เขาหลวงพัฒนา..หน่วยการเรียนรู้บูรณาการฉบับต้นแบบ


            หยิบเรื่องเก่ามาเล่าใหม่..เพราะได้รับจดหมายเชิญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อร่วมสนทนากลุ่มในกระบวนการวิจัย..เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการสอน
แบบบูรณาการอยู่เรื่องหนึ่งครับ...ในวันที่
22 กรกฏาคมนี้..
           ผมมีหน่วยการเรียนบูรณาการต้นแบบที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรท้องถิ่น..อยู่หน่วยหนึ่ง
ชื่อ เขาหลวงพัฒนา..เป็นหน่วยการเรียนที่มีที่มาที่ไปดังนี้

           เพชรบุรีบ้านผม มีเขาที่รู้จักกันดีคือเขาหลวงกับเขาวังครับ.. เขาทั้งสองอยู่ห่างกัน
ประมาณ
2 กิโลเมตร  มีถนนคีรีรัฐยาเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างกัน.....มีโรงเรียนของของผม
ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางของเขาทั้งสอง.....

            ย้อนรอยไปเมื่อ 9 ปีก่อน ..เป็นช่วงของการปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนของผมได้มี
โอกาสเป็นโรงเรียนนำร่องการปฏิรูปการศึกษา...นำร่องหลักสูตร....

            เรื่องราวในคราวนั้นพวกเราถูกกระตุ้น..ลุ้น..ให้เป็นผู้นำการปฏิรูปการเรียนรู้ 
มีอะไรหลายอย่างที่ทำกันทั้งอบรม....ฝึกปฏิบัติ....วิจัย...หน่วยการเรียนและบูรณาการ

            เรื่องหน่วยการเรียนและบูรณาการดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องใหม่ที่สุดที่เราได้เรียนรู้กัน
เข้าใจบ้าง...ไม่เข้าใจบ้าง....และเบื่อบ้าง....ปนเปื้อนกับคำถามที่ว่ามีใครบ้าง...ที่เข้าใจพอจะให้
ความกระจ่างกับพวกเรา
….

            ข้อสรุปของเราก็คือ  มาทดลองสร้างหน่วยการเรียนกันดีกว่า...ทำวิจัยกันก็คงจะดี
อะไรที่เราไม่รู้ก็อาจจะรู้กันขึ้นมาบ้าง

            เขาหลวงพัฒนาจึงเป็นหน่วยการเรียนต้นฉบับของการเรียนรู้แบบบูรณาการ  ที่ผม
และเพื่อนร่วมกันทำ  ประกอบด้วยวิชาการปกครองท้องถิ่น  สุขศึกษา  วิทยาศาสตร์และภาษา
ไทย.....จากจุดสนใจที่ว่าเขาหลวงเป็นรอยเชื่อมของชุมชนเมืองกับชนบท...มีเรื่องราวตำนาน
ของเมืองลับแล...มีองค์การบริหารส่วนตำบลที่กำลังมีบทบาทต่อคนชุมชน

            ที่สำคัญที่สุดก็คือ...เขาหลวงคือชุมชนที่อยู่ใกล้โรงเรียนของเรานั่นเอง...
            เราสร้างหน่วยการเรียนเขาหลวงโดยใช้เวลาการเรียนรู้
12 ชั่วโมง  เน้นการเข้าไป
เรียนรู้ในชุมชน......ผลของการวิจัยออกมาได้ดีทั้งด้านความรู้แลเจตคติ.......และความจริงที่
พบว่าเรื่องบูรณาการแบบสหวิทยาการ ร่วมกันหลายวิชา    เป็นเรื่องที่ยากสำหรับชั้นมัธยม
ศึกษาตอนปลาย

            ไม่มีเขาหลวงพัฒนาอีกต่อไป....เพราะเมื่อเราทำหลักสูตรใหม่ปี(2544)
วิชาการปกครองท้องถิ่นถูกควบรวมกับวิชาการปกครองไทย...เขาหลวงพัฒนาแตกหน่อมา
เป็นวิชาเพชรบุรีศึกษาสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 ซึ่งเปิดสอนทั้งภาคภาษาไทยและภาษา
อังกฤษสำหรับนักเรียน
 English Program และวิชาภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวในชั้นมัธยม
ศึกษาตอนปลาย

            เล่าสู่กันฟังถึงบทเรียนเรื่องเขาหลวง...หน่วยการเรียนรู้บูรณาการต้นแบบของผม...
บทเรียนที่สอนให้รู้ว่าหลักสูตรเราสร้างได้ปรับได้ในโรงเรียน...สถานการณ์เปลี่ยนหลักสูตรก็
ต้องเปลี่ยนไปด้วย....

ที่สำคัญหลักสูตรนั้นตอบสนองใคร......เราต้องหาคำตอบให้ได้ครับ..

อ่านเพิ่มเติมและดูภาพประกอบได้จาก

http://www.oknation.net/blog/krunoppol/2008/08/20/entry-1

 

หมายเลขบันทึก: 276914เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • มาเจอคุณครูนพพลในนี้อีกเลยนะครับเนี่ย
  • ขอเก็บไว้ติดตามอ่านนะครับ ผมสนใจรูปแบบการบูรณาการสาระการเรียนรู้ของอาจารย์ที่ทำผ่านการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น แล้วก็ผสมผสานเรื่องการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเข้ากับการเรียนรู้ทางสังคม-ชุมชนท้องถิ่นด้วย

ขอบคุณ ท่านอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์มากครับ..คิดว่าเวที go to know

จะเป็นพื้นที่พูดคุยเน้นหนักไปทางการศึกษา..ส่วนที่ 0k ก็ทั่ว ๆ ไปครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท