ใกล้บ้านใกล้ใจ...แด่ผู้ป่วยจิตเวช


         ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยทางสุขภาพจิตและจิตเวชจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการบำบัดรักษาจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบเครือข่ายทางสุขภาพจิต ซึ่งโรงพยาบาลแพร่เป็นแม่ข่ายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาและการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดยา สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ร่วมกับครอบครัวและชุมชนอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

           แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีผู้ป่วยทางจิตที่ยังได้รับยาไม่สม่ำเสมอเนื่องจากขาดปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ  บางรายขาดผู้ดูแลหลักต้องอยู่คนเดียว  บางรายญาติไม่ต้องการเพราะขณะอาการกำเริบจะก้าวร้าวทำร้ายคนอื่น บางรายผู้ดูแลอยู่ในวัยชราภาพ       ทำให้ผู้ป่วยทางจิตขาดคุณภาพชีวิตที่ดีเนื่องจากขาดการรับรู้ในโลกแห่งความเป็นจริง  มีอาการกำเริบซ้ำบ่อย ๆ ต้องกลับไปรักษาแบบผู้ป่วยในที่รพ.สวนปรุงสร้างปัญหาให้กับชุมชน และยิ่งในปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชหลายรายขาดยาเนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับยาที่โรงพยาบาลแพร่

         งานจิตเวชโรงพยาบาลสองตระหนักถึงปัญหานี้ดี โดยได้ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทางจิตเวชเหล่านี้และได้ประสานงานกับจิตเวชรพ.แพร่ในการแก้ไขปัญหา จึงต้องเสียสละเวลาส่วนตัวไปรับยาแทนจากรพ.แพร่ บางครั้งก็ต้องโทรศัพท์ประสานงานกับงานจิตเวชรพ.แพร่ให้ช่วยฝากยาไปกับรุ่นพี่ที่กำลังเรียนในระดับปริญญาโทสาขาสุขภาพจิตและจิตเวชที่คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นที่เดียวกับกับตัวเจ้าหน้าที่งานจิตเวชรพ.สองกำลังศึกษาอยู่เช่นกัน ทำอยู่อย่างนี้มาสักระยะหนึ่งก็รู้สึกว่าดีต่อผู้ป่วยและญาติโดยสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางและไม่ขาดยา และเมื่อหันมามองว่าผู้ป่วยอีกหลาย ๆ คนก็มีปัญหาคล้าย ๆ กันจึงได้ปรึกษากันกับงานจิตเวชรพ.แพร่ในการแก้ไขปัญหาการขาดยาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  มีความเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการประสานงานช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ให้ได้รับยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างต่อเนื่องจึงได้ร่วมกันทำโครงการใกล้บ้านใกล้ใจแด่ผู้ป่วยจิตเวชโดยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ให้สามารถรับยาได้ที่ฝ่ายจิตเวชโรงพยาบาลสอง โดยฝ่ายจิตเวชโรงพยาบาลแพร่จะทำการเบิกยาเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ป่วยและให้การนัดหมายวัน-เวลาให้ผู้ป่วยโดยประสานกันกับโรงพยาบาลสองว่าวันไหนจึงจะสะดวก เริ่มต้นนัดมากลุ่มแรกเมื่อเดือนสิงหาคม  2551  จำนวน 16 ราย โดยเริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายจิตเวชของโรงพยาบาลสองไปแวะรับยาให้ผู้ป่วยในช่วงบ่ายวันศุกร์เพราะต้องเดินทางไปศึกษาต่อที่จังหวัดเชียงใหม่โดยมีการทำงานประสานกันกับจิตเวชโรงพยาบาลแพร่ตลอด และนี่คือที่มาของโครงการใกล้บ้านใกล้ใจแด่ผู้ป่วยจิตเวช  ทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบาย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและได้รับยาอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งได้รับการประเมินสภาพจิต  ได้รับการปรึกษาและการบำบัดทางจิตควบคู่กันไป   ลดอัตราการกำเริบซ้ำและ Readmit ลงและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างผาสุกร่วมกับชุมชน และเป็นที่ยอมรับของชุมชนได้ต่อไป และในโอกาสพัฒนาต่อจากโครงการนี้คือการรวมกลุ่มสร้างความเข้มแข็งของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช ทีมงานสุขภาพจิตได้จัดการอบรมเพื่อสร้างเครือข่ายพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยทางจิตให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภท และการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปอย่างยั่งยืน

 

หมายเลขบันทึก: 271988เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถึง ทีมจิตเวช รพ.สอง

ดีใจที่ได้เห็นความห่วงใยและเอาใจใส่ผู้ป่วย ตลอดจนการทำงานเิชิงรุกของทีมจิตเวชของโรงพยาบาลแห่งนี้ เท่าที่อ่านจะประสบการณ์การทำงานของที่นี่ มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ

การทำ case management ที่เรียกว่า Bokerage Model หรือ ผู้ดูแลทำหน้าที่ติดต่อประสาน เพื่อให้คนไข้ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง ซึ่งตอนนี้ทางโรงพยาบาลก็ได้พยายามทำอยู่แล้ว และนับว่าประสบความสำเร็จพอสมควร

มีหลายแนวคิดที่น่าจะลองประยุกต์ใช้ เช่น Medication Adherance, Therapeutic Alliance, Symptom Management และ Patient Expert Program เพราะเป็นแนวคิดทีช่วยให้คนไข้สามารถดุแลตัวเองได้ดีกว่า (มีเจ้าหน้าที่ไปเรียนที มช อยุ่แล้ว อาจจะมีแนวคิดดีๆ มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนไข้)

อุตสาห์ทำโครงการทั้งที ก็น่าจะลองทำวิจัยในงาน R2R ก็จะเป็นประโยชน์กับทีมทำงาน

ร่วมเป็นกำลังใจ และยินดีแลกเปลียนเรียนรู้ในฐานะคนจิตเวชเหมือนกัน

มาให้กำลังใจนะคะ จริงๆแล้วชอบงานสุขภาพจิตมาก ด้วยข้อจำกัดบางประการ..จึงถอยมาเป็นกำลังใจอยู่ห่างๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท