Management Meeting


ศาสตร์แห่งการจัดการ ประสิทธิภาพในการทำงาน : ความรู้เชิงวิธีการ

สำหรับบันทึกนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการประชุมแบบ Management Meeting เนื่องจากว่าเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำก่อนการทำสิ่งอื่น หรือก่อนที่จะลงในตัวเนื้อหาและรายละเอียด

 

            Management Meeting เป็นการประชุมเพื่อเตรียมงาน วางแผนงานที่เป็นระบบ กำหนดขอบข่ายงาน กำหนดวิธีการทำงาน และกำหนดคนผู้รับผิดชอบงานในแต่ละส่วน โดยขั้นแรกก่อนที่จะทำกิจกรรม หรือโครงการ หรือการวิจัยนั้นจะต้องเริ่มเป็นขั้นตอน ดังนี้

 

๑. การประชุมเตรียมงาน

ก่อนการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีการจัดประชุมเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ และผลที่คาดว่าจะ

ได้รับ การทำงานแบบมี  Work Process พร้อมทั้งกำหนดบทบาท หรือหน้าที่ของแต่ละคน หรือแบ่งงานให้แต่ละคนรับผิดชอบในส่วนของตนเองที่คิดว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้ และการจัดการงานนั้น เราก็จะต้องจัดการเท่าที่เราสามารถที่จะควบคุมคุณภาพของงาน และทำในสิ่งอยู่ในขอบข่ายความสามารถของตัวเอง หรือว่ามีความพอดีนั่นเอง เช่น เมื่อเราหิวข้าว เราก็กินข้าว และเมื่อกินข้าวเราก็ตักข้าวพออิ่ม ไม่ใช่น้อยไปก็จะไม่อิ่ม หิว หรือว่ามากไปก็จะแน่นท้องจนปวดท้อง

 

                   ๑.๑ Purpose กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย

                        ในขั้นแรกจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของงาน ว่าสิ่งที่เราจะทำนั้น เราต้องการจะให้บรรลุถึงสิ่งใด หรือว่าทำไปเพื่ออะไร เพื่อที่จะกำหนดทิศทางของการทำงานได้เป็นกระบวนการขั้นตอน

 

                   ๑.๒ Input กำหนดวิธีการ

                        หลังจากที่กำหนดวัตถุประสงค์ของงานแล้ว ต่อก็คือการกำหนดวิธีการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

                   ๑.๓ Output กำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับ

                        เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ และวิธีการแล้ว จากนั้นก็จะกำหนดผลที่คาดว่าจได้รับจากการทำงานในครั้งนี้ เพื่อที่จะประเมินผลการทำงานได้ว่าสิ่งที่นั้นบรรลุวัตุประสงค์ และสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ และเป็นไปตามผลที่เราตั้งใจจะก่อให้เกิดหรือ กำหนดไว้หรือไม่ กล่าวโดยสรุปก็คือว่า ความสำเร็จของงานนั่นเอง

เช่น เมื่อฝนตกเราจะต้องทำอย่างไร เราก็กำหนดวัตถุประสงค์ คือ ทำอย่างไรไม่ให้เปียกฝน ส่วนวิธีการก็คือ หาที่หลบฝน หรือหาร่ม หรือวิธีอื่นใด เพื่อที่จะไม่ต้องเปียกฝน และผลที่คาดว่าจะได้รับก็คือ ไม่เปียกฝนนั่นเอง หรือตัวอย่างเช่น เมื่อมีคนป่วยในโรงพยาบาล เราจะทำอย่างไร ก่อนอื่นก็กำหนดวิธีการ ขั้นแรกก็สำรวจคนป่วย และโอกาสของคนป่วยที่จะหายป่วย

 

๒. การประชุมสรุปงาน

สำหรับขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่เราได้ลงมือปฏิบัติแล้ว หรือทำในตัวเนื้อหาลงรายละเอียดแล้ว จนเสร็จสิ้นกระบวนการตามวัตถุประสงค์ และวิธีการที่กำหนดไว้แล้ว กล่าวคือ งานเสร็จสิ้นลงแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การประชุมสรุปงาน เพื่อที่จะเป็นการประเมินผลว่างานนั้นสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามผลที่คาดว่าจะได้รับหรือไม่ เป็นการถอดบทเรียนทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าสิ่งใดที่เราทำแล้วประสบความสำเร็จ เราก็จะนำสิ่งนั้นมาเป็นต้นแบบสำหรับการทำงานในครั้งต่อไป และสำหรับสิ่งที่ผิดพลาด หรือล้มเหลวนั้น เราก็จะจดจำเอาไว้เป็นบทเรียนสำหรับครั้งหน้าว่าจะไม่ทำในสิ่งนั้นอีก และจะพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม

โดยวิธีการก็คือ การที่ให้แต่ละฝ่าย หรือรายบุคคลแสดงความคิดเห็นทั้งหมดทุกคน ทั้งสิ่งที่เป็นข้อดีและข้อเสียทั้งของเนื้องาน และบทบาทการทำงานของตนเอง สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การเปิดใจยอมรับความผิดพลาด และบกพร่องของตัวเอง และการลดทิฐิมานะ ตัวตนของตัวเองลง เนื่องจากว่ามนุษย์ทุกคนย่อมไม่มีใครกล่าวโทษตัวเอง แต่ว่าเพื่อความสำเร็จของงานแล้วนั้น การที่ยอมรับในความผิดพลาดและบกพร่องของตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าจะเป็นการปิดความเสี่ยงของการทำงานไม่สำเร็จ สำหรับการทำงานในครั้งต่อไป และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อที่จะเรียนรู้ข้อผิดพลาด และความล้มเหลวของงาน และจะไม่มีการพัฒนาตนเองเลยถ้าไม่เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นข้อผิดพลาด และข้อบกพร่องของตนเอง  

       

หมายเลขบันทึก: 277077เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจมีการประชุมเพื่อประเมินผลอีกอย่างค่ะ

ขอบคุณครับผม แล้วจะดำเนินกาสรแก้ไขนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท