ภาษาเขมร บทที่ ๘ พยัญชนะคู่เสียงอโฆษะ/โฆษะ และ เครื่องหมาย ់ /bαntαq/


พยัญชนะคู่เสียงอโฆษะ/โฆษะ

พยัญชนะคู่เสียงอโฆษะ/โฆษะ

ในภาษาเขมรมีพยัญชนะคู่เสียงทั้งหมด ๒๒ คู่ สีแดงคือเสียง "ออ" หรือ อโฆษะ สีน้ำเงินคือเสียง "โอ" หรือโฆษะ

เครื่องหมาย ់ /bαntαq/

เครื่องหมาย /bαntαq/ เป็นเครื่องหมายที่ใช้เขียนบนตัวพยัญชนะตัวสะกด ซึ่งพยัญชนะต้นประสมกับสระ อะ หรือ สระ อา เมื่อใส่เครื่องหมายนี้ลงไปจะทำให้เสียงยาวกลายเป็นเสียงสั้น

កក/kααk/น้ำแข็ง                 .........>     កក់/kαq/สระ

សក/sααk/ปอก, ลอกออก     .........>     សក់/sαq/ผม

បក/bααk/ ปอก, เลี้ยว, กลับ    .........>     បក់/bαq/พัด, โบก

ចប/cααp/ จอบขุดดิน           .........>     ចប'/cαp/ จบ

កង/kααη/ เสียงดัง               .........>     កង់/kαη/ รถจักรยาน

ចាប/caap/                          .........>     ចាប់/cap/ จับ

 ពាក្យ/เปีย/คำ                      .........>      ពាក់/เปี๊ยะ/สวมใส่

មាន/เมียน/มี                      .........>      មាន់/มวน/ไก่

หมายเหตุ     สัญลักษณ์ Phonetic ที่ใช้ประกอบคำอ่านอ้างอิงจากหนังสือ Cambodian system of writing and beginning reader with drills and glossary by Franklin E. Huffman

 


หมายเลขบันทึก: 272118เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 01:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์เก่งจังเลยค่ะ หนูทำงานที่สุรินทร์มา 13 ปี และเกิดที่บุรีรัมย์อีกต่างหาก หนูไม่สามารถพูดภาษาเขมรแบบเป็นประโยค หรือฟังเข้าใจแบบเป็นประโยคหรือเรื่องราวได้เลย เข้าใจแค่คำศัพท์บางคำเท่านั้นเอง...

ดีใจมากเลยค่ะ ที่ได้เข้ามาอ่านงานอาจารย์ ทำให้หนูคิดถึง วัน เวลา ที่อยู่ที่สุรินทร์ มีโอกาสได้ศึกษา แต่ก็ละทิ้งโอกาสนั้นไป

เป็นกำลังใจให้อาจารย์ทำงานสำเร็จดังใจหวัง และได้เผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นสุรินทร์ต่อไปนะคะ

:)

អរគុណច្រើន

***អក្សរា***

ขอคำว่าละครหน่อยได้ไหมคร่า

ครูให้หาแต่หาไม่เจออ่าคร่า

ส่งมาที่เมลล์นี้นะค่ะ

[email protected]

ไม่ทราบว่าคำว่าอำเภอ Prash Sdach อ่านว่าอย่างไรครับ

Prash Sdach = ប្រស់ស្តេច  ​:) ชื่อนี้อยู่ที่แขรมร์หรือเปล่าถ้าใช่ น่าจะเป็นคำว่า ព្រះស្តេច มากกว่าหรือเปล่าคะ ????

คำว่า ប្រស់សេ្ដច. แปลได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับการใช้ คือ ผู้ชายกษัตริ,ท่านชายผู้เป็นกษัตริ,ท่านเทวดา,

คำว่า ព្រះសេ្ដច ใช้ได้หลายโอกาสขึ้นอยู่กับการใช้ คือ พระมหากษัตริย์, กษัตริย์, กษัตริ์ผู้เป็นที่รัก, กษัตริย์ของข้าผู้น้อย, องค์ในหลวง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท