การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


การพัฒนาทรัพยากรมนุษยเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนามนุษย์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

                เมื่อช่วงวันหยุดเข้าพรรษาที่ผ่านมาผู้เขียนได้ไปศึกษาเอกสารและบทความที่มีผู้รู้หลาย ๆ ท่าน เขียนอธิบายความหมายของ  HRD  ไว้พอสรุปความได้ดังนี้

                1.  Human  หมายถึง  มนุษย์

                2.  Resource หมายถึง  ทรัพยากร  มาจากคำว่า  ทรัพย์ +  อากร  หมายถึงที่มาแห่งทรัพย์  คือ  กำลังความสามารถ  และคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวทรัพยากร (ตัวเรา)

                3.  Human  Resource  หมายถึง  คุณสมบัติที่อยู่ในตัวของมนุษย์  ซึ่งเป็นความสามารถ  เป็นพลังของมนุษย์  เป็นที่มาของทรัพย์ที่สามารถทำให้เพิ่มพูนขึ้นได้และก่อให้เกิดการผลิตและผลผลิตได้

                4.  Human  Resource  Development  หมายถึง  การเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  สติปัญญา  และจิตใจ 

 

คุณสมบัติของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาได้  มีดังนี้

                1.  A.Q.  (Adversity  Quotient )   คือ   ความสามารถทางด้านร่างกายและกำลังใจ        เช่น  สุขภาพร่างกายแข็งแรง  อดทน  และสู้งาน   หรือที่เรียกว่าเป็นคนหนักเอาเบาสู้

                2.  I.Q.  ( Intelligence  Quotient ) คือ ความสามารถทางสติปัญญา เช่น ความเฉลียวฉลาด  ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ตามอายุ   แบบทดสอบการวัด  I.Q. ระบุว่า คนปกติมี  I.Q. = 100  ส่วนคนที่     มีความบกพร่องทางสติปัญญามี  I.Q. ต่ำกว่า  100  ในขณะที่คนอัจฉริยะมี  I.Q เกิน 100                   3.  E.Q.  ( Emotional  Quotient ) คือ  ความสามารถทางอารมณ์  เช่น การมองโลกในแง่ดี  เข้ากับผู้อื่นได้  มีมนุษยสัมพันธ์  ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างให้กับเด็กได้ตั้งแต่อายุ  1 6 ขวบ     หรือความจริงควรสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา   ในโลกของการทำงานคนที่มี  I.Q.  ปกติ  ประกอบกับ  E.Q.  ดี  จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าคนที่มี  I.Q.  ดี  แต่  E.Q. ต่ำ

                4.  M.Q.  ( Moral  Quotient )  คือ  ความสามารถทางด้านจิตใจ  เช่น ระดับจิตใจสูง           มีคุณธรรม  และจริยธรรม    ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันปัญหาที่ทำให้ประเทศชาติพัฒนาได้ช้า            เป็นเพราะว่า  ผู้บริหารประเทศ  ข้าราชการ  นักธุรกิจ   และประชาชน  ขาดคุณธรรม             โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ 

                                               

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ (HRD  in  organization)

                แนวคิดดั้งเดิม   คือ  การเพิ่ม  KASH  เพื่อเพิ่มผลิตผลที่มีคุณภาพ

                K   ( Knowledge )     หมายถึง   ความรู้

                A   ( Attitude )    หมายถึง  ทัศนคติ  แปลว่า  ความพร้อมที่จะกระทำ  คือ เห็นอย่างไรก็จะทำอย่างนั้น 

                S   ( Skill )   หมายถึง  ทักษะ   ความถนัด   ความชำนาญ

                H   ( Habits )   หมายถึง  นิสัยในการทำงานที่ไม่พึงประสงค์  เช่น  เกี่ยงงานผัดวันประกันพรุ่ง  ซึ่งนิสัยอย่างนี้ต้องขจัดให้หมดไป  

                เพราะฉะนั้นถ้าพนักงานคนใดมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง  4  ประการ  ก็จะเป็นผู้ที่มีคุณค่าต่อตนเองและองค์กร  เพราะเป็นผู้ที่ทำเงินให้กับองค์กร  ในขณะที่ตนเองก็มีค่าตัวสูงตามไปด้วย       

                United  Nation  Development  Program   หรือ  UNDP  เป็นองค์กรที่ก่อให้เกิดกระแสหลักในการพัฒนาโดยให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางการพัฒนา  เป็นผู้ฟันธงว่า  การพัฒนาที่แท้จริงต้องเพื่อความสุขของมนุษย์  จึงเรียกว่า  “การพัฒนามนุษย์”  (Haman  Development  :  HD)

                การพัฒนามนุษย์  (Haman  Development  :  HD)  มีความหมายกว้างกว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (Hunan  Resource  Management  :  HRD)  กล่าวคือ  HD  เปรียบเสมือนวงกลมวงใหญ่  โดยมี  HRD  ซ้อนอยู่ข้างในเป็นวงกลมเล็ก ๆ

สรุปได้ว่า  HRD  เป็นส่วนหนึ่งของ  HD  หรืออีกนัยหนึ่ง  HD เป็นเป้าหมายปลายทาง  ส่วน  HRD  เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่เป้าหมาย  คือ การพัฒนามนุษย์นั่นเอง

               

 

คำสำคัญ (Tags): #เรื่องทั่วไป
หมายเลขบันทึก: 274443เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เพราฉะนั้นในการพัฒนามนุษย์ก็ควรเริ่มจากการพัฒนา HRD และ HRM ไปพร้อมๆกันใช่ใหมค่ะ น้องนางบ้านนา

   

AQ กับ IQ พอจะพัฒนาได้ แต่ EQ กับ MQ คิดว่า 80% ต้องมีพื้นฐานมาจากการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิดจนเติบใหญ่เลยนะค่ะ

เนื้อหาน่าสนใจดี อ่านแล้วทำให้เห็นถึงภาพการวิวัฒนาการมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เลยค่ะ

เรื่องของ HRD กับ HRM ยังต้องศึกษาหาความรู้อีกมากค่ะ ขอบคุณน้องอำนวยพร น้องเสงี่ยม และอาจารย์เอก ที่เข้ามาเยี่ยมและร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เข้ามาอ่านได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากโขครับ

ขอบคุณคุณคชินทร์ และคุณวิรัช ค่ะ ที่แวะมาเยี่ยมชม ดีใจที่บทความนี้มีประโยชน์ต่อทั้งสองท่าน

ขอบคุณค่ะพี่ที่แวะมาเยี่ยมชม ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

เป็นวิทยาทานที่ดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท