โครงการ LLEN
ประโยชน์ โครงการ LLEN คุปต์กาญจนากุล

บ้านตะโละใส ... ปฏิรูปการเรียนรู้ (2)


บ้านตะโละใส ... ปฏิรูปการเรียนรู้ (2)

“ปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการ”

          ผมชอบวิธี บูรณาการ ของครูโรงเรียนนี้ ครูแต่ละท่านถ้าถามว่าบูรณาการคืออะไร?... ส่ายหัวตอบไม่ได้ แต่พอให้เล่าวิธีการจัดโครงสร้างและรูปแบบการเรียนการสอน...นี่มัน บูรณาการแบบทำได้จริง ชัดๆ ในเส้นทางการเรียนรู้ ที่ใช้เนื้อหาใกล้ตัวที่นักเรียนสนใจเลือกเรียนเป็น กิจกรรม เดินเรื่อง ครูสามารถบูรณาการสาระการเรียนรู้ได้ทุกขั้นตอนของเส้นทางการเรียนรู้เมื่อมีโอกาส

          เช่นวันหนึ่งขณะเดินทางไปวิจัยมีฝนตกและฝนกำลังจะเริ่มหยุดครูปรึกษากับนักเรียนว่าจะทำอย่างไร
นักเรียนเสนอว่าควรทำ “โนอา” อธิษฐานขอให้ฝนหยุดตก ครูก็ชวนนักเรียนอธิษฐาน และฝนก็หยุดตกพอดี (ในความเป็นจริงฝนอาจจะหยุดตกอยู่แล้ว) และผลการเรียนรู้สอดแทรกความเชื่อวัฒนธรรมประเพณีทำให้เด็กประทับใจมาก เห็นมหัศจรรย์ของการอธิษฐานพระผู้เป็นเจ้าในการทำความดี เป็นการบูรณาการที่พัฒนามาจากการทำงานจริงๆ เจอปัญหาก็ใช้
KM ในการช่วยกันคิดแก้ปัญหา ปรับวิธีการไปเรื่อยๆเพื่อให้งานสอนดีและมีคุณภาพมากกว่าเดิม
ที่สำคัญเพื่อให้เด็กนักเรียนของโรงเรียน
ดีขึ้นกว่าเดิม ทำถึงขนาดปรับเพิ่มเวลาเรียนของโรงเรียน เพื่อให้มีชั่วโมงวิจัยขึ้นมา 200 ชั่วโมง

          ครูและนักเรียนเป็น หุ้นส่วนการเรียนรู้  จากวงวิจัย 2 วง คือวงวิจัยของนักเรียน และวงวิจัยของครู
ซ้อนทับบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน และจากจุดนี้เองที่ทำให้โรงเรียนบ้านตะโละใสเป็นมากกว่าที่สอนหนังสือเด็ก แต่เด็กได้มีโอกาสออกแบบ วางแผนดำเนินการ ลงมือปฏิบัติ มีประสบการณ์ตรงเป็นการ
เรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Leaning ) และมีชีวิตชีวา (Active Leaning) เกิดแรงบันดาลใจ (Inspire) ที่จะใฝ่เรียนรู้ (Mastery Learning)  จุดประกาย เชื้อไฟแห่งปัญญา ให้ลุกโชนในจิตใจเด็กไม่จบสิ้น เช่นจากการเสนองานกลุ่มครั้งหนึ่งครูช่วยกันกับเพื่อนวิจารณ์ปรับปรุงให้ข้อเสนอแนะ นักเรียนคนหนึ่งบอกว่าเขาขออนุญาตครูนำผลงานชิ้นนี้ไปปรับปรุงในวันเสาร์นี้ที่บ้านของเพื่อนในกลุ่ม พลิกฟื้นจากการเรียนการสอนแบบเดิมที่นักเรียนเคยเหลวไหล ไม่ทำงานมาส่งตามเวลาที่ครูสั่ง แต่ครั้งนี้นักเรียนขออาสานัดวันที่จะไปรวมตัวที่บ้านเพื่อน เพื่อสร้างผลงานที่ดีมาส่งครูในอาทิตย์หน้า นี่คือพลังแห่งการเรียนรู้ที่ครูได้ จุดติด ในตัวนักเรียน

          การบูรณาการของโรงเรียนบ้านตะโละใสเริ่มจากจัดกิจกรรมต่อเนื่องกับการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนเรียนรู้จริงๆ ครูก็เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีการสร้างรูปแบบ (Model) ที่ว่าด้วยการเรียนรู้ในบริบทของท้องถิ่น โดยคนในท้องถิ่น เพื่อลูกหลานของท้องถิ่น

 

ประโยชน์  คุปต์กาญจนากุล

ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์

จิระรัตน์  คุปต์กาญจนากุล

หมายเลขบันทึก: 276068เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2009 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ตามมาอ่านจากตอนแรกครับ
  • อยากให้สนับสนุนโรงเรียนแบบนี้มากๆๆจังเลยครับ
  • มีประเด็นหลายๆๆอย่างน่าดำเนินการต่อยอด
  • เข้าใจว่า อาจารย์ ดร เลขา ได้ทำไปบางส่วนแล้ว
  • ที่สุราษฯ
  • เป็นอย่างไรบ้างครับอาจารย์
  • ฝนตกไหม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท