จัดเป้ไปเที่ยวสัปดาห์ธรณีสัญจรควบรวมกับการดำรงชีพในป่า


จัดเป้ไปเที่ยว

หมายเหตุ: บันทึกนี้เป็นการบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำของข้าพเจ้าเองในการจัดเป้ ด้วยเหตุที่ว่าจัดของทีไร จัดไปจัดมา ไอ้โน่นก็ดี ไอ้นี่ก็สำคัญ จัดไำปจัดมา ข้าพเจ้านั้นก็ได้แบกตู้เย็น 7.5 คิวเข้าป่าไปด้วยในการเรียนดำรงชีพครั้งแรกในป่าที่เขากระโจมราชบุรี อิอิ


  สัปดาห์ธรณีสัญจรควบรวมกับการดำรงชีพในป่า  ปีนี้การอบรมนักนิยมธรรมชาติรุ่นใหญ่ของชมรมนักนิยมธรรมชาติได้ควบรวมการอบรมสองสัปดาห์เข้าไปด้วยกัน  ปกติการจัดของไปสัปดาห์การดำรงชีพในป่าก็ลำบากอยู่แล้ว   แต่นี่ยังรวมเอาสัปดาห์ธรณีวิทยาสัญจรที่เหมือนกับเป็นการอุ่นเครื่องการจัดเป้ หาฟืนก่อกองไฟ ทำอาหาร ยุ่งเข้าไปอีกนิด

     สัปดาห์การดำรงชีพในป่า  ข้าวของใช้ทุกอย่างต้องอยู่ในเป้ซึ่งจะไปอยู่บนหลังของเราอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นเป้ของเรานั้นควรจะต้องเบาที่สุด

หมวดของใช้

  1. เป้ Deuter Air Contact 40+10 SL ข้าวของใช้ทุกอย่างถูกบรรจุไว้ในเป้ ซึ่งจะไปอยู่บนหลังของเราอีกทีหนึ่ง ตัวเป้เปล่าๆก็มีน้ำหนักประมาณ 2,250 กรัม  เนื่องจากน้ำหนักของโครงอลูมิเนียมรูปตัวเอ๊กซ์ด้านในและน้ำหนักของผ้าที่ใช้ทำตัวเป้ ผมเคยถามพี่คนหนึ่งเกี่ยวกับเป้รุ่น Lite เพราะว่าแอบอิจฉาในความเบาของเป้ของเพื่อน  แต่คำตอบก็คือระยะยาวนั้นรุ่นที่ไม่ใช่ lite จะดีกว่าเพราะวัสดุคงทนกว่า
  2. มีดเหน็บ 1 เล่ม ของสำคัญในการอบรมการดำรงชีพในป่า ประโยชน์ก็มีตั้ิงแต่ใช้หาฟืน ขุดส้วม กรุยทาง พันด้วยผ้าขาวม้าใช้แทนหมอนก็ได้นะ
  3. มีดพับ Victorinox One-hand trekker ตัวนี้มีหลายฟังก์ชันใช้งาน เป็นมีดพับ ที่เปิดกระป๋อง เปิดฝาน้ำอัดลม ไขควงปากแฉก ไขควงปากแบน แหนบ ไม้จิ้มฟัน ปอกสายไฟ
  4. เทียนไขขนาดกลาง 5 เล่ม ช่วยในการก่อไฟให้ติด ให้แสงสว่างยามค่ำคืน ช่วยให้ซิปทั้งหลายรูดง่าย
  5. ไฟฉาย Petz Tikka XP + แบตเตอรี่ AAA 3 ก้อน ตัวนี้ดีตรงที่ใช้คาดหัว น้ำหนักเบา ปรับความระดับสว่างที่จะใช้งาน(เพื่อประหยัดแบตเตอรี่ไว้ใช้นานๆ) มีโหมดไฟฉุกเฉิน(กระพริบ) การที่ไฟฉายคาดอยู่ที่หน้าผากทำให้มือทั้งสองข้างของเราก็จะเป็นอิสระ ทำกับข้าว หาของ แม้แต่การเดินทางเวลากลางคืนซึ่งมือทั้งสองข้างของเราจะต้องเป็นอิสระ ใช้จับ ยึด กิ่งไม้ เหนี่ยวโหนตัวไปที่สูง หรือการควบคุม ปรับสายเป้(Shoulder strap)เพื่อย้ายจุดที่จะถ่ายน้ำหนักในระหว่างการเดินทาง
  6. สมุดบันทึก+ ปากกา จดบันทึกในระหว่างการเดินไปทำกิจกรรมต่างๆ
  7. Flysheet หลังคาอันอบอุ่นในยามที่ฝนมาเยือน  ในบางครั้งที่ฝนตกหลังๆอากาศเย็นจนไอน้ำกลั่นตัวและหยดเข้าไปเต๊นท์ได้ทำให้ flysheet ที่มากับตัวเต๊นท์นั้นไม่เพียงพอ  การกาง flysheet แยกต่างหาก  โดยกางให้ตึงให้น้ำไหลลงโดยเร็วโดยที่ไม่ขังบนผ้า flysheet  และกางโดยเว้นระยะห่างจากเต๊นท์พอสมควร    สายฝนที่พรำในเวลาติดไฟทำอาหารก็ต้องอาศัย flysheet นี่แหละช่วยไม่ให้กองไฟมอดดับ
  8. Groundsheet
  9. Tent
  10. ถุงนอน Deuter Orbit 500  ผ้าห่มแสนอุ่นของคนเดินทางในป่า น้ำหนักประมาณ 1,110 กรัม ขณะที่ถุงนอน Dreamlite 500 มีน้ำหนักประมาณ 500 กรัม
  11. Daypack แบบพับเก็บได้
  12. ไฟแช็ค
  13. ยางวงรัดของ
  14. ถุงดำขนาดใหญ่มากๆ 3 ใบ
  15. ขวดใส่น้ำ 1.5 ลิตร/เกเตอร์เรต
  16. พัดจีบ
  17. ร่มพับ
  18. กระเป๋ากันน้ำ (Ocean Pack)
  19. หม้อสนาม
  20. กล่องข้าว + ช้อน
  21. ทิชชู่เปียกแบบที่เช็ดก้นเด็ก
  22. เชือกแบนแถบกว้างประมาณ ๒ ซม. (เชือกเปล)
  23. ย่าม
  24. กล้องถ่ายรูป 40D + แบตเตอรี่สำรอง + เมมโมรี่ + 18-55 + ฟิลเตอร์ Protector + C-PL
  25. ผ้าขี้ริ้ว
  26. แก้วน้ำแสตนเลสแบบมีหูจับ Zebra
  27. ถุงพลาสติกใส

หมวดอาหาร

  1. ข้าวสาร 3 kg.
  2. เนื้อหมูเค็ม
  3. น้ำมันพืช
  4. ไข่
  5. เกลือ/น้ำปลา
  6. อาหารกระป๋อง
  7. ผักไม่เสียง่าย
  8. กะปิ
  9. พริกป่น
  10. หอมกระเทียม
  11. ปลาเค็ม

หมวดเสื้อผ้า

  1. ชุดเปียก(เดินป่า)
  2. ชุดแห้ง(ใส่นอน)
  3. ถุงเท้า คู่
  4. ชั้นใน ชิ้น
  5. ถุงกันทาก
  6. รองเท้าแตะ
  7. รองเท้าเดินป่า
  8. ผ้าขาวม้า 2 ผืน
  9. ชุดกรณีฉุกเฉิน

หมวดยา

  1. ยาแก้ปวด 8 เม็ด
  2. ยาหม่อง/ยาทา
  3. ยาทากันยุง
  4. เกลือแร่ 4 ซอง

 สถานที่ที่จะไปนั้น ไม่รู้ครับ รู้แค่เพียงว่าเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ห่างจากกรุงเทพฯในรัศมี ๔๐๐ กิโลเมตร

 

คำสำคัญ (Tags): #จัดเป้
หมายเลขบันทึก: 272650เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท