๓.การประเมินกับการตัดสินใจ


มีการเรียนในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้อง ๑-๓๐๔ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

        ท่านอาจารย์ได้กรุณานำเสนอ powerpoint ซึ่งเป็น presentation ที่จะใช้ประกอบการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ โดยให้ Dr.Susan ช่วยคอมเม้นท์ ความเหมาะสม ถูกต้อง ของเนื้อหาในการนำเสนอ แบบมืออาชีพและมานำเสนอให้นิสิตช่วยดู พอสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

        ท่านพูดถึงภาพรวมของการนำเสนอผลงานในที่ประชุมจากประสบการณ์ตรง ว่าบางครั้งการยึดติดอยู่กับการนำเสนอในที่ประชุม โดยหาได้คำนึงถึงเวลาไม่ เพราะมัวนำเสนอแต่ Research Methodology ซ้ำซาก พอใกล้หมดเวลาที่จะเข้าประเด็นสำคัญของการวิจัย เช่น ผลการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะต่างๆ เวลาก็หมด จึงมิได้มีการซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทำให้พลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย

        Slide แรกขึ้นมาด้วยคำว่า Finale คงหมายถึงจุดสำคัญ สรุปความสำคัญของงานวิจัยกระมัง แล้วตามด้วยการบรรยายถึงรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ เช่น การนำเสนอภาพต่างๆ ของกิจกรรม เริ่มตั้งแต่ ภาพการลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมโครงการ มีทั้ง Researcher, Commentator, ครูประจำการโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิสิตระดับปริญญาตรี ผู้ช่วยนักวิจัย เป็นต้น

        ตามด้วยภาพการกล่างรายงานความเป็นมาของโครงการ ตลอดจนภาพและรายละเอียดของโครงการทั้ง ๔ โครงการ

 

ข้อค้นพบ

        นักเรียน มีการศึกษา Case study มีการสัมภาษณ์ เรียนรู้การทำงานกับครูและให้การช่วยเหลือครู เห็นความก้าวหน้า ของการเรียนรู้ มีการประเมินงานสัปดาห์ต่อสัปดาห์ และจัด Portfolio ตามลำดับสารบัญและเนื้อหา

        ครู ๕ คนสามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดโครงการ ๓ คน สามารถนำผลงานเสนอในการประชุมวิชาการได้ ครูมีความภาคภูมิใจที่ได้ถ่ายทอด เป็นหัวหน้าทีม เพราะได้สอนลูกทีม ตลอดจนได้รับการช่วยเหลือจากนิสิต ในการสืบค้นข้อมูล

 

สรุป

-         เกิดการสอนนักเรียน ทำให้ได้ทั้งความรู้ ทักษะและมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน

-         นักเรียนสามารถเลือกครูที่อยากเข้าเรียนวิชานั้นๆ

-         ครูดีประทับใจ

-         เกิดเหตุการณ์ที่ชื่นมื่น มีความสุข   

 

 

จากนั้นมีการเรียนเนื้อหาในเรื่องแนวทางการประเมิน ๖ ลักษณะ

๑.   Objectives-oriented มีเป้าหมายชัดเจน สังเกตได้ มีเกณฑ์ตัดสินว่า ผ่าน/ไม่ผ่าน

๒.   Management-Oriented

๓.   Goal-oriented

๔.  Expertise-oriented เน้น Value ผู้ประเมินจะต้องมีความรอบรู้ด้านนั้น

๕.  Adversary-oriented การพัฒนาที่รู้รอบหลายๆ เทคนิค เสนอแนะแนวทางการพัฒนาได้

๖.   Naturalist & Participant-oriented การประเมินที่อยู่ในสังคมที่เป็นสภาพจริงคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วม เน้นการประเมินเป็นทีม

 

Metfessel และ Michael (Metfessel and Michael’s Evaluation Paradigm)

๑.   ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินโครงการ

๒.   ร่วมสร้างจุดหมายของโครงการและกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ

๓.   เขียนวัตถุประสงค์เฉพาะให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและวัดได้

๔.  หา/สร้างเครื่องมือวัดและแปลความหมายถึงประสิทธิภาพ

๕.  เก็บข้อมูลตามจังหวะเวลาด้วยเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ

๖.   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการที่เหมาะสม

๗.  แปลความหมายของข้อมูลโดยใช้มาตรฐานการปฏิบัติ

๘.  พัฒนาข้อเสนอแนะเพื่อการนำโครงการไปใช้ในครั้งต่อไป

 

ความสัมพันธ์ของการประเมินกับการตัดสินใจ

-         การประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการเพื่อตัดสินใจเลือกวัตถุประสงค์

-         การประเมินปัจจัยเบื้องต้น เพื่อตัดสินใจเลือกแบบการจัดแผนงานที่เหมาะสมที่สุด

-         การประเมินกระบวนการเพื่อตัดสินใจนำแผนงานที่วางไว้ไปปฏิบัติหรือปรับปรุงอะไรบ้าง

-         การประเมินผลลัพธ์เพื่อตัดสินใจว่าควรปรับปรุงขยายแผนงานหรือควรล้มเลิกโครงการ

 

นิสิตโดย อ.รุ่งโรจน์ นำเสนอประวัติของแคมป์เบล (Donald T. Campbell 1916-1996)

-         ปี ค.ศ. ๑๙๑๖ เกิดที่ Glass lake, Michigan on Nov 20

-         ปี ค.ศ. ๑๙๗๓ เขียนตำราที่มีชื่อเสียงมากคือ Experimentation and Quasi Experimental Designs for Research และ ปี ค.ศ. ๑๙๗๙ เขียนตำรา Quasi- Experimentation: Design and Analysis Issues for Field Settings.

-         ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายจาก U. of Michigan, U. of Chicago and U. of Southern California , Northwestern U, U. of Oslo, etc.

-         แคมป์เบลนำเสนอเรื่องที่เด่นที่สุดคือ การหาความตรง ทั้งความตรงภายนอกและความตรงภายใน นอกจากนั้นยังมีการออกแบบวิจัยเชิงทดลองและกึ่งทดลอง

-         แคมป์เบลถูกจัดไว้ส่วนกลางลำดับต้นๆ ของต้นไม้ทฤษฎีการประเมินในสาขาวิธีการ(Methods)

-         ส่วนนิสิต อ.มัณฑนา ได้นำเสนอประวัติของ Dr.Chen ซึ่งเป็นต้นไม้ทฤษฎีการประเมินในสาขาวิธีการ(Methods) เช่นกัน

 

ครั้งต่อไปวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ งดการเรียนการสอน มีวันหยุดยาวตั้งแต่วันที่ ๔-๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ครั้งหน้าให้นิสิตนำเสนอแต่ละ Model ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

สุเทพ ธุระพันธ์

 

หมายเลขบันทึก: 274435เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินโครงการ"

สวัสดีครับคุณ ไทบ้านผ่า ชุมชนใหหนเข้มแข็งมีคนทำงานเชิงประเด็นชัด หน่วยงานให้ความสนใจครับ ผมเป็นคณะติดตามและประเมินผลโครงการของรัฐในลุ่มน้ำทะลสาบสงขลา ทสจ (สิ่งแวดล้อมจังหวัดครับ)เราได้รับเกียรติมากครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาเป็นกำลังใจนักบริหารค่ะ
  • มาครั้งแรก...เด้งออกไปเครื่องดับค่ะ
  • เข้ามาอ่านอีกรอบ...ไม่ทันเกลอบังเร็วจริง
  • รอติดตาม บันทึกหน้าค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • ตามพี่คิมมาให้กำลังใจนักบริหารเช่นกันค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ

Praput

สวัสดีครับ คุณวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

@ ยินดียิ่งที่ได้พบกันอีกครั้งครับ

สวัสดีครับ คุณครูคิม

@ ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจ

@ นักบริหาร "ใจ" มากกว่า...อิอิ

@ พบกันอีกครั้งบันทึกหน้าครับ

สวัสดีครับ คุณอิงจันทร์ : ลานธรรมคำกลอน

@ อิ่มบุญ สุขใจ ในเทศกาลเข้าพรรษา

@ เป็นสุขที่แท้จริงและยั่งยืนครับ

@ ขอบพระคุณครับ

ติดตามมาให้กำลังใจครับผม

สวัสดีครับ คุณพรชัย มั่นหมาย

@ ขอส่งกำลังใจกลับไปสำหรับการนำเสนอหน้าชั้นในสัปดาห์หน้า

@ ต้นไม้ทฤษฎีการประเมินของ Scriven

@ แล้วอย่าลืมเล่าสู่กันฟังนะ...อิอิ

@ ขอบพระคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท