ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนวิชาประวัติศาสตร์..กับทางออกของสังคมไทย


ผมเขียนเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยเหตุผลหลายประการ คือ

          
 ประการแรก ผมดีใจที่มีการให้ความสำคัญต่อวิชาประวัติศาสตร์อย่างจริงจังกันครั้งหนึ่ง  แม้ว่าที่ผ่านมาหลักสูตรในอดีตไม่เคยหลงลืมวิชาประวัติศาสตร์ไทย  เพียงแต่ว่าถูกนำไปบูรณาการกับวิชาอื่น ๆ  ซึ่งเนื้อหาก็ยังคงมีอยู่ครบถ้วน  รวมทั้งเปิดโอกาสให้โรงเรียนจัดทำเป็นวิชาเลือกได้ตามความสนใจและบริบทของโรงเรียน               
            ข้อเสนอถึงการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในชั่วโมงนี้  จึงได้รับการตอบรับจากนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์จำนวนไม่น้อยเพราะเชื่อว่า..ประวัติศาสตร์สามารถแก้ไขปัญหาของชาติได้ เพราะเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์และกิจกรรมของคนทั้งหมด  โดยเน้นถึงพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคสมัยต่าง ๆ
           ประวัติศาสตร์ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในแก่นแท้ของวัฒนธรรม  วิถีชีวิตของชาติและชุมชน


            
ประการที่สอง  ผมอยากจะบอกว่า  ปัญหาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ของบ้านเรานั้น  ปัญหาหลักอยู่ที่การเรียนรู้แบบท่องจำครับ  ขาดการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์..เมื่อวิชาประวัติศาสตร์เกิดขึ้นมาด้วยความสนใจใฝ่รู้  การสืบสวนสอบสวนเรื่องราวต่าง ๆ  การจัดการเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์จึงหลีกหนีไม่พ้น การสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใฝ่รู้ รู้จักการวิเคราะห์  วินิจฉัยจากหลักฐาน  และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น

ประการที่สาม ประวัติศาสตร์เชื่อถือได้ด้วยหลักฐาน  การเรียนรู้จึงต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานต่าง ๆ  และไม่อาจจะละเลยหลักฐานจากคำบอกเล่า  ตำนานพื้นบ้าน และมุขปาฐะต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งสะท้อนถึงตัวตนและวิถีชีวิตของชุมชนมากกว่าจารึก บันทึกต่าง ๆ ที่เขียนอย่างมีอคติ..
           การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยจึงต้อง  รู้ถิ่น..รู้ไทย..เข้าใจโลก..รู้อดีต..รู้ปัจจุบัน..ผันไปสู่อนาคต..วิธีการสอนแบบท่องจำ
..คงทำให้เกิดขึ้นไม่ได้แน่นอน...

           
ประการที่สี่  คนสอนประวัติศาสตร์มีความพร้อมแล้วหรือยังที่จะเลิกสอนแบบท่องจำ..เพราะเท่าที่สัมผัสเห็นหลายคนเริ่มถามหาตำราแบบเรียนและแบบฝึกประวัติศาสตร์กันแล้ว…. เข้าทำนองว่าถ้าขาดตำรา..ครูและเด็กไทย..ก็คงต้องขาดใจตามไปด้วย
           
ผมไม่เชื่อว่า..ประวัติศาสตร์แบบท่องจำจะสามารถหาทางออกให้กับสังคมไทยในยุคนี้..ได้ครับ..
           ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ต้องสำรวจตนเองด้วยว่า..มีบุคลิกเป็นนักประวัติศาสตร์มากน้อยเพียงใดก่อนที่จะไปสร้าง
นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่..ตามความคาดหวังของสังคม

สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก

http://www.oknation.net/blog/krunoppol/2009/05/31/entry-1

 

หมายเลขบันทึก: 278045เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ประวัติศาสตร์นี่  ผมว่าสอนยากเหมือนกันนะครับ

มาชม

มุมคิดดีอย่างนี้นะครับ

ผมเองก็สอนวิชาประวัติศาสตร์กับเขาด้วยละ

บางช่วง ได้พาผู้เรียนลงไปดูของจริงอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้บ้าง...

  • มาให้กำลังใจคุณครูค่ะ
  • ชอบเรียนประวัติศาสตร์
  • แต่ไม่ชอบวิชา ภูมิศาสตร์

มาเรียนประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ชอบมากเลยครับ ชอบคุณครูที่สอนสนุกมากๆๆ

  • เคยเรียนประวัติศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานตอนเรียนมหาวิทยาลัยปีหนึ่ง จำได้ว่าอาจารย์สอนดีมากค่ะ ไม่ได้ให้ท่องจำ แต่ฝึกฝนให้จับประเด็น เรียบเรียงเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในแต่ละช่วงตอนค่ะ
  • ไม่ใช่วิชาที่ง่ายเลยค่ะ ต้องอ่านเยอะ ๆ
  • ที่สำคัญวิชาประวัติศาสตร์เป็นรากฐานของหลาย ๆ วิชาค่ะ เนื่องจากแต่ละวิชามีที่มา หากใครอธิบายที่มาเจาะลึกได้ย่อมจับแก่นแท้ปรัชญาของวิชานั้น ๆ ได้ค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่.go to know ผม work แล้ว ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท