Dr.aon
ดร. อรนรินทร์ ขจรวงศ์วัฒนา

ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้ยาต้านไวรัส


Reality Group Therapy

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งแนวคิดนี้เน้นให้บุคคลรับผิดชอบที่จะแก้ปัญหาและมีทักษะในการคิดแก้ปัญหา รู้คุณค่าตนเอง กล้าเผชิญปัญหาและไม่หมกมุ่นกับอดีต กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้ยาต้านไวรัส โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 16 คน ผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งประชากรเข้ากลุ่ม 2 กลุ่มๆละ 8 คน คือกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง และกลุ่มควบคุม

เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวคิดพิจาณาความเป็นจริง  โดยทำการทดลองทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ๆละ 1 ครั้งๆละ 2 ชั่วโมง การทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างคู่แบบนิวแมน-คูลส์

ผลการวิจัยพบว่ามีปฎิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าระยะก่อนทดลอง และ เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม


เป็นงานวิจัยระดับปริญญาโทของอ้อนแอ้นเองค่ะ ถึงแม้ตอนนี้จะเน้นสังคมศาสตร์และสนุกกับงานวิจัยเชิงคุณภาพไปแล้ว..แต่เมื่อย้อนระลึกไป..โปรแกรมที่สร้างขึ้นอ้อนก็เต็มที่กับมันนะคะ

เป็นโปรแกรมของ Reality Group Therapy ที่ต้องอ้างอิงจากทฤษฎีเผชิญความจริง ซึ่งมันยาวน่ะค่ะ

ไว้จะเอามาโพสต์ให้ดูนะคะ !เคยมีคนลองเอาไปใช้บอกว่าดีพอสมควร(^^)ค่ะ

แต่ก่อน (งานวิจัยนี้ปี2547) การวิจัยกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ค่อยมีใครทำReality Group Therapy เพราะอาจติดว่าต้อง Support จิตใจ การเผชิญอาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง แต่อ้อนคิดอีกมุมหนึ่งค่ะว่าความเข้มแข็งจะช่วยให้พวกเขายืนหยัดได้..ซึ่งก็จบงานวิจัยไปได้ค่ะ..แต่ปัจจุบันผู้ติดเชื้อเอชไอวีเก่งขึ้นมาก มีชมรม มีกลุ่มที่สามรถดูแลช่วยเหลือกันเอง..เข้าใจการดำเนินโรคและรู้จักดูแลตัวเองดีมาก

เราไม่ค่อยพบผู้ป่วยเอดส์แล้วค่ะ..จะมีแต่ผู้ติดเชื้อ..เท่านั้น ซึ่งต้องย้อนกลับมาเรื่องการป้องกันค่ะ

ว่าแล้วเรื่องนี้คงต้องคุยกันยาว....แล้วพบกันค่ะ!

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 277956เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่าสนใจมากครับ สำหรับ Reality Group Therapy

เคยได้ยิน Self help group therapy ครับ

สวัสดีค่ะคุณห.ม.อ.สุ.ข. ขอบคุณค่ะที่เข้ามาพูดคุย

self help group ก็ดีนะคะ นิยมกันมากเลยเพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้

สำหรับตัวReality Group Therapy (หรืออาจไม่เป็นgroup)ก็ได้

เน้นที่การยอมรับเป็นหลัก และเน้นเป้าหมายที่พวกเขาจะเดินไปค่ะ

^^

ทัศนีย์ มิ่งมิตรมี

พี่ค่ะ อยากทราบว่า self help group supportive group psychotherapy และ counseling group เหมือนและต่างกันอย่างไรค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณทัศนีย์

ตอบทีละอย่างดังนี้ค่ะ

1. Self help group : เป็นกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวกันของคนที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน รวมตัวกันโดนสมัครใจ ใช้ประสบการณ์และความรู้ของตนที่มีเข้าช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่นพวกกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มผู้จิดเชื้อเอชไอวี

2. supportive group psychotherapy : กลุ่มจิตบำบัดเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจ ช่วยให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลหรือความขัดแย้งภายในจิตใจ ซึ่งเกิดจากการความยากลำบากในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองถูกแยกจากผู้อื่น หรือถูกทอดทิ้ง เป็นวิธีการรักษาที่ดัดแปลงมาจากการรักษาแบบรายบุคคล (ที่จริง support group กับ self help บางทีใช้แทนกันค่ะ) การทำ psychotherapy จะมีเทคนิกต่างๆหลายทฤษฎีค่ะ

3. counseling group : การให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม

สรุปว่า ข้อ1 คนมีปัญหารวมตัวกันตั้งกลุ่มช่วยกัน ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ได้ (คือมีที่ปรึกษาก็ได้) ส่วน ข้อ2กับ3 ต้องทำโดยผู้มีประสบการณ์ เช่นนักจิตวทยาให้คำปรึกษา ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท