ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา-เอสโซ่ ปี 2552 : อศจ.เชียงใหม่


โครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา-เอสโซ่ ปี 2552

อศจ.เชียงใหม่ จัดประกวดโครงงานฯ ตามแผนปฏิบัติงานโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา-เอสโซ่ ประจำปี 2552 โดยการจัดประกวดที่   สถานที่ วิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง เป็นเจ้าภาพ หลังจากวิทยาลัยการอาชีพจอมทองได้เป็นเจ้าภาพปีก่อน จากการประชุมวางแผนก่อนจัดครั้งนี้ ถึงแม้ว่า วิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จะได้เป็นเจ้าภาพ ก็มีการนำเสนอสถานที่จัดเช่น ศูนย์ไอทีในอำเภอเมือง เนื่องจากเจ้าของสถานที่ยินดีให้ใช้สถานที่โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมก็เห็นพ้องต้องกันว่า  ควรจะจัดที่วิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง เพื่อ วิทยาลัยฯ อื่น ๆ ในสังกัดของ อศจ. เชียงใหม่ ได้แก่  วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่  วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ วิทยาลัยการอาชีพฝาง  วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง และน้องใหม่ล่าสุด วิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีสารภี ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยือนกัน อีกทั้งจะเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงกิจกรรมต่าง ๆ  ของสถานศึกษาให้เครือข่ายอาชีวศึกษาด้วยกันและสถานศึกษาใกล้เคียงได้ทราบถึงกิจกรรมนี้

 

วันที่  25-26  มิถุนายน 2552  กำหนดการประกวดแข่งขัน 2 วัน ล้อกับการประกวดในระดับภาค ที่วันแรกจะเป็นการนำเสนอของโครงงาน ทั้งระดับ ปวช. และ ปวส. วันที่สอง คณะกรรมการให้คะแนนการจัดบอร์ดและซักถามกรณีที่ยังติดใจสงสัยบางประเด็นของโครงงานฯ



Photobucket

 

 

สิ่งที่สะท้อนในการจัดการประกวดโครงงานวิทย์ระดับ อศจ.เชียงใหม่ ครั้งนี้คือ

bottom จำนวนโครงงาน ป็นที่น่ายินดีว่า  เรามีโครงงานที่เข้าร่วมประกวด จากโควตาที่จะต้องได้รับการคัดเลือกเพื่อส่งเข้าประกวดในระดับภาค ภาคเหนือ ครั้งที่ 19 ที่จังหวัดพะเยา คือ ระดับ ปวช. 4 โครงงาน แต่มีเข้าร่วมประกวดถึง 14  โครงงาน ดังนั้น จึงมีโครงงานที่จะต้องขับเคี่ยวกันในระดับ ปวช. ค่อนข้างมากกว่าปีก่อน ๆ  และโควตาโครงงาน ระดับ ปวส. จำนวน 4 โครงงาน ส่งเข้าประกวด 5 โครงงาน

 

bottom ประเภทโครงงาน  จากที่กำหนดไว้มี 4 ประเภทคือ การทดลอง  การสำรวจ   สิ่งประดิษฐ์และทฤษฏี ในครั้งนี้ก็มีโครงงานเกือบครบทุกประเภทยกเว้นประเภททฤษฎี  ระดับ ปวช. ได้แก่  เครื่องอัดถ่านแท่งจากเปลือกและเม็ดลำไย, การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการเลี้ยงโคนมใน อ.แม่ออน, วัฏจักรน้ำ, อยู่ไหนก็เจอ, เรือลอยน้ำขับเคลื่อนด้วยจักรยาน, เครื่องอัดกระป๋องออกกำลังกาย, กระเบื้องเศษแก้ว, ข้าวปุ๊ลิ้นจี้, อนุบาลลดโลกร้อน, การพัฒนาผลิตภัณฑ์สาหร่ายอบกรอบจากผักพื้นบ้าน, ความมหัสจรรย์ของสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ, ชักโครกประหยัดน้ำ, อุปกรณ์ช่วยหัดเดิมกึ่งอัตโนมัติสำหรับผู้ป่วยและมะกรูดกันยุงไข่  ระดับ ปวส. ได้แก่ ป.ปลาตากลม, เครื่องย่อยใบไม้, การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทกข้าวป๊อบ, ผลการใช้สมุนไพรขมิ้นชันและใบสาบเสือ  พัดลมเปิดปิดตามระดับอุณหภูมิ 

bottom วันเปิดงาน   พร้อมเพียงด้วยคณะผู้บริหารและตัวแทนผู้บริหารจากสถานศึกษาใน อศจ. เชียงใหม่  โดยมี ร้อยตรีอธิป  นันทตันติ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง ได้เป็นประธานในการเปิดงานและเข้าเยี่ยมชมโครงงานฯ ตามบอร์ดที่จัดเตรียมไว้ที่หอประชุม ซึ่งจัดเตรียมได้พอดีกับจำนวนโครงงาน

 

 

 Photobucket
 


bottom การนำเสนอโครงงาน
   การจัดครั้งนี้ ได้กำหนดการนำเสนอที่ห้องประชุมชั้น 3 ของตึกอำนวยการ โดยให้ โครงงานระดับ ปวส. นำเสนอก่อน แล้วตามด้วย โครงงานระดับ ปวช. ในภาคบ่าย  ลักษณะการจัดแบบนี้ เอื้อให้ทั้งครูที่ปรึกษา นักศึกษาและนักเรียน ทั้งสองระดับ ได้เข้าฟังการนำเสนอของเพื่อนที่ต่างระดับกัน  ทำให้เกิดบรรยากาศที่คึกคักยิ่งขึ้น เพราะทั้งหมดมารวมตัวกันในห้องประชุมนี้  การจัดครั้งนี้ด้วยระยะเวลาที่กำหนดไว้ 2 วัน จึงทำให้คณะกรรมการตัดสินการประกวดได้มีเวลาในการพิจารณาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้มากขึ้น

 

bottom คณะกรรมการตัดสินการประกวด   อย่างที่ได้เกริ่นไว้เริ่มต้นก่อนจะมีการจัดประกวดฯ ครั้งนี้ ได้มีการประชุมโดยได้ให้แต่ละสถานศึกษาได้จัดส่งรายชื่อ ครูที่จะเป็นกรรมการทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. ถึงแม้ว่า สถานศึกษาแห่งนั้นจะไม่มีเปิดการเรียนการสอนในระดับ ปวส. ก็ตาม ทั้งนี้ เพื่ออย่างน้อย ครูสอนวิทยาศาสตร์ของแต่ละสถานศึกษาจะได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและได้ทำงานร่วมกัน รวมถึง การศึกษางาน เผื่อกรณีที่ได้รับเป็นเจ้าภาพในปีถัดไป จะเรียนรู้วิธีการจัดการในการจัดงานประกวดฯ  และจากการจัดครั้งนี้  มีจำนวนของครูสอนวิทยาศาสตร์หลายท่าน พึ่งเป็นเวทีแรกของการเป็นคณะกรรมการในการตัดสินการประกวด ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีครูสอนวิทยาศาสตร์และผู้มีประสบการณ์ในการตัดสินการประกวดโครงงานฯ ช่วยแนะนำชี้แจง เกณฑ์หรือวิธีการสังเกตโครงงานฯ เพื่อจะให้โครงงานฯ ของ อศจ. เชียงใหม่ ได้มีโอกาสเข้ารอบลึก ๆ ในการประกวดต่อไป


 

 

 Photobucket

 

bottom นักเรียน/นักศึกษา ที่เข้าร่วมส่งผลงานประกวด ได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอผลงาน จากเพื่อนรุ่นพี่และรุ่นน้อง การตอบข้อซักถาม การเรียงลำดับขั้นตอนการตอบคำถาม การได้รับข้อเสนอแนะชี้แจงจากคณะกรรมการตัดสิน นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ได้ประสบการณ์จากเวทีแรกของพวกเขา เห็นผลงานของนักเรียนนักศึกษาจากสถานศึกษาอื่น ถึงแม้จะเป็นสถานศึกษาเล็ก ๆ ที่สามารถแสดงความสามารถได้ทัดเทียมกับสถานศึกษาใหญ่และสถานศึกษาที่อยู่ในเมือง ซึ่งพร้อมไปด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่เสาะแสวงหาได้อย่างหลากหลายกว่า

 

จากงานนี้ เราได้ตัวแทนที่เข้าไปร่วมการประกวดในระดับภาค ภาคเหนือ จำนวนทั้งหมด 8 โครงงาน นับรวมทั้ง ปวช.และปวส. ความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลงานที่ได้เข้าร่วมเท่านั้น  แต่เราได้ทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ได้นำความรู้ความคิด ประสบการณ์ที่มีอยู่มาสร้างสรรค์ผลงานและจะพยายามพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของครูวิทยาศาสตร์ในกลุ่ม อศจ. เชียงใหม่ ที่โอกาสที่จะได้ร่วมงานทางวิชาการโดยตรงแบบนี้ ค่อนข้างมีจำกัด การเปลี่ยนถ่ายความคิดและประสบการณ์ของครูวิทยาศาสตร์รุ่นใหญ่ (สอนมานาน) สู่ครูสอนวิทยาศาสตร์รุ่นน้องที่จะก้าวเข้ามาแทน ก็เป็นสิ่งที่การจัดงานในครั้งนี้ต้องการเช่นกัน  พบกันใหม่ปีหน้า....  ที่วิทยาลัยการอาชีพฝาง


 นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์ ศึกษานิเทศก์  เขียนวันที่ 29 กรกฎาคม  2552
 
จากการร่วมเป็นคณะกรรมการในการตัดสินการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา-เอสโซ่
 ประจำปี
~2552 อาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ที่ วิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จ.เชียงใหม่
 บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ
 ผู้ที่จะนำบทความ รูปภาพไปตีพิมพ์ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เขียนเท่านั้น
 ผลงานและสิ่งพิมพ์ของผู้เขียน ปรับปรุงข้อมูล วัน อังคาร, 30 มิถุนายน 2552
 ติดต่อผู้เขียนที่  [email protected]  
 

หมายเลขบันทึก: 272179เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราควรส่งเสริมในด้านนี้ต่อไปคับ ไม่มีความเห็นแล้วคับ

กำลังคิดทำโครงงานอยู่เหมือนกันแต่ว่าคิดไม่ออกเลยว่าจะทำเรื่องอะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท