ต้องเฝ้าดูแล..อย่าให้องค์กรของรัฐนำพาสังคมไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว


            ได้อ่านบทความใน go to know หลายบทความ  โดยเฉพาะบทความเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน  บทความเกี่ยวกับทางออกของการศึกษาไทย  ทำให้หวนคิดถึงเรื่องราวที่ผมได้สัมผัสในช่วงเวลาหนึ่ง..จึงนำมาร่วมเสวนาออนไลน์ด้วยครับ..
             เป็นช่วงเวลาที่ผมพาคุณแม่เดินเข้าเดินออก และนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่หลายครั้ง  ทำให้ผมได้พบความจริงเกี่ยวกับชีวิตคนเดินดินกับองค์กรของรัฐอยู่หลายเรื่อง
  หลาย
เหตุการณ์  แม้ว่าจะเป็นเพียงแง่มุมเล็ก ๆ บางส่วนของสังคมไทยก็ตาม  แต่ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย...
            อย่างกรณีแรก   เป็นผู้ช่วยพยาบาลที่อยากเปลี่ยนสายงานมาทำงานฝ่ายปกครอง  เธอมีความพากเพียรแบ่งเวลาไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งหนึ่งเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐแต่กลับพบว่า  ค่าเรียนของมหาวิทยาลัยท้องถิ่น แพงแสนแพงยิ่งกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐชื่อดังในกรุงเทพฯ ซะอีก
          
ส่วนกรณีที่สอง  เป็นเสียงบ่นของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นม.ปลายโรงเรียนของรัฐแห่งหนึ่งที่บ่นว่าค่าเรียนของโรงเรียนเธอ
ก็แพงเช่นกัน  ไม่แพ้ค่าเรียนของโรงเรียนเอกชน..
          
กรณีที่สาม   เป็นคำบอกเล่าของแม้ค้าขายของในหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง  กำลังรอการประมูลรอบใหม่  ซึ่งองค์กรดังกล่าวตั้งราคาประมูลขั้นต่ำไว้แพงริบลิ่ว จนเธอไม่แน่ใจว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือเปล่า...
          จากกรณีดังกล่าว...ทำให้ผมนึกถึงบทความบทหนึ่ง  ซึ่งเคยแปลไว้นานแล้วร่วมสามสิบปีเห็นจะได้ เมื่อครั้งยังเรียน ป.โท  อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          เป็นบทความที่พูดถึง  องค์กรแบบราชการที่เติบโตขึ้นมารับใช้ประชาชน  เป็นองค์กรที่นับวันจะมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ   จนทำให้ผู้คนต้องเอาอกเอาใจ  คอยหมั่นรักษาดูแล..และเติมเชื้อเพลิงให้ขับเคลื่อนอยู่ต่อไปแม้ว่าท้ายสุด..เมื่อฟืน ถ่าน น้ำมันหมด..อาจต้องใช้ร่างกายมนุษย์เป็นเชื้อเพลิงก็ต้องยอม..
          กรณีของผู้ช่วยพยาบาลสาว   นักเรียนหญิงม.ปลาย..และแม่ค้าขายของคนนั้น..คงเป็นส่วนหนึ่งของคนในสังคมปัจจุบัน
 
ที่ต้องยอมรับเงื่อนไข..ยอมเป็นเชื้อเพลิง เพื่อความอยู่รอดและการเติบโตขององค์กร..
        
          ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่เราปล่อยและละเลยยอมให้คนในองค์กรของรัฐคิดเอง  ตัดสินใจเอง.โดยอ้างถึงความก้าวหน้า..การเติบโตของหน่วยงาน...ซึ่งที่จริงก็อาจจะไม่ใช่ความก้าวหน้าก็ได้..         
          ด้วยเหตุนี้ผมจึงบอกว่า....อย่าได้ไว้วางใจองค์กรของรัฐเป็นอันขาดครับ..
          ต้องเฝ้าดูแล..และทักท้วงครับ..อย่าปล่อยให้เดินโดยลำพัง..ต้องช่วยกันครับ

เชิญอ่านบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูนพพล ได้ที่

http://www.oknation.net/blog/krunoppol

หมายเลขบันทึก: 277216เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ฝากบทความนี้ไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ go to know ด้วยครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยม
  • มาเรียนรู้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์นพพล หนูเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นเรียนอยู่ศูยน์น่านค่ะ ปีนี้หนูอยู่ปี 4 ค่ะ มีเรื่องน่าสนใจ อย่าลืมเล่าให้หนูอ่าน-ฟังด้วยนะค่ะ

คำว่า "เพื่อความอยู่รอด" ใช้เป็นข้ออ้างได้ทุกเรื่องเลยนะคะ...

สุดท้ายก็ตกหนักที่ประชาชนตาดำๆ ที่ต้องยอมเหน็ดเหนื่อยทำงาน...เพื่อหาเงินไปคอยเติมเชื้อเพลิงให้องค์เหล่านั้น...

ยินดีที่ได้รู้จัก และขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท