โครงการ LLEN
ประโยชน์ โครงการ LLEN คุปต์กาญจนากุล

บ้านตะโละใส...ปฏิรูปการเรียนรู้ (ตอนจบ)


"เรียนรู้จากประสบการณ์"

บทเรียนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของบ้านตะโละใสที่น่าสนใจ

          1.การปฏิรูปการเรียนรู้ เริ่มต้นจากครูแกนนำจำนวนพอประมาณที่จะขับเคลื่อนในโรงเรียนเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญที่ต้องร่วมกันทำงานเป็นทีมโดยครูนักเรียน ผู้อำนวยการและผู้ปกครองร่วมกันเป็น “หุ้นส่วนการเรียนรู้” พัฒนาอย่างเป็นระบบ และยกระดับอย่างต่อเนื่อง โดยมี “คุณเอื้อ”  (คุณสมพงษ์ หลีเมาะห์ : ครูชอบเรียกว่า

ผอ.คนที่ 2 ) คอยช่วยเหลือตลอดเส้นทางการเรียนรู้ในการออกแบบเตรียมการ (BAR) และสรุปบทเรียน (AAR)

เพื่อพัฒนายกระดับการเรียนรู้โดยคณะครูต้องสละ “เวลา” ในตอนเย็นหรือเสาร์อาทิตย์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ในบางครั้ง อาจมี “เวที” แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนอกสถานที่ (ไปปากเม็ง จ.ตรัง) และมีการนำความรู้จากภายนอก (Explicit Knowledge) มาเป็นวิทยากรกระบวนการทำกิจกรรมให้ครูเพิ่มเติม (เชิญ อ.สมเจตนา มาทำกิจกรรมการวิจัยให้กับครู)

          2. ผู้บริหารโรงเรียนมิใช่เป็นผู้สนับสนุนในรูปแบบ ) ทำเลย พี่เอาด้วยเต็มที่ มีปัญหาอะไรบอก ขาดเหลืองบประมาณจะสนับสนุนหามาให้ ทำเลยน้อง” แค่นี้ไม่สามารถเป็นพลังที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ได้ แต่ผู้บริหารจะต้อง มีใจ ลงมาร่วมเรียนรู้ ร่วมคิด แก้ปัญหาตลอดเส้นทางการทำงานอย่างใกล้ชิด จนได้ใจ ครูทำให้การทำงานมีความสุข แม้จะเหน็ดเหนื่อย ภายใต้ความร่วมมือของผู้ปกครอง ชุมชน และหนุนเสริม โดย

“คุณเอื้อ (นักวิชาการ  นักวิจัยท้องถิ่น)” ที่มีในพื้นที่

          3. ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เริ่มจากการปรับกระบวนทัศน์ที่ของครูควบคู่กับการปรับวิธีการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของนักเรียน ด้วยกระบวนการสนธิกำลังร่วมกันของคณะครู นักเรียน ผู้อำนวยการ ผู้ปกครอง ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเริ่มจากประเด็นที่นักเรียนสนใจ เป็น “กิจกรรม” เดินเรื่อง “เส้นทางการเรียนรู้” สู่การเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัว สู่องค์ความรู้เนื้อหาสาระที่บูรณาการตลอดเส้นทางการเรียนรู้ที่นักเรียนและ

ครูมีส่วนร่วมกันลงมือปฏิบัติจริง โดยยังคงเป้าหมายคือคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้และคุณลักษณะ

ที่พึงประสงค์ของนักเรียนที่มั่นคง

          4. เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ทักษะจากการปฏิบัติจริง ในเรื่องการทำแผนที่ความคิด (Mild Mapping Map)

การทำหนังสือเล่มเล็ก การทำงานกลุ่ม การนำเสนอบนเวที ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กนักเรียนเกิดความภูมิใจในตัวเอง และเป็นเสมือน ปุ๋ย ที่คอยหนุนเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนไปตลอดชีวิต ตลอดจนการสร้างเป็นลักษณะเด่นเฉพาะของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละใสที่แตกต่างจากโรงเรียนอื่น ซึ่งได้รับการบอกเล่าจากครูโรงเรียนมัธยมที่มี

เด็กนักเรียนจากโรงเรียนบ้านตะโละใสเข้าไปศึกษาต่อ

         สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ คุณครูอาภรณ์  บวรวัชรกุล คุณครูสุวิมล  โต๊ะหลี  คุณครูศิริรัตน์  เกษา  คุณครูนุสรา  ลำโป และคุณครูยูรีย๊ะ  บิสนุม   คุณครูทั้ง 5 ท่านเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งให้การตอนรับคณะดูงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นอย่างดี

                           ขอบพระคุณมากครับ

ประโยชน์  คุปต์กาญจนากุล

ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์

จิระรัตน์  คุปต์กาญจนากุล

  

หมายเลขบันทึก: 276641เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 07:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเห็นด้วยกับการปฏิรูปการเรียนร้..แต่การปฏิรูปการเรียนร้จะประสบผลสำเร้จได้นั้นต้องอาศัย 5 ประสาน คือ ผ้บริหารสถานศึกษา ครูผ้สอน นักเรียน และผ้ปกครองนักเรียน ซึ่งจะต้องเข้าใจถึงเป้าหมายร่วมกันในการทำงาน โดยอาศัยเวลา ทุกวันนี้การปฏิรูปการเรียนร้ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะใช้เวลา เป็นกรอบมากไป ทั้งนี้เพราะมนุษยืมี IQ และบริบทที่ต่างกัน ควรพัฒนาให้เป็นไปตามศักยภาพของแต่ละท้องถิ่น และบุคคล คนเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท