Dialogue บจ.สยามคูโบต้าอุตสาหกรรม รุ่น 2


เครื่องมือสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

มื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมามีโอกาสไปจัดหลักสูตร Dialogue ให้กับ บจ. สยามคูโบต้าอุตสหกรรม วันนี้เป็นโอกาสอันดี ที่ได้พบปะกับทีมนายช่างแห่งสยามคูโบต้าอุตสาหกรรม อีกครั้งเป็นครั้งที่ 2 ออกเดินทางจากอาคาร เอส เอ็มทาวเวอร์มุ่งสุ่จุดหมายปลายทางพร้อมกับวิทยากร (ดร.มนต์ชัย  พินิจจิตรสมุทร) ณ ภูเขางามรีสอร์ท จ.นครนายก และพักผ่อนตามอัธยาศัย

ถึงเวลาที่กำหนดผู้ดำเนินรายการกล่าวที่มาที่ไปของการจัดสัมมนาและแนะนำวิทยากรอย่างกระชับและชัดเจน บรรยากาศช่วงเช้านี้ท่านวิทยากร (ดร. มนต์ชัย) อธิบายถึงแนวทาง วิธีการ หลักการ แนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการตั้งวงเพื่อทำ Dialogue เน้นการฟังอย่างละเอียด มีสมาธิ ไม่ตีความในสิ่งที่รับรู้ ช่วงเช้าแบบนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมง่วงเป็นธรรมดาของการบรรยายค่ะ ก็มีเผลอหลับไปบ้างแต่พองาม หลังจากได้รับรู้ถึงทฤษฎีและแนวทางเป็นที่ประจักษ์แล้ว ช่วงบ่ายเลยไปถึงยามเย็นเน้นการฝึกปฏิบัติ โดยกำหนดหัวข้อกันเองและหัวข้อที่ท่านวิทยากรกำหนดให้ในแต่ละรอบ แต่ช่วงแรกรู้สึกอึดอัดบ้างและเกร็ง เพราะยังไม่มีสมาธิในการฟังอย่างละเอียด พะวงเรื่องที่ตัวเองต้องพูดเป็นลำดับถัดไป   โดยการฝึกปฏิบัติจะมีคุณประคอง (ดร.มนต์ชัย) ตอบข้อซักถามผู้เข้าร่วมเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่ง ๆ ขึ้น

                                                            

การทำ Dialogue ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการผลักดันของผู้บริหาร สำคัญอยู่ที่บุคลากรในองค์กร เพราะทักษะเทคนิคการฝึกปฏิบัติจะติดตัวพนักงานนั้นไปตลอด เป็นสิ่งสำคัญที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดแรงขับให้องค์กรหมุนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ หลักสำคัญทำ Dialogue ให้สมบูรณ์ต้อง ลงทุนกับการฟังให้มาก ฟังอย่างละเอียด มีสมาธิการฟังพร้อมกันทุกคนในวง  รเรียนรู้ของมนุษย์อยู่ที่หู  แต่สิ่งที่เรารู้สึกและมักคิดวนเวียนอยู่ในหัวและถามตัวเองเสมอ คือ  เราไม่รู้ว่า เราไม่รู้อะไร”  และ “เราก็ไม่รู้ว่าเรารู้อะไร”  ำให้ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ประสบการณ์ ที่เรารู้ออกมาได้อย่างลื่นไหล เปรียบเสมือนน้ำในเขื่อนเพราะถ้าปล่อยออกที่ละมาก ๆ ก็จะทำให้ผู้รับประโยชน์ (คนใต้เขื่อน) ได้รับความเดือนร้อน แต่ถ้าระบายน้ำออกมาทีละนิด ๆ ทำให้ผู้รับประโยชน์ (คนใต้เขื่อน)ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่  และน้ำในเขื่อน (ความรู้ในตัว) ก็จะไม่หมดไปเพราะยิ่งระบายหรือถ่ายทอดความรู้มากเท่าไหร่ ความรู้ที่ได้รับกลับมาก็มากยิ่งขึ้นเท่านั้น  แต่ถ้าผู้รับประโยชน์หรือผู้รับข้อมูลข่าวสาร ไม่สามารถนำความรู้ เทคนิค ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดออกมา นำไปเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติหรือนำมาต่อยอดความรู้ จะไม่สามารถเกิดความรู้ใหม่ ๆ ได้เลย

หลังจากการร่วมกระบวนการฝึกปฏิบัติทั้ง 2 วัน  “จะนำกลับไปฝึกกับคนใกล้ตัว (ภรรยา) เพื่อให้มีการฟังมากขึ้น” “เมื่อเราฟังลูกน้องแล้วขอให้ผู้บริหารฟังเราบ้าง” “สิ่งที่พูดในวันนี้เกี่ยวกับการมองภาพอนาคตของ บจ.สยามคูโบต้าอุตสาหกรรมว่าเดินทางไปแนวไหน ควรนำไป Implement จริง เพราะจะเกิดประโยชน์องค์กรจริง”  นี่คือเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งที่มาจากความรู้สึกของผู้เข้าร่วมสัมมนา

                                                        

ลากหลายหน่วยงานที่นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน รวมทั้งโรงพยาบาล แล้วท่านละคะ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อขับเคลื่อนองค์กรของท่านแล้วหรือยัง แต่อย่าลืมนะค่ะว่ารื่องมือทุกเครื่องมือก็มีความเหมาะสมในแต่ละบริบทขององค์กร

 

หมายเลขบันทึก: 276484เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท