การจัดการระบบสุขภาพเพื่อชีวิตพอเพียง


ระบบบริการสุขภาพที่พอเพียง

                ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบันถูกวางระบบด้วยแนวคิดของการบริการสุขภาพที่เน้นความเชี่ยวชาญเป็นด้านหลักเห็นได้จากการแบ่งระดับของการบริการออกเป็น ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และก้าวเลยไปถึงศูนย์บริการที่เน้นความเป็นเลิศเฉพาะด้าน(Excellent Center) ซึ่งนับวันจะทำให้กรอบมุมมองผู้ให้บริการหนีห่างจากผู้รับบริการมากขึ้นทุกที ประชาชนต้องการการมีสุขภาพดีพอเพียงแก่การใช้ชีวิตไม่อาจแยกแยะการเจ็บป่วยของตนเองตามระบบบริการที่รัฐจัดในปัจจุบันไม่ หากเข้ารับบริการไม่ถูกที่ถูกเวลา กลับจะเป็นผลร้ายแก่สุขภาพตนเองด้วยซ้ำดังเราจะได้รับทราบบ่อยๆ ถึงการได้รับบริการที่ต่ำกว่าความคาดหวังที่ระบบเองเป็นตัวสร้างไว้ วิถีสุขภาพบนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่เข้มแข็งตั้งแต่ระดับ ปัจเจกชน ครอบครัว ชุมชน และสังคมต่างหากที่เป็นความหวังของระบบบริการสุขภาพที่พอเพียงแก่การใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

                มีผู้นำด้านแนวคิดและการปฏิบัติหลายคนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงหน้าที่การงาน เช่น อาจารย์นายแพทย์อภิสิทธิ์ แพทย์หญิงทานทิพย์ ที่นำชีวิตของตนเองและครอบครัวสร้างระบบบริการสุขภาพที่ตอบสนองต่อความเป็นจริง ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ที่ รพ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ,มาติน ครูฝรั่งที่ยืนยันให้เราเห็นด้วยประสบการและการกระทำว่าชีวิตมนุษย์ไม่เคยหนีจากธรรมชาติ สำคัญคือความหลากหลายทางชีวภาพบนดินที่เป็นทุนอันมั่นคงไม่มีการแปรเปลี่ยน

                “ถอดบทเรียนจากการศึกษาหลักสูตรพัฒนาสุขภาพชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น”

หมายเลขบันทึก: 276593เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ระบบบริการสุขภาพที่พอเพียงอาจมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่การทำงานใน โรงพยาบาลอย่างมีคุณภาพและคุ้มค่า        การทำงานป้องกันโรค      และส่งเสริมสุขภาพได้ดี    หรือกระทำโดยบุคลากรทางสาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น     หากยังต้องเชื่อมโยงไปยังมิติอื่น ๆ ของชุมชน  สังคม  เศรษฐกิจ  วัฒนธรรม  การเมือง  การศึกษา ศาสนา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ จึงจะก่อให้เกิดสุขภาวะที่แท้จริงครบทั้ง กาย   จิต ปัญญาและสังคม เพราะหากพร่องแม้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง  ย่อมส่งผลกระทบถึงสุขภาวะในที่สุด             ด้วยสรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์์กัน แม้นเด็ดดอกไม้ยังสะเทือนถึงดวงดาว

ช่วยกันพาหมอออกจากโรงพยาบาลด้วยเถอะครับ

จุดยืนทีชัดเจน ศรัทธาอย่างแรงกล้า กระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ท่านทั้งสองมาถึงจุดนี้ได้

จำเป็นหรือไม่ว่าต้องให้หมอออกจากรพ.

ผมว่าอาจจะต้องมีบ้าง แต่ถ้าหมอออกไปหมด ผมว่าบางครั้งหรือบางคนก็เสียของนะครับ

เรื่องสุขภาพที่เชื่อมโยงกับมิติด้านอื่น ๆ ผมว่าไม่จำเป็นต้องให้หมอทำหรือหมอนำเสมอไป

หลายคนทำเรื่องอื่น ๆ ได้ดีก็สามารถเชื่อมโยงมาที่สุขภาวะได้ ตัวอย่างเช่นเทศบาลขอนแก่น ผมว่าเรื่องที่ยากคือจะทำอย่างไรให้ทุกคน ทุกอาชีพ มีมุมมองอย่างองค์รวมที่เชื่อมโยงมิติที่หลากหลายของสังคมเข้าด้วยกัน จะได้ทำงานควบคู่กันไปอย่างสอดประสานและเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุกมิติดีขึ้น มิติด้านสุขภาพก็จะสมบูรณ์อย่างยั่งยืนในที่สุด

อย่าลืมแวะเยี่ยมผมบ้างนะครับ

http://gotoknow.org/portal/drphana

เห็นด้วยกับเรื่องความ ศรัทธา ค่ะ

โดยพื้นฐาน ถ้าเรามีแรงผลักดันแห่งศรัทธา..ต่อให้ภูเขาสูงก็ข้ามได้

ผมก็ศรัทธา ในแรงศรัทธาของพี่ทั้งสองที่อุบลรัตน์ครับ

ความพอเพียงนั้นผมว่านานาจิตตังครับ สุขภาพพอเพียงนั้นผมว่า ถ้ามองด้านผู้รับบริการ

น่าจะหมายถึง เขาไม่มีทุกข์ทั้งกาย ใจ ซึ่งน่าจะได้จากการได้รับบริการสุขภาพทั้งก่อนปป่วย และขณะป่วย(สังขารไม่เที่ยง) ที่เป็นบริการที่เท่าเทียม เป็นธรรม เสมอภาคในสังคมนั้นๆ

ผมว่าแพทย์จะอยู่ทั้งในและนอก รพ.ก็มีประโยชน์ แต่ต้องแบ่งงานให้เหมาะสม และได้ประโยชน์สูงสุด บางสถานะการณ์อาจมีความจำเป็นไม่เหมือนกัน เราอาจมีคนอื่นที่ทำได้ดีกว่า ในบางเรื่องก็เป็นได้ เราหาแนวร่วมได้อย่างไรก็เป็นโจทย์

ปัญหา ที่ซ่อน รากเหง้า เอาไว้ ในสังคม สะสมมานานแสนนานมากๆ

ดูได้จาก ผลการสำรวจ ของหลายๆสำนักโพลล์ เร็วๆนี้ ที่ค้นพบว่า

ค่านิยม ของผู้คนในสังคมเมืองไทย ส่วนใหญ่แล้ว

หน้าใหญ่ มักง่าย มักได้ ขอให้รวยเร็ว โกงก็ได้ ขอให้มีผลงาน ฉันก็โกง ถ้ามีโอกาส

ดังนั้น

หากเปลี่ยนค่านิยมคนในสังคม ไม่ได้ ก็ย่อมมีปัญหาต่อไป ในทุกๆองค์กรเหมือนเดิม ซ้ำๆซากๆ

เนื่องจาก องค์กร เกิดจาก คนรวมกัน นั่นเอง

แนวทาง "เปลี่ยน"

เริ่มจาก คนกลุ่มเล็กๆ แล้วแผ่ขยาย กระจายเครือข่าย ไปแบบปฎิกิริยาลูกโซ่ "นิวเคลียร์ทางความคิด"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท