สัมภาษณ์ : วิทยาศาสตร์สำราญ - นิตยสาร ฅ.คน ฉบับที่ 44


 

 

นิตยสาร ฅ.คน ฉบับที่ 44 มิถุนายน 2552

ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ผมในประเด็นหลักเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการศึกษา

(ภาพบนปกนี่ไม่ใช่ผมนะครับ..แหะ..แหะ)

บัดนี้เล่มเดือนถัดไปได้ออกวางจำหน่ายแล้ว จึงถือโอกาสนำบทสัมภาษณ์มาให้ได้อ่านกัน

โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ pdf ได้จาก

 

http://portal.in.th/buncha/pages/interview/

 แล้วเลือกที่หัวข้อ นิตยสาร ฅ.คน




สำหรับข้อมูลต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางหน้าที่คัดมา และเสียงตอบรับจากผู้อ่านบางท่านครับ

 


หน้า 105






หน้า 109

 


 

เสียงตอบรับจากผู้อ่านบางท่านใน ฅ.คน ฉบับที่ 45

รายแรก : ส่งให้ผมทาง e-mail
"ได้อ่านสัมภาษณ์ในนิตยสาร ฅ.ฅน เจอว่า ท่องกลอนไปเถอะ มันจะจำไปทั้งชีวิต
พอแก่ เราจะเข้าใจมากขึ้น น้ำตาคลอเลย
ก็มานั่งนึกกลอนสารพัดที่เราท่องและยังไม่ลืม แล้วก็นึกถึงบทสวดด้วย"


รายที่สอง : ส่งให้คุณจ๋อ บก. นิตยสาร & ตีพิมพ์ในเล่มถัดไป


 


 

คำสำคัญ (Tags): #สัมภาษณ์
หมายเลขบันทึก: 275400เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ธุ อาจารย์ชิวค่ะ..

วันนี้ต้อมได้ศัพท์ใหม่  ที่ต้องนำไปบอกเจ้ อิอิ  ^^  "วิทยาศาสตร์สำราญ"  ช่างเหมาะกับอาจารย์มากเลย   ทำให้นึกภาพออก    เพราะต้อมกับเจ้มักทึ่งที่อาจารย์สามารถยำ เอ๊ย! มีความสนใจในเรื่องยากๆ อย่างฟิสิกส์และเรื่องสนุกสนานอย่างการพับกระดาษโอริกามิ งี้

รีบกดโพสไปทำไมเนี่ย...

ต้อมกับเจ้มักทึ่งที่อาจารย์สามารถยำ เอ๊ย! มีความสนใจในเรื่องยากๆ อย่างฟิสิกส์และเรื่องสนุกสนานอย่างการพับกระดาษโอริกามิ งี้ ทั้งๆ ที่มันก็ต่างขั้วกันนะ ต้อมว่า

สวัสดีครับ น้องต้อม

        คำๆ นี้เข้าใจว่า คุณจ๋อ - กฤษกร บก.นิตยสาร ฅ.คน เป็นคนคิดครับ คุณจ๋อนี่มักจะมีศัพท์สนุกๆ ฟังง่ายๆ แต่ได้คิดอยู่เรื่อย ดูนี่สิครับ

        ภาพ: ไฟไหม้สวรรค์ 

มีข้อน่าสังเกตอะไรบางอย่างเหมือนกัน คือ นักฟิสิกส์นี่หลายคนแปลงกายไปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น ไปทำงานด้านเศรษฐศาสตร์ (วิเคราะห์หุ้น!) หรือกลายเป็นนักพับกระดาษอาชีพ (เรียกว่า origamist) ก็มีครับ

ดูอย่างคนที่ออกแบบเจ้านกอินทรีตัวนี้สิครับ เป็นนักฟิสิกส์ด้านเลเซอร์มาก่อน

แต่ในทางกลับกัน ไม่เคยมีนักเล่นหุ้น หรือนักพับกระดาษ กลายเป็นนักฟิสิกส์เลยแม้แต่คนเดียว

สรุปว่า นักฟิสิกส์ =   กระมังครับ...ก้าบๆๆ (อิอิ)

 

  • อาจารย์ชิวคะ..

ต้อมว่าเป็ดน่ะเป็น multiple skill ^^ ทำอะไรได้หลากหลายดีค่ะ

 

เมื่อวานซืนไปทานมื้อกลางวันร้านเพื่อนเจ้..ยังนึกถึงอาจารย์ชิวอยู่เลย   พี่จ๊ะพูดถึงด้วย....

สวัสดีค่ะ พี่ชิว ...

ตามเคยค่ะ พี่ชิวมาเก็บความรู้ .. แนวความคิด ... มุมมอง... ถ้าหนูได้อ่านตอนเด็กๆ คงจะรักวิชาวิทยาศาสตร์ มากขึ้นที่เดียวค่ะ ...

แต่ก็ไม่สายยยย ... เก็บไว้เป็นเทคนิคสอนลูกค่ะ อิอิ ...

หนูสรุปเอาเองว่า มองเรื่องที่คิดว่ายาก ...ให้มีเหตุ มีผล ... ผลพิสูจน์ ปรากฏว่าผิดได้.โห้ พี่ชิว ... สุดยอดค่ะ

พี่ชิวว่านานมั้ยกว่าคนไทย(ไม่ทุกคนนะจ๊ะ)เราจะเปลี่ยนมุมมองจากไสยศาสตร์มาสู่วิทยาศาสตร์ ...

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะพี่ชิว

หนุ่ย

สวัสดีครับ ต้อม เนปาลี

        นอกจากนั้น ยังสามารถนำ "เป็ด" ไปทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น (แกงเผ็ด) เป็ดย่าง เป็ดพะโล้ เป็ดปักกิ่ง....เป็ดอบวุ้นเส้น...เอ้ย! มีแต่กุ้งอบวุ้นเส้น นี่หว่า อิอิ

สวัสดีครับ หนุ่ย

         การที่วิทยาศาสตร์ไม่ปักธงเชื่อว่าตนเองเป็นสัจธรรม ไม่มีวันผิด นี่แหละครับ ที่ทำให้วิทยาศาสตร์เติบโตได้

         เพราะการที่พบข้อผิดพลาดของตัว (วิทยาศาสตร์) เอง แต่ละครั้ง จะทำให้เกิดการปรับปรุงให้ความรู้ ความเข้าใจ มีความละเอียดอ่อน และลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ

         แม้ว่าวิธีนี้จะดูน่าเหน็ดเหนื่อย (คือดูเหมือนไม่รู้จบ) แต่ก็มีข้อดี คือ คนรุ่นหลังมาต่อยอด แตกแนวคิด ขยายความ ในสิ่งที่คนรุ่นก่อนได้ค้นพบหรือสร้างสรรค์เอาไว้ครับ

        สำหรับพี่แล้ว ไสยศาสตร์นี่ไม่น่ากลัวเท่า วิทยาศาสตร์จอมปลอม (pseudo-science) ครับ เพราะไสยศาสตร์เห็นได้ชัด บางทีก็อาจจะมีข้อดีด้วย (บางทีนะครับ)

        แต่วิทยาศาสตร์จอมปลอมนี่ ทำตัวเหมือนวิทยาศาสตร์ คือ ฟังเผินๆ เหมือนดี มีเหตุมีผล...แต่เอาเข้าจริงก็เหมือน คนที่ปลอมตัวเป็นหมอ โดยการใส่เสื้อกาวน์ แต่รักษาไม่เป็นนั่นแหละครับ

        ประเด็นนี้เอาไว้จะหาโอกาสขยายความให้ละเอียดอีกทีครับ ตอนนี้ ดูเมฆไปพลางๆ ก่อน ;-)

        ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนบันทึกนี้ครับ ^__^

ได้อ่านแล้วครับ เห็นด้วยกับพี่ชิวในเรื่องการสอบแข่งขันต่างๆอาจทำให้เราลืมความสำคัญของความสนุกที่ได้เรียนรู้ ตอนผมเรียนอนุบาล ชื่ออนุบาลนรินทร ย่านเจริญกรุง (ปัจจุบันไม่มีแล้ว)ครูที่นี่ไม่ดุเด็กเลย ผมชอบวาดหุ่นยนต์ไม่ยอมเรียนบวกเลข ครูก็ให้วาดหุ่นยนต์อย่างเดียว (อารมณ์ว่า...วาดซะให้เข็ด) ผมประทับใจคุณครูใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้ เราจะมีคาบเรียนหนึ่งให้เด็กๆไปที่ห้องครูใหญ่ ครูใหญ่จะเล่าเรื่องราวน่ารู้ที่น่าสนใจให้ฟัง ซึ่งผมมาทราบทีหลังว่าคุณครูใหญ่อ่านมาจากหนังสือสารานุกรม ด้วยความประทับใจนั้นเอง ผมรบเร้าคุณแม่ให้ซื้อชุดสารานุกรมมาไว้ประจำบ้าน เวลาได้อ่านแล้วยิ่งเพิ่มความกระหายใคร่รู้มากขึ้น

เมื่อเข้าโรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม ความสนุกในการเรียนรู้ก็หายไปเรื่อยๆ เพราะในห้องเรียนแข่งขันกันสูงมาก คนที่ได้คะแนนดีจะได้ไปยืนโชว์ตัว หรือชักธงชาติ มีเสียงตามสายประกาศเกียรติประวัติ ตอนนั้นผมก็เรียนแข่งกับเพื่อนๆด้วย การเรียนก็แย่ลง กลับบ้านก็รู้สึกแย่ ก่อนสอบก็รู้สึกแย่ หลังสอบก็รู้สึกแย่ บางครั้งผลสอบออกมาดีกว่าเดิมก็ยังไม่พอใจอยู่ดี เพราะยังไม่เป็นที่หนึ่ง

ผมกลับมาสนุกกับการเรียนรู้อีกทีตอนไปเรียนที่ประเทศนิวซีแลนด์ ผมไปอยู่ที่นั่นประมาณ 7 เดือน คนประเทศนี้ไม่เน้นเรียนครับ ครูใหญ่พูดแต่เรื่องกีฬา เขาคุยกันเรื่องที่ทำอะไรตอนวีคเอนด์ ไม่มีใครถามกันเรื่องเกรดเลย เวลาทำรายงานส่งครู เขาจะให้เรากำหนดหัวข้อให้ตัวเอง แล้วไปค้นคว้าในห้องสมุดเอาเอง เราอยากจะเอาเรื่องอะไรมาเล่าให้เพื่อนฟังก็ได้ เวลาเรียนวิทยาศาสตร์ก็ออกไปทำการทดลองนอกห้องเรียน สนุกมากครับ นับแต่นั้นผมก็กลับมาสนุกกับการเรียนอีกครั้ง และไม่ชี้วัดคุณค่าของคนที่ผลการเรียนอีกต่อไป

ผมขอเป็นกำลังใจให้พี่ชิวในการทำงานต่อไป เชื่อว่าถ้าคนอย่างพี่ไม่ท้อ สังคมไทยยังมีทางออกครับ

ขอบคุณมากครับ ปอม

เป็นประสบการณ์จริงที่น่าจะให้เด็กๆ สมัยใหม่ได้รับรู้ไว้ครับ เพราะเดี๋ยวนี้ เด็กถูกแรงผลักดัน พลังการตลาด รวมทั้งค่านิยม "ความดัง" (ซึ่งไม่จีรัง และฉาบฉวยมากๆ) ทั้งฉุด ดึง และดัน ให้ "เหนื่อย" เกินไปหรือเปล่า? น่าคิด...น่าคิด....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท