แบบคละชั้นที่มีประสิทธิภาพ
                     5. ความรู้ ทักษะ สมรรถนะและเจตคติที่จำเป็นสำหรับครูผู้สอนแบบคละชั้น
                     6. วิธีการจัดการเรียนรู้และการจัดกลุ่มนักเรียนสำหรับการเรียนการสอนแบบคละชั้น
                     7. การเขียนแผนการเรียนรู้แบบคละชั้น
                     8. ฝึกปฏิบัติการสอนแบบคละชั้น              
                    
9. 
การสังเกตการสอนในชั้นเรียนแบบคละชั้น
                   10.  การวัดและประเมินผล

                    เอกสารอ้างอิง
                   Ovinton,  Gary.  การสอนแบบคละชั้น : การแก้ปัญหาในโรงเรียนขนาดเล็ก # 1  การประชุมปฏิบัติการ
การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น (Multigrade  Schooling)    จัดโดย  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และองค์การยูนิเซฟ     ณ โรงแรมอเล็กซานเดอร์  
กรุงเทพฯ แปลข้อความโดย จรรยา  เรืองมาลัย ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ  สำนักงาน
เขตพื้นที่
การศึกษานครสวรรค์  เขต 1 (เอกสารประกอบการประชุม 2931 ตุลาคม  2550)  
                   Ovinton,  Gary.   “Multigrade Teaching & Learning Methods” เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรม
การบริหารจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานและองค์การยูนิเซฟ    ณ โรงแรมมาริไทม์
ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท 
 กระบี่  26 – 30 พฤศจิกายน 2550 
                   วสันต์  ปัญญา  การบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
เอกสารหมายเลข 43/2550  กลุ่มบริหารงานวิชาการ  โรงเรียนบ้านถ้ำเพชร  สังกัดเขตพื้นที่การศึกษากระบี่  2550 
(อัดสำเนา) 

                    ต้องการศึกษาเอกสารผลงานทางวิชาการ เรื่อง การบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กโดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น    ให้ไปที่ http://www.klonggom.com ที่หน้าเว็บ ตรงผลงานครู คลิ๊กที่ ชื่อ

นายวสันต์  ปัญญา นะครับ

  

 

 

หมายเลขบันทึก: 271777เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2009 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท