วงน้ำ SHA ที่ท่าบ่อ
รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย

ข้าวต้มอุ่นรัก หยอดกระปุกบาทเดียว


เช้าวันนี้ฝนตกอีกแล้ว ฉันคว้าร่มกันฝนอันเล็กขึ้นมากาง เดินขึ้นไปโรงพยายาบาล เห็นผู้เฒ่าผู้แก่ เต็มพื้นที่โรงพยาบาลไปหมด

"คุณหมอ กินข้าวต้ม บ่อ=กินข้าวต้มมั้ยยย.". อสม.คนหนึ่ง เรียกให้แวะกินข้าวต้ม ที่เตรียมมาบริการคนไข้เบาหวาน

วันนี้มีคลินิกโรคเบาหวานนี่เอง........คนไข้เบาหวานที่ถูกมาแต่ละวันเกือบร้อยคน เราต้องเตรียมคนให้พร้อมบริการทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพยาบาล หมอ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ โภชนากร นักกายภาพบำบัด

เคยมีอุบัติการณ์คนไข้เป็นลม ขณะรอรับยา เพราะหิวข้าว แถมด้วยมาจองคิวตั้งแต่ตีสี่ บางคนให้หลานเอาบัตรคิวมาเสียบไว้ตั้งแต่สองทุ่ม

การแก้ปัญหาของคนไข้เพื่อประทังความหิวขณะรอ ด้วยการเตรียมข้าวมาทานหลังเจาะเลือด การกินข้าวด้วยกัน(สุ่มกัน) หลายๆคน กินไปคุยกันไป มันทำให้ทานอาหารได้เยอะ และข้าวที่เตรียมมานั่นแน่นอนว่าต้องเป็นข้าวเหนียว บางครั้งหน้าทุเรียนอย่างเช่นตอนนี้ กลิ่นทุเรียนก็อบอวลไปทั่ว

หลายครั้งที่ทีมเบาหวาน พูดคุยกันเพื่อแก้ปัญหา "การมีข้าวต้มบาทเดียว" เป็นส่วนหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนและจิตอาสาจาก อสม. ที่เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน โดยได้รับคำแนะนำสูตรอาหารสำหรับเบาหวานจากโภชนากร และการทุ่มเทของโภชนากรในการให้คำแนะนำและฝึกคนไข้จนปัจจุบันคนไข้ไม่นำข้าวเหนียว อาหารและผลไม้มาเอง

"แซ่บหลาย..คุณหมอ...ฉันกินไป สองชามแล้ว" คนไข้คนหนึ่งบอกกับฉัน

"สองชามเลยเหรอป้า โภชนากรให้กินได้เท่าไร...คะ" ฉันลองแหย่คนไข้

"กะบ่ให้กินหลาย แต่อดบ่ได้" คนไข้เริ่มไม่อยากคุยกับฉัน

คนไข้เราส่วนหนึ่ง ปฏิบัติตัวไม่ค่อยได้ตามคำแนะ แต่ด้วยความร่วมมือของทีมงาน จึงพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้คนไข้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

"วันนี้ หมอ....เพิ่นสอนดีหลาย ได้คู่มือมาด้วย" คนไข้คนบอกกับฉันหลังจากเสร็จจากการทำกลุ่ม

"อ่านได้อยู่เนาะ สายตายังดี = อ่านได้นะคะ" ฉันยิ้มให้คนไข้

"ได้อยู่ ไม่งั้นก็หลานอ่านให้" คุณป้าตอบฉัน

"เอาคนมาซอยเฮาๆๆหลายๆคนเด้อค่า..........เขาก็จะได้ปฏิบัติตัวถูกไปด้วย" ฉันเสริมคนไข้

ตอนเที่ยง ฉันไปเจอคนไข้ที่โรงอาหารอีกครั้ง "ยังบ่ได้กลับ เหรอคะ" ฉันถามคนไข้

"ได้กลับแล้ว...แวะมากินข้าวก่อน...บ้านอยู่ไกล" คนไข้พร้อมใจกันตอบ

"กินข้าวเหนียวตาม โภชนากร แนะนำเด้อ.." ไม่รู้คนไข้จะเบื่อฉันหรือเปล่า

วันที่มีคลินิกเบาหวาน ร้านอาหารของโรงพยาบาลก็เอาด้วย ด้วยการที่ทำอาหารปลา รสจืดและอาหารประเภทผักต้ม ผักสดมามากมาย ซึ่งถูกใจคนไข้ คนไข้เลยต้องแวะมาอุดหนุนก่อนกลับบ้านทุกที

ฉันคิดในใจอย่างภาคภูมิว่า หน่วยงานของฉันทั้งองค์กรทุกส่วน ต่างช่วยกันและร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อให้การดูแลคนไข้ ไม่เว้นแม้แต่ร้านอาหารของโรงพยาบาล อย่างนี้คนไข้เบาหวานของเรา คงไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการปฏิบัติตัวและพฤติกรรมต่างๆที่สามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ก็ลดน้อยลง

ฉันโทรไปหาน้องที่รับผิดชอบ คลินิกเบาหวาน ในช่วงบ่าย เมื่อคนไข้เริ่มทะยอยกลับ "พี่ว่า....ทีมเบาหวานเราประสบความสำเร็จไปแล้วหลายขั้นแล้วละ"

แต่เราต้องพัฒนาต่อไป

                 "ฉันเอง"

บันทึกจากหน้าห้องตรวจเบาหวาน

 

หมายเลขบันทึก: 272348เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ ป้าแดงจ๋า

ข้าวต้มอร่อย คนไข้จะทานเยอะ อิอิ

ขอไปชิมสักสองชาม อิอิ

  • สวัสดีค่ะ อ.พอลล่า
  • อร่อยจริๆงค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ป้าแดงเองเหรอ อิอิ
  • นึกว่าสาว ๆ พยาบาล
  • อิอิ

สาวค่ะสาว สาวพยาบาลค่ะ อิอิอิ

อ้าว  ป้าแดงเหรอคะ

แวะมาทักทายด้วยคนนะคะ

รักษาสุขภาพนะคะ

มีคนรู้จัก เป็นเบาหวานหลายคน บางคนก็ไม่ร้ายแรง แต่บางคนร้ายแรงมากจนตาบอด ก็มีค่ะ โรคนี้ ต้องดูแลตลอดเลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท